DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4874

Title: ประสิทธิผลของ Food Influencer ต่อการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค กรณีศึกษา สินค้าตราซีพี โบโลน่า
Other Titles: The Effectiveness of Food Influencer of Consumer Engagement, The Case Study of CP Bologna
Authors: ณัฏฐาพร เวชศิลป์
Keywords: การตลาดโดยใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิด
เฟซบุ๊กแฟนเพจ
การมีส่วนร่วม
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ปัจจุบัน Influencer Marketing เริ่มเข้ามามีบทบาทกับธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย และยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นทุกปี และธุรกิจประเภทที่มีการทำการตลาดด้วย Influencer มากที่สุด คือธุรกิจประเภทสินค้าอุปโภคบริโภค จึงเป็นที่มาให้ผู้วิจัยศึกษา Food Influencer โดยผู้วิจัยพบว่าในปัจจุบันนักการตลาดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร เมื่อทำแคมเปญการตลาดออนไลน์แล้วนั้น ส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้มีหลักการชัดเจนในการคัดเลือก Food Influencer ส่วนใหญ่พิจารณาจากยอด Like (การชอบ) จากเฟซบุ๊กแฟนเพจเป็นหลักสำคัญ โดยอาจจะที่ไม่ได้คำนึงถึงการวางแผนกลยุทธ์ Food Influencer และเนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้บริโภคในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากเดิม ผู้คนหันมาซื้อสินค้าพร้อมทาน เนื่องจากกังวลเรื่องความสะอาด, สุขอนามัย และคุณภาพ ผู้วิจัยจึงได้เลือก “ซีพี โบโลน่า” เนื่องด้วยเป็นผลิตภัณฑ์อาหารประเภทพร้อมทานที่ขายใน 7-11 สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่มองหาอาหารพร้อมทานที่ซื้อได้สะดวกในยุคโควิด-19 จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า ผู้วิจัยมีความสนใจทำการศึกษาเรื่องประสิทธิผลของ Food Influencer ต่อการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค กรณีศึกษาสินค้าตราซีพี โบโลน่า ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน ภายใต้บริษัทซีพีเอฟ ฟู๊ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด จากงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของ Food Influencer ต่อการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคผ่านสินค้าแบรนด์ซีพี โบโลน่า 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเลือกใช้ Food Influencer วัตถุประสงค์การมีส่วนร่วมในธุรกิจอาหารพร้อมทาน โดยงานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Based Research Method) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจกลุ่มตัวอย่าง ของ Food Influencer ซึ่งประกอบด้วย 1) เฟซบุ๊กแฟนเพจ มูมมาม 2) เฟซบุ๊กแฟนเพจ มีโปร 3) เฟซบุ๊กแฟนเพจ กินไปเหอะ โดยเริ่มทํา การทดลองวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564 สิ้นสุดการทดลองวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นระยะเวลา 1 เดือน แล้วนําผลการทดลองเป็นตัวเลขยอดการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นจริง ของทั้ง 3 เฟซบุ๊กแฟนเพจมาวิเคราะห์ประสิทธิผลการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค และศึกษาแนวทางการเลือกใช้ Food Influencer ในธุรกิจอาหารพร้อมทาน สรุปผลการทดลองของงานวิจัยนี้แสดงให้ว่า Food Influencer มีประสิทธิผลต่อการมีส่วนร่วมจริง แต่ประสิทธิผลนั้นแตกต่างกันออกไปตามการนำเสนอของเนื้อหา ส่งผลให้เห็นถึงแนวทาง การเลือกใช้ Food Influencer ในธุรกิจอาหารพร้อมทานที่ควรจะมีหลักการอื่น ๆ มาสนับสนุนร่วมด้วยกันกับจำนวนผู้ติดตาม และประเภทของเนื้อหา โดยการทำ Influencer Marketing มักจะเป็นส่วนหนึ่งของการวางกลยุทธ์การทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งจะอยู่ในขั้นตอนไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแบรนด์ แบรนด์อาหารพร้อมทานจึงต้องวางแผนกลยุทธ์การทำ Influencer marketing โดยกำหนดกลยุทธ์ที่ดี ผ่านการรู้จักลูกค้า รู้เป้าหมายของแบรนด์เอง และรู้ช่องทางที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้นส่งผลให้ลูกค้ามีความสนใจในตัวแบรนด์ และก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม
Nowadays, Influencer Marketing play in a significant role in Thailand and it is likely to keep growing every year. The most business that using influencer marketing is the market of consumer goods especially in ready-to-eat food category. From the research when the marketers do the ready-to-eat food campaign. Originally, not have a clear principle to select the influencer. By the way, influencer selection mainly based on the number of likes on their Facebook Fan page without concerning of food influencer strategy planning. Due to the current Covid-19 pandemic be the cause of consumer behavior has changed. Ready-to-eat food become a popular product because of cleanliness, hygiene and quality of food. The objective of this study was to study the effectiveness of food influencer on consumer engagement by employing the case study of CP Bologna aims to 1) to study the effectiveness of influencer engagement by using the case study of CP Bologna 2) to examine a direction to select and use food influencer appropriately for consumer engagement in the ready-to-eat food category. The experimental-based research method was utilised. The food influencers from Moommam Fanpage, Mee Pro Fanpage, and Let Eat It Out Fanpage were collected between 25 March ad 25 April 2021 and analysed. Specifically, the three fan pages’ photos, delivery techniques, and budget were considered. The result of the study revealed that the food influencers could encourage the consumer engagement. But, their effectiveness was indicated by content presentation. In details, the Let Eat It Out Fanpage could provide the best result. Likewise, such factors including photos, delivery techniques, and budget did not impact on the different effectiveness of the food influencers. As a result, in choosing a food influencer effectively, there should be other factors to be considered, altogether with a number of followers and types of content. A ready-to-eat brand should develop a food influencer strategy by basing upon knowing customers, brand itself, and appropriate platforms. Unavoidably, the customers will have more confidence and engagement in brands.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: อาหารสำเร็จรูป
อาหารสำเร็จรูป -- การตลาด -- วิจัย
อาหารพร้อมรับประทาน
พฤติกรรมผู้บริโภค
การจัดการตลาด -- วิจัย
ซีพี โบโลน่า (ชื่อตราผลิตภัณฑ์)
บริษัท ซีพีเอฟ ฟู๊ด แอนด์ เบฟเวอร์เรจ จำกัด
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4874
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Nutthaporn_Wetc.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback