DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3792

Title: แผนธุรกิจกล้วยเบรกแตกนู๋แพรวา
Other Titles: Business Plan for nu Parewa Brake Break Banana
Authors: กมลชนก ภูแสงสั้น
Keywords: กล้วยเบรกแตก
พฤติกรรมการซื้อ
กล้วย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: แผนธุรกิจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ร้านกล้วยเบรกแตกนู๋แพรวา โดยสร้างการรับรู้และภาพลักษณ์ผ่านทางช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความคุ้มค่า ภูมิใจทุกครั้งที่บริโภคกล้วยเบรกแตกนู๋แพรวา และสามารถเพิ่มยอดขายอย่างน้อย 30% ต่อปี ในการจัดทำแผนธุรกิจนี้ ได้ทำการศึกษาวิจัยการตลาดด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มลูกค้าปัจจุบันของกล้วยเบรกแตกนู๋แพรวา และกลุ่มลูกค้าในอนาคต มีการวิเคราะห์ปัจจัยรอบด้าน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจ รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยง ความได้เปรียบในการแข่งขัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง จำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 62.67 มีอายุระหว่าง 21 ถึง 30 ปี จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 31.33 จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 37.33 มีระดับรายได้ต่อเดือน อยู่ระหว่าง 10,001 ถึง 20,000 บาทจำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 28.67 ชอบกล้วยเบรกแตกรสดั่งเดิม จำนวน 66 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00 ซื้อกล้วยเบรกแตกที่ตลาดสดทั่วไป จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 41.76 และ คำนึงถึงรสชาติมากที่สุดในการซื้อกล้วยเบรกแตก จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 18.67 ผลการวิเคราะห์การประเมินความชอบที่มีต่อกล้วยเบรกแตก ของร้านอาหาร/ร้านค้า พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจากร้านอาหาร/ร้านค้ามีการประเมินความชอบที่มีต่อกล้วยเบรกแตก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.07, S.D.=0.37) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มการซื้อผลิตภัณฑ์กล้วยเบรกแตกของผู้บริโภคทั่วไป พบว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มการซื้อผลิตภัณฑ์กล้วยเบรกแตกโดยรวมมีอยู่ในระดับปานกลาง ( =4.15, S.D.=0.47) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้บริโภคส่วนมากคำนึงถึงรสชาติและความสะอาดมากที่สุด เพราะผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้น ความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับรสชาติที่ดี จึงได้ใช้นวัตกรรมในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ทำจากไนรอนลามิเนตกับเอทิลีนที่มีคุณสมบัติทนทานป้องกันการซึมผ่านของกลิ่นได้ดีและซองอลูมิเนียมฟอยล์ที่มีคุณสมบัติช่วยยืดอายุให้เก็บได้นาน เป็นกลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าให้แก่สินค้า ในส่วนของราคานั้นผู้บริโภคเข้าใจและยอมรับได้ถ้าสินค้ามีคุณภาพดีพอ จึงใช้กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การแจกสินค้าตัวอย่างให้ทดลองใช้ การทำสะสมแต้มเพื่อแลกของสมนาคุณ และกลยุทธ์ด้านการบริการที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในการซื้อขายสินค้า โดยผู้บริโภคสามารถเลือกดูสินค้าและสั่งสินค้าได้ ทุกที่ทุกเวลา เมื่อพิจารณาความเป็นได้ของการลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจกล้วยเบรกแตกนู๋แพรวา พบว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยใช้งบลงทุนประมาณ 300,000 บาท และมีค่า NPV เท่ากับ 392,653 บาท IRR เท่ากับ 69% และระยะเวลาในการคืนทุนเท่ากับ 0.5 ปี
The aim of this business plan is to study the possibility of product development for Nu Parewa Shop’ s brake break banana. By improving the brand awareness and image of the product. Through developing the packaging of the product. This could increase sales by at least 30 percent per year. Research in this study consisted of interviewing current and future consumers of the product. To establish the pros and cons of the product. The results showed that most of the consumers are female. 94 consumers ( 62.67 %), aged between 21 – 30 years old. 47 of them (31.33%), graduated secondary school/ vocational level. 56 of them (37.33%), have an income of 10,001 to 20,000 baht per month. 43 consumers (28.67%) liked the original brake break banana product. 66 consumers (44.00%), liked the original brake break banana product. At the market 76 people (41.76%) bought the product. 28 customers (18.67%) completed the product survey. The estimation of preference to brake break banana of the restaurant/shop, the overall was at high level (= 4.07, S.D. =0.37). The trends of buying brake break banana, the overall was at the moderate level (= 4.15, S.D. = 0.47). From this analysis we found that most consumers considered the taste and the cleanliness of the product. Nowadays consumers are interested in health and wellbeing. As a result of this the cleanliness of the product is just as important as the taste. Innovation was used to develop the product packaging, by using Nylon laminate and Polyethylene materials. These materials are durable and have odor-proof coating. Aluminum foil packaging has long lasting properties as a strategy for preserving the value of the product. The consumers would understand and accept the price increases if this preserved the quality of the product. A rewards system is being considered as a part of the marketing promotion for the product. This rewards system allows customers to collect points from purchasing brake break banana product to attain prizes. Once a consumer(s) achieves a certain amount of points they will be rewarded with a gift, for example a handbag, mobile phone etc. The research result of the possibility of investment for product development of Nu Parewa Shop’ s brake break banana found that there was the worthiness in investment with the budget about 300,000 baht which was NPV of 392,653 baht, IRR of 69% and 0.5 payback period.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การวางแผนธุรกิจ
กล้วย -- การค้า
กล้วย
ผลิตภัณฑ์กล้วย
ผลิตผลพืชสวน
Advisor(s): สุเมธี วงศ์ศักดิ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3792
Appears in Collections:Independent Studies - Master
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kamonchanok_pusa.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback