DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3769

Title: โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวแบบเนิบช้าซ้ำโดยมีพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: The causal model of slow travel intention with behavior as a mediating variable
Authors: สุบัญชา ศรีสง่า
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าของนักท่องเที่ยวชาวไทยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านแรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าที่มีต่อกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านการรับรู้ความพร้อมในการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าที่มีต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า และ 4) ศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าที่มีต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ ประชากรคือ นักท่องเที่ยวแบบเนิบช้าชาวไทย กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยไปท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในประเทศไทย จำนวน 440 คน มีการใช้แบบสอบถามภาษาไทยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ ได้แก่ ตลาดน้ำดำเนินสะดวก จำนวน 100 ชุด และเกาะเกร็ด จำนวน 101 ชุด มีการใช้แบบสอบถามออนไลน์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เคยไปท่องเที่ยวในเขตเทศบาลเชียงคาน จำนวน 124 คน และเขตเทศบาลเมืองน่าน จำนวน 105 คน ใช้วิธีการเลือกจำนวนกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งสัดส่วนและสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกและความสมัครใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ด้วยสถิติการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 - 30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพนักเรียน นักศึกษา มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 10,001 - 20,000 บาท มีระยะเวลาท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อครั้ง (วัน) ระยะเวลานานที่สุดคือ จำนวน 8 วัน และระยะเวลาน้อยที่สุดคือ จำนวน 1 วัน มีการเดินทางท่องเที่ยวแบบเนิบช้าในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา มากที่สุดคือ จำนวน 7 ครั้ง และน้อยที่สุดคือ จำนวน 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายระหว่างการท่องเที่ยวเฉลี่ยต่อครั้ง มากที่สุดคือ จำนวน 15,000 บาท และน้อยที่สุดคือ จำนวน 450 บาท การวิเคราะห์เกี่ยวกับแรงจูงใจ การรับรู้ความพร้อมในการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า และความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวซ้ำของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า และมีความตั้งใจกลับมาท่องเที่ยวแบบเนิบช้าซ้ำโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการรับรู้ความพร้อมในการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าของกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความพร้อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ อาชีพ และรายได้ต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าด้านระยะเวลาท่องเที่ยวและด้านค่าใช้จ่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าด้านค่าใช้จ่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการท่องเที่ยวแบบเนิบช้ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบเนิบช้าของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
The purposes of this research were 1) to compare slow tourism behavior among different slow tourist demographics; 2) to study the influence of slow tourism motivation towards slow tourism behavior; 3) to study the influence of slow tourism perception towards slow tourism behavior; 4) to study the influence of slow tourism behavior towards revisiting intention. The population was thai slow tourists. Questionnaires were used to collect quantitative data from a sample of 440 tourists who had visited at Damnoensaduak floating market, Ko Kred, Chiangkhan Municipality, and Nan City Municipality. The data was analyzed by using frequency, percentage, average, standard deviation, independent t-test, One-way Analysis of Variance, and Structural Equation Modeling. Most respondents were female students with a monthly income between 10,001 -20,000 baht. The longest travel period was 8 days and the shortest period was 1-day trips. They had traveled to slow tourism sites from 1 to 7 times in the previous 2 years with the highest travel budget about 15,000 baht. The analyzed data revealed that motivation and revisiting intention factors towards slow tourism were of the highest level and the perception factor towards slow tourism was of a high level. The hypothesis test results were as follows: 1) slow tourists of different age, education level and monthly income had significant differences in their behavior in terms of travel period and budget; 2) slow tourists of different education level and different slow tourism behavior in terms of travel budget with the statistical significance level of 0.05; and 3) the structural model showed that slow tourism motivation factors had a statistically significant influence on slow tourist behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ความตั้งใจ
การท่องเที่ยว
Advisor(s): สมยศ วัฒนากมลชัย
ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3769
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
subuncha_sris.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback