DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3463

Title: การศึกษาจริยธรรมทางวิชาชีพของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย
Other Titles: A study of the journalist’s code of ethics in Thai daily newspaper’ front page reporting
รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาจริยธรรมทางวิชาชีพของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย
Authors: วัฒณี ภูวทิศ
Keywords: จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ -- ไทย -- วิจัย
จรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ -- วิจัย
นักหนังสือพิมพ์ -- ไทย -- วิจัย
นักหนังสือพิมพ์ -- แง่ศีลธรรมจรรยา -- วิจัย
สื่อมวลชน -- ไทย -- วิจัย
สื่อมวลชน -- แง่ศีลธรรมจรรยา -- วิจัย
วัฒณี ภูวทิศ -- ผลงานอาจารย์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวังด้านจริยธรรมทางวิชาชีพของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยระหว่างนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและประชาชน บทบาทหน้าที่ด้านจริยธรรมทางวิชาชีพของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ตลอดจนศึกษาถึงมูลเหตุจูงใจที่ทำให้นักหนังสือพิมพ์ละเมิดจริยธรรมทางวิชาชีพในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่ง อันเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและคำนึงถึงจริยธรรมทางวิชาชีพ โดยเป็นการดำเนินงานวิจัยเชิงสำรวจจากนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน ประชาชน และนักหนังสือพิมพ์ ด้วยแบบสอบถามจำนวน 567 ชุด จากประเด็นเรื่องความคาดหวังของผู้อ่านต่อจริยธรรมทางวิชาชีพของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย พบว่า ผู้อ่านมีความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้อ่านมีความคาดหวังด้านการเขียนคำบรรยายได้ภาพข่าวมากที่สุด รองลงมาคือการเขียนเนื้อหาข่าว การนำเสนอสกู๊ปพิเศษหรือรายงานพิเศษ การเขียนความนำข่าว และการนำเสนอภาพข่าวตามลำดับ ส่วนบทบาทหน้าที่ด้านจริยธรรมทางวิชาชีพของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย พบว่า นักหนังสือพิมพ์มีบทบาทหน้าที่ด้านจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับสูง รวมทั้งเมื่อพิจารณาบทบาทหน้าที่เป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเขียนคำบรรยายใต้ภาพข่าวมากที่สุด รองลงมาคือ การนำเสนอสกู๊ปพิเศษหรือรายงานพิเศษ การเขียนเนื้อหาข่าว การเขียนความนำข่าวและการนำเสนอภาพข่าว ตามลำดับ มูลเหตุจูงใจของนักหนังสือพิมพ์ในการละเมิดจริยธรรมทางวิชาชีพ คือ นโยบายการนำเสนอข่าวของแต่ละหนังสือพิมพ์ที่สังกัดอยู่ ยอดขายของหนังสือพิมพ์ โฆษณาที่ลงในหนังสือพิมพ์ ภาวะทางเศรษฐกิจของผู้สื่อข่าว และความไม่เข้มงวดของข้อบังคับทางจริยธรรมทางวิชาชีพ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาด้านจริยธรรมที่ส่งผลกระทบต่อผู้อ่านและสังคมในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย คือ ปัญหาการรายงานข่าวสารที่รุนแรง เกินจริง มีการบิดเบือนไม่ตรงกับข้อเท็จจริง การนำเสนอภาพที่หวือหวา อุจาด ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การรายงานข่าวสารที่มีการพิพากษาผู้ที่ตกเป็นข่าว และการพาดหัวที่รุนแรง เกินจริงและละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ตามลำดับ สำหรับแนวทางในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยคือ การรายงานข่าวสารต้องมีความชัดเจน ตรงกับข้อเท็จจริง ไม่คลาดเคลื่อน บิดเบือนและรุนแรง มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือแหล่งข้อมูลก่อนการนำเสนอสู่สาธารณชน ตลอดจนมีการฝึกอบรมและสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมทางวิชาชีพ รวมทั้งมีหน่วยงานตรวจสอบเพื่อกำหนดบทลงโทษหรือฟ้องร้องได้
The purposes of the study were to investigate the expectations of the mass communication faculty members in universities and the public towards journalist’s code of ethics and their roles in front page reporting. Moreover, the study examined motivations that move journalists to break the codes. The results of the study would be benefit in drawing a guideline for journalists to promote front page reporting with morality and responsibility. The study was a survey research using 567 copies of questionnaires distributed to mass communication faculty members in both public and private universities, journalists, and the public. With respect to the public and communication faculty members’s expectation of journalist’s code of ethics in Thai daily newspapers’s front page reporting, the finding revealed that the public and communication faculty members have high expectation on the front page reporting. The highest expectation was on photo captions, followed by contents, scoops of special reports, news leads, and news photos respectively. Journalists, according to the result, had high performance in Thai daily newspapers’ front page reporting. The first five aspects that showed journalists’ high morality were photo captions, scoops or special reports, news contents, news leads, and news photo respectively. It was also found that there were five factors that tempted journalists to break the code of ethics. Those are the organization’s policy, circulation, sponsorship, personal economic status, and non-strictness of the code of ethics. Besides of the research’s result found that the public faced with five problems in front page reporting. Those were harsh and over quoted reporting, news distortion, profaned and vulgar photo releases, privacy reporting with personal judgment, and harsh headline respectively. According to the data and the result of the study, the researcher proposed the guideline for Thai daily newspapers’ front page reporting that there are needs of clear, concise reporting, fact checking before publishing, professional training to make journalists be more concern about the code of ethics, and an institution to monitor the role of journalists.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3463
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wathanee_phuw.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback