DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4539

Title: พฤติกรรมการใช้สื่อ Facebook Fanpage ในการแสวงหาสถานที่ท่องเที่ยวของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Facebook Fanpage usage behaviors to seek tourist destination of the population in Bangkok
Authors: สิรภัทร ลาภวิไลพงศ์
Keywords: ธุรกิจการท่องเที่ยว
พฤติกรรมการใช้สื่อเฟซบุ๊ก
ความพึงพอใจ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อ Facebook Fanpage ในการแสวงหาสถานที่ท่องเที่ยวของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้สื่อ Facebook Fanpage ในการแสวงหาสถานที่ท่องเที่ยวของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อ Facebook Fanpage ในการแสวงหาสถานที่ท่องเที่ยวกับความพึงพอใจในการใช้สื่อ Facebook Fanpage ในการแสวงหาสถานที่ท่องเที่ยวของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาการจัดตั้งธุรกิจ “บ้านน้ำเคียงดิน ฟาร์ม แอนด์ รีสอร์ท” ผลการวิจัยพบว่า สื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมในงานประชาสัมพันธ์และมี ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมสูงขึ้นในอนาคต องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์องค์กร รวมถึงสินค้าและบริการเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับสื่อประชาสัมพันธ์แบบเดิมให้มีประสิทธิภาพ การประชาสัมพันธ์เป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารที่สำคัญในการสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างองค์กรกับกลุ่มที่มีส่วนได้เสีย รวมถึงสาธารณชนทั่วไป งานประชาสัมพันธ์เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือสื่อสาร นักการประชาสัมพันธ์ต้องรู้จักเลือก ประเด็นในการสื่อสารและเครื่องมือสื่อสารที่ถูกต้อง เหมาะสมและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ในปัจจุบันการดำเนินงานประชาสัมพันธ์มีการปรับตัวอย่างมาก ซึ่งกำลังอยู่ในยุคของเทคโนโลยีและการสื่อสาร เนื่องจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี การเจริญเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก การเจริญเติบโตของตลาดธุรกิจ สมาร์ทโฟนส่งผลให้ผู้บริโภคในปัจจุบันเกิดพฤติกรรมการสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ที่มีการขยายตัวและส่งผลต่อกลไกการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การกระตุ้นพฤติกรรม การมีส่วนร่วม และการสร้างความผูกพันระหว่างองค์กร และผู้มีส่วนได้เสีย
Research objectives consisted of studying demographic characteristics consisting of gender, age, level of education, occupation and income that affect the behavior of using Facebook Fanpage media in seeking tourist destinations of the population in Bangkok. To study demographic characteristics consisting of gender, age, education level, occupation, and income which affect the satisfaction of using Facebook Fanpage media in seeking tourist destinations of the population in Bangkok. To study the relationship between the use of Facebook Fanpage media in searching for tourist attractions and satisfaction with the use of Facebook Fanpage media in searching for tourist attractions of the population in Bangkok And to study the business establishment "Ban Nam Khiang Din Farm and Resort" Research result showed that social media still being popular media for public relations and gained popularity in the future. Both public and private organizations also used social media to publicize the organization including products and services to build strengthen for the traditional media. Public relation was the most important communication to create good understanding between the group of interested parties. Especially in wide general, public relations work was related as communication tools. Public relation professionals must be chosen. Issues in communication and correct communication tools were suitable and accessible to backpack truly targeted group. At present, public relations operations are very fine in which is currently in the age of technology and communication due to the rapid development of technology, the growth of the number of users Worldwide internet business market growth smartphones cause today's consumer behavior. Social communication is also expanding and affecting to the mechanism of information recognition, behavioral stimulation participation and also creating relationships between organizations and stakeholders.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
ณัฏฐณิชา ณ นคร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4539
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Sirapat_lapw.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback