DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3406

Title: การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากรของประเทศไทย
Other Titles: A study of economic effects on population changes in Thailand
รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากรของประเทศไทย
Authors: ชาญณรงค์ ชัยพัฒน์
Keywords: ไทย -- ประชากร -- แง่เศรษฐกิจ -- วิจัย
ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ -- วิจัย
ชาญณรงค์ ชัยพัฒน์ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ประชากรเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ในแต่ละปีประชากรเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งจำนวนคนเกิด จำนวนคนตาย หรือการย้ายถิ่นฐานของประชากรเป็นสาเหตุให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มประชากรกับสภาพความเป็นอยู่ของประชากรมีการกล่าวถึงมานานแล้ว โดยนักประชากรศาสตร์ สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์มีการกล่าวถึงเกี่ยวกับประชากรบ้าง ดังนั้นผู้วิจัยสนใจศึกษาผลกระทบต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ อาทิ อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และดัชนีราคาหลักทรัพย์ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากรของประเทไทย อย่างไร การศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางประชากรแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 กรณี คือ การเปลี่ยนแปลงทางประชากรในประเทศไทยเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นรายไตรมาสตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2531 ถึง ไตรมาสที่ 2 ปี พ.ศ. 2548 รวมทั้งหมด 70 ไตรมาส โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติสร้างสมการถดถอยเชิงซ้อน ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมีชีพ กรณีประเทศไทย และในเขตกรุงเทพมหานคร แต่อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการตาย กรณีประเทศไทย และในเขตกรุงเทพมหานครอัตราเงินเฟ้อไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมีชีพ กรณีประเทศไทย และในเขตกรุงเทพมหานคร และอัตราเงินเฟ้อไม่มีความสัมพันธ์กับการตาย กรณีประเทศไทย และในเขตกรุงเทพมหานคร อัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเกิดมีชีพ กรณีประเทศไทย และในเขตกรุงเทพมหานคร และอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับการตาย กรณีประเทศไทย และในเขตกรุงเทพมหานคร ดัชนีราคาหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการเกิดมีชีพ กรณีประเทศไทย และในเขตกรุงเทพมหานคร และดัชนีราคาหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับการตาย กรณีประเทศไทย แต่ดัชนีราคาหลักทรัพย์ไม่มีความสัมพันธ์กับการตาย กรณีในเขตกรุงเทพมหานคร ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะมีอิทธิพลต่อการตายมากกว่าการเกิดมีชีพในประเทศไทย และผลกระทบทางเศรษฐกิจจะมีอิทธิพลต่อการเกิดมีชีพในเขตกรุงเทพมหานคร มากกว่าการเกิดมีชีพในประเทศไทย จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ตัวแปรทางเศรษฐกิจสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางประชากรได้ ดังนั้นภาคทางการควรจะคำนึงถึงตัวแปรต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจด้วยเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนเกี่ยวกับประชากร
population is one of the important factors to economic system. The continual changes of population in terms of the amount of birth, mortality, and migration each year make the economic structure of a country change accordingly. The relationship between population growth and their living status has been studied by demographic specialists for a long time. In the field of economics, population issue is raised from time to time. Therefore, the researcher would like to study economic effects such as economic growth rate, inflation rate, interest rate, and stock exchange index on population changes. The study of economic effects on population changes was conducted based on two cases: the change of population in Thailand and the one in Bangkok using quarterly time series secondary data from the first quarter of 1988 to the second quarter of 2005 totaling 70 quarters through the economic-dimension method to create a multiple regression equation. The results indicated that there was no relationship between economic growth rate and birth both in Thailand and Bangkok cases, but economic growth rate had a negative relationship with mortality in cases of Thailand and Bangkok. It was also found that inflation rate had no relationship with birth and mortality both in Thailand and Bangkok cases. Moreover, interest rate had a positive relationship with birth but had a negative relationship with mortality in two cases: Thailand and Bangkok. Stock exchange index had a positive relationship with birth in Thailand and Bangkok cases and had a relationship between with mortality in case of Thailand only. However, there was no relationship between stock exchange index and mortality in case of Bangkok, In addition, economic effects had more influence on mortality than on birth in case of Thailand, but had more influence on birth in Bangkok than in Thailand. To conclude, the economic variables could be used to explain the change of population; therefore, the government section should consider these economic variables when planning on population matter.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3406
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
channarong_chai.pdf11.68 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback