DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3876

Title: อุปสรรคทางกฎหมายไทยของธุรกิจการบินพาณิชย์ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ศึกษากรณีขนส่งมวลชน
Other Titles: Thai legal obstacles of commercial aviation business under the ASEAN economic community: A case study of public transportation
Authors: วุฒิชัย พงษ์อ้อ
Keywords: ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ธุรกิจการบินพาณิชย์
เสรีอาเซียน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายที่เกี่ยวกับการเปิดเสรีการบินพาณิชย์ในด้านขนส่งมวลชนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นศึกษาเกี่ยวกับการให้บริการธุรกิจการบินพาณิชย์ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC ซึ่งการเปิดเสรีการบินพาณิชย์ใน AEC นี้ เป็นหนึ่งในแผนงานที่ปรากฏอยู่ใน ASEAN Economic Community Blueprint หรือแผน งานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ต้องการให้ AEC พัฒนาเป็นตลาดเดียวในด้านการบิน ผ่านการดำเนินนโยบายการเปิดน่านฟ้าของอาเซียน (ASEAN Open Sky Policy) และพัฒนาตลาดการบินเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Aviation Market) ให้เป็นรูปธรรม ทั้งนี้จากการปิดเสรีการบินพาณิชย์ดังกล่าวทำให้การขนส่งมวลชนทางอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการขยายตัวสูงขึ้น ในการนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงได้ร่วมกันกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการควบคุม และกำกับดูแลธุรกิจการบินเพื่อให้อยู่ภายใต้กรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement Service: AFAS) ซึ่งกรอบความตกลง AFAS นี้ใช้ในการบังคับและกำกับดูแลกิจการการค้าบริการทุกประเภท รวมถึงธุรกิจการบินพาณิชย์ด้วย เช่นนี้จึงมีความจำเป็นต้องพิจารณาถึงกฎหมายไทยในการเปิดเสรีธุรกิจการบินพาณิชย์ เนื่องจากประเทศไทยมีฐานะเป็นสมาชิกของ AEC และได้เข้าร่วมเป็นภาคีภายใต้กรอบความตกลง AFAS ด้วย จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจการบินพาณิชย์ในด้านขนส่งมวลชนอยู่หลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2515 (ว่าด้วยเรื่องการควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่งสาธารณชน) พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งจากการที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีในความตกลงของอาเซียน จึงต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันซึ่งเป็นพันธกรณีของความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยได้ให้ไว้กับประเทศสมาชิกอื่น โดยสำหรับกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการบินพาณิชย์นั้น โดยรวมถือว่าเป็นไปตามบริบทของความตกลงระหว่างประเทศแล้ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัดต่าง ๆ ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการบินของไทยซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการเปิดเสรีการบินอยู่ เช่น ประเด็นเรื่องสัญชาติในการประกอบธุรกิจการบินภายในประเทศของคนต่างด้าวซึ่งมีบทบัญญัติที่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อการบริการและผู้ให้บริการของประเทศไทยกับประเทศสมาชิก อันไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดตามกรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ผู้วิจัยจึงเห็นว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ด้านการขนส่งมวลชนเป็นไปอย่างสอดคล้องกับพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศของ AEC เพื่อเปิดเสรีการบินพาณิชย์ จึงมีความจำเป็นต้องมีการให้สิทธิทางการบินให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการแก้ไขและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายของภายในให้มีความสอดคล้องตามพันธกรณีของข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกเพื่อการเปิดเสรีการบินพาณิชย์ภายใต้ AEC ต่อไป
The objective of research onProblem of the liberalize air travel under the legal framework of ASEAN Economic Community was to study about liberalization of commercial aviation in ASEAN Economic Community (AEC). Each ASEAN member country was abiding by and implements the ASEAN Economic Community Blueprint (AEC Blueprint) to achieve AEC. The AEC Blueprint will transform ASEAN into a single market and productionbase, a highly competitive economic region, a region of equitable economic development, and aregion fully integrated into the global economy. The liberalize air travel was an important strategy of AEC Blueprint; it aims at to be a “Single Aviation Market” through getting within the ASEAN Open Sky Policy. This aviation policy is expected to fully liberalize air travel between member states in the ASEAN region, allowing ASEAN countries and airlines operating in the region to directly benefit from the growth in air travel around the world, and also freeing up tourism, trade, investment, and service flows between member states. In line with the goals set for the AEC, ASEAN member has mutual determine the ASEAN Framework Agreement Service (AFAS), which is to work towards free flow of trade in services within the region, including commercial activities of air travel. Then, Thailand as a member of ASEAN and a party to the AFAS must be considered the internal laws that related to liberalize air travel in AEC. The study found that Thailand had the laws about airline commercial and aviation such as the Air Navigation Act B.E. 2497, the Announcement of the National Executive Council No. 58, dated January 16, B.E. 2515 Re: Controlling over Trade Effecting on the Safety and Peace of the Public,Foreign Business Act, B.E. 2542, and Investments in State Undertakings Act B.E.2556. On behalf of a party to the ASEAN’s agreement or arrangement, Thailand was obliged any pledges to other ASEAN member. The airline commercial and aviation of Thailand at the present time were generally in accordance with the context of international agreement. However, there were some provisions that may be impediments for the liberalize air travel in AEC, for example, the discrimination in the provision of services among Thai’s service provider and ASEAN member’s customer, which not conformed to the AFAS. The result of this research found out that in order to enable Thailand to operate its airline commercial and aviation in accordance with the obligations under the AEC’s agreement on liberalize air travel, there is a need to allow the freedoms of the air for ASEAN airlines in air travel and service flows by revising and improving internal laws and provisions concerning airline commercial and aviation to be in line with the legal framework of AEC towards.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Advisor(s): ศิริชัย มงคลเกียรติศรี
กริชผกา บุญเฟื่อง
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3876
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wudthichai.phon.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback