DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4082

Title: รูปแบบและเนื้อหาการนำเสนอข่าว 13 ชีวิตทีมหมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ของสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์
Other Titles: Form and content of news presentation about 13 people; moo-pa team trapped in Tham Luang, Khun Nam Nang Non, Chiang Rai of Thairath Online
Authors: วัลยา สมบูรณ์ทรัพย์
Keywords: รูปแบบการนำเสนอข่าว
เนื้อหาการนำเสนอข่าว
ไทยรัฐออนไลน์
ถ้ำหลวง
สื่อออนไลน์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่อง รูปแบบและเนื้อหาการนำเสนอข่าว 13 ชีวิตทีมหมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ของสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาการนำเสนอข่าวถ้ำหลวงของสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาข่าว ถ้ำหลวงของไทยรัฐออนไลน์ที่มียอดการเข้าอ่านสูงสุดในช่วงวันที่ 24 มิถุนายน-10 กรกฎาคม 2561 จำนวนทั้งสิ้น 30 ข่าว และการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลที่ทำงานในสำนักข่าวไทยรัฐออนไลน์ ประกอบด้วยบรรณาธิการบริหาร หัวหน้าบรรณาธิการข่าว บรรณาธิการข่าว และผู้สื่อข่าวจำนวน 5 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบในการนำเสนอข่าวถ้ำหลวงของไทยรัฐออนไลน์ใช้รูปแบบรูปภาพ รูปแบบข้อความ รูปแบบวิดีโอ และรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์ โดยรูปแบบรูปภาพจะปรากฏอยู่ในภาพเปิดข่าวและภาพประกอบข่าว ซึ่งรูปภาพที่ใช้แบ่งเป็นภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพนิ่งที่แคปเจอร์จากวิดีโอสื่อสาร เพื่อบอกเล่าความคืบหน้าให้เข้าใจง่ายชัดเจน ส่วนรูปแบบข้อความปรากฏในพาดหัวข่าว ข้อความภาพเปิด เนื้อข่าวและแคปชั่นในสื่อสังคมออนไลน์ โดยสื่อสารให้ชัดเจนและสร้างอารมณ์ร่วมกับผู้อ่าน ขณะที่รูปแบบวิดีโอใช้เล่าเหตุการณ์เรียลไทม์ที่เกิดขึ้นในถ้ำให้ผู้อ่านเห็นภาพจริงทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง สุดท้ายรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์ใช้เพื่อเผยแพร่ข่าวถ้ำหลวงสู่ผู้อ่านได้เร็วที่สุดผ่านเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ สำหรับเนื้อหาการนำเสนอข่าวถ้ำหลวงของไทยรัฐออนไลน์พบว่าแบ่งเนื้อหาได้ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสารและแบ่งเนื้อหาตามประเภทการเล่าเรื่อง โดยเนื้อหาที่แบ่งตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ เนื้อหาเพื่อให้ข้อมูล เนื้อหาเพื่อให้ความรู้และเนื้อหาเพื่อสร้างอารมณ์ เนื้อหาเพื่อให้ข้อมูลพบมากที่สุดในการนำเสนอข่าวถ้ำหลวงของไทยรัฐออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อบอกข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนเนื้อหาเพื่อให้ความรู้เน้นให้ความรู้และคำแนะนำต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวข้องกับถ้ำหลวง สุดท้ายเนื้อหาเพื่อสร้างอารมณ์เป็นเนื้อหาที่เรียกอารมณ์ร่วมจากผู้อ่านไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เศร้า สะเทือนใจ ยินดี ฯลฯ สำหรับการแบ่งเนื้อหาตามประเภทการเล่าเรื่อง พบว่า ไทยรัฐออนไลน์ใช้การเล่าเรื่องแบบอธิบายคำจำกัดความ การเล่าแบบเล่าเรื่อง และการเล่าแบบมีเรื่องราว โดยการเล่าแบบอธิบายคำจำกัดความเป็นการเล่าข้อมูลข้อเท็จจริงแบบตรงไปตรงมามี ข้อมูลอ้างอิงชัดเจนการเล่าแบบเล่าเรื่องจะใช้การเล่าที่เห็นภาพชัดแต่ไม่อารัมภบท ย่อเนื้อหาให้สั้น อ่านง่าย และสุดท้ายการเล่าแบบมีเรื่องราวเป็นการเล่าให้เห็นภาพเป็นฉาก ๆ อย่างมีเรื่องราวพบในข่าวถ้ำหลวงของไทยรัฐออนไลน์ที่ต้องการให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วม
The research “Form and content of news presentation about 13 people; Moo-Pa team trapped in Tham Luang, Khun Nam Nang Non, Chiang Rai of Thairath online news agency” has the objective to study the format and content in news from Thairath online. It used documentary-research methods to study during June 24-July 10, 2018 with 30 news in total. This research also includes In-depth interview data analysis from people working in Thairath online agency consisting of executive editor, news editor manager, news editor and reporter in total 5 people. The result showed that image, text, video and social media formats have been used. The images could be classified into photo, graphic image, captured image. The text format would appear in the headline, news opening image, news message and wording caption in social media. While the video format expressed the real-time events for motion and sound. Finally, the social media form was used to disseminate news to the readers as quickly as possible via Facebook and Twitter. The content could be divided according to the communication purposes and the narrative types. The purposing contents could be classified as follows information, knowledge and emotional content. The information content used to state the facts. The knowledge content used to emphasize knowledge and advice and the emotional content was used to trigger the reader emotions. According to telling categories, Thairath online used definition, narrative and storytelling. The definition telling straight forwards the facts. The narrative telling is concise. Finally, the storytelling was the scenes found in the news.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
การเผยแพร่ข่าวสาร
เชียงราย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ถ้ำ -- การสำรวจ
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4082
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wallaya.somb.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback