DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3409

Title: การศึกษาความแตกต่างของแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานระหว่างพนักงานระดับหัวหน้าเพศชายและเพศหญิง
Other Titles: A study of differences in job motivation and satisfaction between male and femals supervisors
รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาความแตกต่างของแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานระหว่างพนักงานระดับหัวหน้าเพศชายและเพศหญิง
Authors: สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
Keywords: ความพอใจในการทำงาน -- วิจัย
ความพอใจในการทำงาน -- ไทย -- วิจัย
พนักงานโรงแรม -- ความพอใจในการทำงาน -- วิจัย
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ -- ผลงานอาจารย์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2543
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ความเป็นมาของการวิจัย แรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานมีบทบาทการสร้างศักยภาพการทำงานของพนักงาน ประสิทธิภาพในการทำงานเกิดขึ้นเสมอหากว่าพนักงานมีระดับแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานระดับสูง แต่ในปัจจุบันพบว่า ความแตกต่างของแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานมักเกิดขึ้นจากการที่มีการแบ่งแยกในเรื่องของเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานระดับหัวหน้าที่มีโอกาสในความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มักพบว่าเพศชายจะได้รับโอกาสเป็นพวกแรก ซึ่งจะทำให้ระดับแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานมีระดับสูง แต่ในทางตรงกันข้ามพนักงานระดับหัวหน้าเพศหญิงมักจะได้รับโอกาสค่อนข้างน้อย ซึ่งมีผลต่อระดับแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงานที่มีระดับต่ำ ลักษณะที่เกิดขึ้นดังกล่าว มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยส่วนรวมขององค์การ และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่เทียมกันในการทำงานอีกด้วย ระเบียบวิธีการวิจัย วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ สุ่มมาจากพนักงานระดับหัวหน้าเพศชายและเพศหญิง จำนวน 194 คน โดยแยกเป็นเพศชาย 99 คน และเพศหญิง 95 คน จากจำนวนพนักงานระดับหัวหน้าเพศชายและเพศหญิงทั้งหมด 400 คน ที่ทำงานในโรงแรมขนาดใหญ่ที่สุด 10 แห่งแรกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบในด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว วิธีการทางสถิติที่ใช้ และสรุปผลข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติไค-สแคว์ (Chi-square) และการทดสอบค่าที (t-test) โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า เพศของพนักงานระดับหัวหน้าเพศชายและเพศหญิงไม่มีความสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจในการทำงานทุกประเด็น ในส่วนของระดับความพึงพอใจในการทำงาน พบว่าเพศของพนักงานระดับหัวหน้าเพศชายและเพศหญิง ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในการทำงานเช่นกัน แต่ในประเด็นเกี่ยวกับการมีอารมณ์แปรเปลี่ยนง่ายในเรื่องของลักษณะของผู้บังคับบัญชาและในเรื่องของโอกาสที่ได้ใช้ความสามารถ พบว่า มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในการทำงาน จากการทดสอบเรื่องความแตกต่างในเรื่องของระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานระดับหัวหน้าเพศชายและเพศหญิง พบว่า ไม่มีความแตกต่างในทุกประเด็น ในส่วนของระดับความพึงพอใจในการทำงานพบว่า ระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานระดับหัวหน้าเพศชายและเพศหญิงไม่มีความแตกต่างเช่นกัน แต่ในเรื่องของโอกาสที่ได้ใช้ความสามารถ พบว่า มีความแตกต่างกัน
BACKGROUND OF STUDY Work motivation and satisfaction possessed a role for generating working potential of employees. Ceaselessly would emerge, the effectiveness of work if high level of motivation and satisfaction were apparent. Currently, however, the occurrence of different motivation and satisfaction among employees often took place due to the involvement of genital segregation. Among supervisors that had opportunities to advance in particular, it was discovered that men were conceivably the first priorities to be provided such possibilities hence resulting in high level of motivation and satisfaction. Women supervisors contrarily received modest consideration therefore, leading to low motivation and satisfaction. The aforementioned situations had influenced the effectiveness of the organization performance as an entity. Furthermore, indicated work inequalities. METHOD The sample for the research composed of management level employees both males and females selected randomly. The division of the combination was 99 men and 95 women from the 400 supervisors of both genders that employed by 10 largest hotels within Bangkok and its metropolitan areas. The instruments used for this research include questionnaires, which contents were reviewed thoroughly by respectable individuals in addition, the statistical measurement used to summarize the outcomes were mean, percentages, relationship analysis by the use of Chi-square and t-test at the level of 0.05 significance. RESULTS The research unearthed that neither the genders of management intertwined with the degree of work motivation in all issues nor did the genders influence the degree of work satisfaction. However, it was learned that the ease of emotional changes and opportunities to display competencies originated various degrees of work satisfaction. The test regarding the differences of work motivation among management could not prove any differences among the genders in all aspects. Furthermore, the test discovered that the levels of work satisfaction were indifferent for both genders. The differences, however, entailed the opportunity to exhibit working capabilities.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3409
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suthinan_poms1.pdf56.04 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback