DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3352

Title: การใช้งานพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและอาคารในบทบาทการเป็นพื้นที่ สาธารณะ
Other Titles: Usability of connection area between BTS skytrain station and buildings as a public space.
Authors: ปณิชา ทิพย์ทีปกร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและอาคาร ที่เป็นลานขนาดใหญ่ ปัจจุบันในกรุงเทพฯมี 3 กรณีศึกษา ได้แก่ สะพานช่องนนทรี ควอเทียร์ปาร์ค และลานปทุมวัน จุดประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาพื้นเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและอาคาร ในบทบาทของการเป็นพื้นที่สาธารณะ โดยทำการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและการใช้งาน รวมถึงปัญหาและความต้องการ อีกทั้งสำรวจความเหมาะสมในการใช้งานของพื้นที่ศึกษา ตามทฤษฎีของพื้นที่สาธารณะ ผลการศึกษาพบว่าสภาพแวดล้อมและการใช้งานทั้ง3พื้นที่ เกิดจากการลงทุนสร้างจากเอกชนและยกเป็นทรัพย์สินของกรุงเทพฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การสัญจรเชื่อมต่ออาคาร ทั้ง3พื้นที่มีองค์ประกอบของพี้นที่คล้ายคลึงกัน เช่น พื้นที่สัญจรและการใช้งานที่หลากหลายทั้งในด้านกิจกรรม เวลา และผู้คน ต่างกันเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งสะพานช่องนนทรีมีน้อยกว่าที่ควอเทียร์ปาร์คและลานปทุมวัน ส่วนปัญหาและความต้องการ ทั้ง3พื้นที่ไม่มีป้ายผังที่แสดงการเชื่อมต่อไปยังโดยรอบ สะพานช่องนนทรีมีปัญหาเพิ่มเติม เรื่องแสงสว่างเพียงพอในตอนกลางคืนและเรื่องเจ้าหน้าที่คอยดูแล ความต้องการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม อีกทั้งต้องการที่จะทำกิจกรรมทางเลือกนอกจากสัญจร แต่ต้องไม่มากจนรบกวนการสัญจร และโดยรวมทั้ง3พื้นที่มีความเหมาะสมต่อการสัญจรและต่อการเป็นพื้นที่สาธารณะที่ดี สรุปแนวทางการพัฒนาพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสและอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.แนวทางในการพัฒนาต่อการเป็นพื้นที่สัญจร คือ ที่คำนึงถึงเรื่องความสะดวก โดยมีการเข้าถึงพื้นที่ได้ง่าย ใช้ได้ทุกคน เชื่อมต่อไปได้หลายจุดหมาย ใช้งานง่ายไม่สับสน มองเห็นได้ง่าย ใช้งานได้ทุกสภาพอากาศ กลางคืนมีแสงสว่างเพียงพอ มีป้ายสื่อสารที่ดีเข้าใจง่าย มีเจ้าที่ค่อยดูแล และ2.แนวทางในการพัฒนาต่อการเป็นพื้นที่สาธารณะที่ดี โดยต้องไม่รบกวนการสัญจร คือ คำนึงถึงการมีกายภาพที่ดีที่สนับสนุนความรู้สึกปลอดภัย สบาย และสะอาด เช่น มีอากาศถ่ายเท มีการจัดพื้นที่สีเขียว จัดพื้นที่นั่ง มีกล้องวงจรปิด ติดตั้งลำโพงเพื่อใช้สื่อสารและสร้างบรรยากาศ มีป้ายให้ข้อมูลและความรู้ มีการจัดกิจกรรมสังคมตามโอกาสต่างๆ เป็นต้น อีกทั้งพื้นที่ควรมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สวยงาม น่าจดจำ
The objective of this qualitative research is finding the way to develop the connection between public transportation and buildings in the form of large public open space. There are three case studies in Bangkok which are Chong Nonsi skywalk, Quartier Park and Pathumwan Skywalk. I study the physical environment, usability, user’s problems and needs, providing appropriate space for traffic and the appropria- tion to be public open space as the theory. The study shows that there are many similar components such as variety of routes and variety of activities but different in facilities. For the user’s problems and needs, there are no area plans provided for all three spaces and there is not enough lights at night and security guard for some spaces. Besides, the users not only walk through those spaces, but the users also want to do others activities. Overview, all three spaces are good public open spaces. The conclusion for the way to develop the large public open space between public transportation and buildings are being the convenient walking spaces that easy to access, ensure that there is a range of accessible, high-quality and inclusive open spaces available to everyone, connected to multiple areas, appropriate for all weather and having sufficient lighting. The other way to develop these public open spaces is creating the good quality public spaces which is concerning on physical and mental health by provide a safe, clean, green and natural environment. There are enough spaces to sit with closed-circuit television and loudspeakers for communication and creation an atmosphere. They should provide the information boards and create the social activities in various opportunities. Finally, those spaces should be well-designed, attractiveness, unique and recognition.
Description: วิทยานิพนธ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: รถไฟฟ้า
การขนส่งมวลชน -- การออกแบบที่ไม่มีอุปสรรคกีดขวาง
การขนส่งมวลชน -- วิจัย
อาคาร -- การดัดแปลงการใช้งาน
พื้นที่สาธารณะ -- การออกแบบที่ไม่มีอุปสรรคกีดขวาง
การออกแบบตกแต่ง
Advisor(s): ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร
ชัยสิทธิ๋ ด่านกิตติกุล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3352
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
panicha_thip.pdf46.01 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback