DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3480

Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน : กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting the decision of students at high vocational certificate on continuing their undergraduate studies at private university : case study of Bangkok Metropolis
รายงานการวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน : กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: อภิญญา อิงอาจ
เจษฎา สุทธิอุดม
Keywords: การศึกษาทางอาชีพ -- วิจัย
นักเรียนอาชีวศึกษา -- การศึกษาต่อเนื่อง -- วิจัย
อภิญญา อิงอาจ--ผลงานวิจัย
เจษฎา สุทธิอุดม--ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2548
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษา 1) ลักษณะการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ 3) หาปัจจัยที่สามารถจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่ตัดสินใจเลือก ไม่เลือก และ ยังไม่แน่ใจ ในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทั้งภาครัฐและเอกชน ประจำปีการศึกษา 2547 ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จำนวน 600 คน และใช้แบบสอบถามแบบลิเคิร์ทสเกล ที่ผ่านการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่าที่มีค่าระหว่าง 0.725 และ 0.903 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเป็นส่วนมาก (ร้อยละ 82.9) ในขณะที่มีนักศึกษาร้อยละ 14.0 ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะศึกษาต่อหรือไม่ศึกษาต่อ และมีเพียงส่วนน้อยที่ตัดสินใจไม่ศึกษาต่อ (ร้อยละ 3.1) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจหลักสูตรในการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสูงสุด คือ หลักสูตรภาคปกติ (ร้อยละ 76.8) และสนใจหลักสูตรที่เปิดสอนในภาคเสาร์-อาทิตย์รองลงมา (ร้อยละ 15.9) ส่วนหลักสูตรที่นักศึกษากลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจน้อยที่สุดคือ หลักสูตรภาคค่ำ (ร้อยละ 7.3) สำหรับสาขาที่นักศึกษากลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมากเป็นอันดับ 1 คือ สาขาบริหารธุรกิจ (ร้อยละ 38.6) รองลงมาเป็นอันดับ 2 คือ สาขาบัญชี (ร้อยละ 24.7) รองลงมาเป็นอันดับ 3 คือ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ร้อยละ 11.8) และอันดับ 4 คือ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม (ร้อยละ 11.1) 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาชองนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสม อาชีพบิดา อาชีพมารดา การศึกษาของบิดา การศึกษาของมารดา ระดับรายได้ของผู้ปกครอง โอกาส เกียรติยศชื่อเสียง หลักสูตรหรือสาขาวิชา อาจารย์ผู้สอน อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยประโยชน์ และ เหตุผลส่วนตัว ส่วนปัจจัยที่พบว่าไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ จำนวนพี่น้อง และแรงผลักดันภายนอก 3) สมการจำแนกประเภทจากค่าสัมประสิทธิ์แคนอนิคอลมาตรฐาน ของการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในเขตกรุงเทพมหานครเป็น ดังนี้ Z1 = -.236ZGPA + .400ZOCC_F + 323ZOCC_M + .006ZEDU_F + .163ZEDU_M -.262ZINCOME +.255ZOPPO +.511ZFAMO _.313ZCURR + .189ZTEAC -.242ZBUIL + .085ZREAS Z2 = - .038ZGPA + .136ZOCC_F - .322ZOCC¬_M - .155ZEDU_F + .660ZEDU_M + .036ZINCOME + .150ZOPPO - .169ZFAMO + .053ZCURR + .539ZTEAC + .181ZBUIL + .121ZREAS 4) สมการจำแนกประเภทของ Fisher ที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มการตัดสินใจเลือก ไม่เลือก และยังไม่แน่ใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในเขตกรุงเทพมหานครเป็น ดังนี้ Dเลือก = -57.116 + 10.442GPA + 2.161OCC_M +.893EDU_F +6.768EDU_M + 3.407INCOME + 5.296OPPO + 3.273FAMO -1.465CURR + 6.155TEAC + 2.209BUIL + 2.611REAS Dไม่เลือก = - 52.919 + 10.969GPA + 1.177OCC_F + 2.402OCC_M + .965EDU_F + 5.892EDU_M + 3.993INCOME + 4.756OPPO + 2.452FAMO - .900CURR + 5.542TEAC + 2.549BUIL + 2.424REAS Dไม่แนใจ = - 58.463 + 10.689GPA + 1.781OCC_F + 2.290OCC_M + .732EDU_F + 7.235EDU_M + 3.769INCOME + 5.144OPPO + 2.675FAMO - 1.106CURR + 6.360TEAC + 2.549BUIL + 2.611REAS
The purposes of this research were 1) to study the decision-making of the students at high vocational certificate level on continuing their undergraduate studies at private university 2) to investigate factors affecting their decision on continuing their undergraduate studies at private university 3) to examine factors categorizing three different groups of students namely deciding to study, deciding not to study, and being unsure. The samples which were got from multi-stage sampling consisted of 600 students at high vocational certificate level in both private and government vocational schools in Bangkok Metropolis on first semester of 2004 academic year. The Likert scale-based questionnaire of which a content validity had been undergone by three specialists was used for data collection. The Cronbach’s alpha coefficient showed that reliability was between 0.725 and 0.903. Those data were analyzed through SPSS program to find out percentage of frequency, arithmetic mean, standard deviation, and discriminant analysis. The results of the research showed that: 1) Most samples decided to further their studies at private university (82.9%) while 14 % of them were not sure whether to further their studies or not. It is also found that 3.1 % of them decided not to further their studies. In terms of curriculum. 76.8 % of them paid attention to a regular program, and 15.9 % of them felt interested in a weekend program. However, a night class program was of their interest the least (7.3%). The most interesting branch of study for the samples was business administration (38.6%) while the second and the third were accounting (24.7%) and business computer (11.8%). Moreover, tourism and hotel was rated the fourth (11.1%) 2) Factors affecting the decision making on continuing their studies at private university at the .05 significant level were cumulative grade point average, parents’ occupation, parents educational level, parents’ income, opportunity, honors, curriculum or branch, faculty staff, buildings and facilities, as well as personal research. Some factors that did not affect their decision at the .05 significant level were sex, number of brothers and sisters, and external drive. 3) Categorical equations got from standard Canonical coefficient of the decision on continuing their studies at private university were shown as follows: Z1 = -.236zgPA + .400ZOCC_F + .323ZOCC_M + .006ZEDU_F + .163ZEDU_M -.262ZINCOME +.255ZOPPO +.511ZFAMO _.313ZCURR + .189ZTEAC -.242ZBUIL + .085ZREAS Z2 = - .038ZGPA + .136ZOCC_F - .322ZOCC¬_M - .155ZEDU_F + .660ZEDU_M + .036ZINCOME + .150ZOPPO - .169ZFAMO + .053ZCURR + .539ZTEAC + .181ZBUIL + .121ZREAS 4) Fisher’s categorical equations which were used to divide three groups of high vocational Certificate students namely deciding to study, deciding not to study, and being unsure of continuing their studies at private university were as follows: D deciding study = -57.116 + 10.442GPA + 2.161OCC_M +2.978OCC_M +.893EDU_F +6.768EDU_M + 3.407INCOME + 5.296OPPO + 3.273FAMO -1.465CURR + 6.155TEAC + 2.209BUIL + 2.611REAS D deciding not study = - 52.919 + 10.969GPA + 1.177OCC_F + 2.402OCC_M + .965EDU_F+ 5.892EDU_M + 3.993INCOME + 4.756OPPO + 2.452FAMO - .900CURR+ 5.542TEAC + 2.549BUIL + 2.424REAS Dunsure = - 58.463 + 10.689GPA + 1.781OCC_F + 2.290OCC_M + .732EDU_F + 7.235EDU_M + 3.769INCOME + 5.144OPPO + 2.675FAMO-1.106CURR + 6.360TEAC + 2.549BUIL + 2.611REAS
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3480
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
apinya_inga.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback