DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2992

Title: ระบบควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามกฎหมายไทย: ศึกษากรณีข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
Other Titles: Geographical indication control system of Thailand: The case study of: Thung Kula Rong-Hai Thai Hom Mail
Authors: ดวงหทัย นาคเสวก
Keywords: สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
พระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
ระเบียบประชาคมยุโรป 1151/2012
ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้
ระบบควบคุมคุณภาพสินค้า
ระบบควบคุมตรวจสอบ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 เพื่อให้การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายในประเทศมีมาตรฐานและสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามที่ความตกลงขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในส่วนความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS) ได้กำหนดไว้เพื่อคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แต่อย่างไรดี นับตั้งแต่ที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบันพบว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทั้งในทางปฏิบัติและบทบังคับใช้ตามกฎหมายอย่างชัดเจนและครบทุกขั้นตอน จึงมีปัญญาว่าแนวทางการกำหนดระบบควบคุมคุณภาพสินค้าที่เหมาะสมในการตรวจสอบควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยควรมีมาตรฐานอย่างไร ผู้ศึกษาจึงได้ทำการศึกษาระบบควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้เปรียบเทียบระเบียบประชาคมยุโรป 1151/2012 ซึ่งมีแนวทางการตรวจสอบควบคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่มีความชัดเจนและมีมาตรฐาน และนำมาศึกษาร่วมกับแผนการควบคุมตรวจสอบสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และเสนอเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานหรือระบบตรวจสอบควบคุมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้มีมาตรฐานและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 มิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้าและการตรวจสอบย้อนกลับไว้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ดีเพื่อให้กระบวนการควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นสินค้ามีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ในทางปฏิบัติพบว่าได้มีการ นำระบบการควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้าและการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้สำหรับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้วย แต่ก็เป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติซึ่งเป็นดุลพินิจของนายทะเบียนและในการควบคุมตรวจสอบบางขั้นตอนเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ผลิตที่ประสงค์จะ จัดให้มีการควบคุมตรวจสอบหรือไม่ก็ได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากระเบียบประชาคมยุโรปที่มีการบัญญัติให้ผู้ที่ประสงค์จะได้รับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรป ต้องจัดให้มีการควบคุมคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และการมีการตรวจสอบกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนจึงจะได้รับการคุ้มครองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามระเบียบประชาคมยุโรป จากปัญหาดังกล่าวของพระราชบัญญัติสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการบัญญัติเรื่องระบบควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างละเอียดและครบทุกขั้นตอน ทั้งการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้ระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบ และส่งผลให้สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นมีคุณภาพและเป็นมาตรฐานสากล
Thailand has enacted the Geographical Indications Protection Act BE 2546 (2003) to protect the geographical indications within the country in accordance with the minimum standards set under the World Trade Organization (WTO) agreement on trade-related aspects of intellectual property rights (TRIPS), However, since the enactment of the Geographical Indications Protection Act BE 2546 (2003), it was found that there are no provisions on quality control of geographical indications both in practice and in law enforcement clearly and at all stages. Therefore, there is a problem how the standard of quality control system appropriate to check quality control products based on geographical indications should be determined. The researcher thus conducted a study on the quality control system under Geographical Indications Protection Act BE 2546 (2003) to compare it with the EU Regulation No. 1151/2012, which monitors the quality of geographical indications with clarity and standard. It is also considered in conjunction with the control plan for the identification of geographical indications of Khao Hom Mali Thung Kula Rong-Hai to be analyzed and proposed as a guideline for setting geographical products standards indication or control systems under the Geographical Indications Protection Act, BE2546 (2003) to be more standardized and clearer. From the study it was found that the Geographical Indications Protection Act, BE 2546 (2003) does not stipulate the product quality and traceability. However, it is important to ensure that the quality control process of geographical indication products is consistent with international standards, transparency and traceability. In practice, it was found that the implementation of quality control and traceability systems was for the protection of geographical indications and traceability. However, it is only a guideline for the conduct, which is the registrar's discretion and some control procedures is also voluntary for manufacturers who can or cannot provide control audit. This is different from the European Community regulation that provides for persons wishing to be protected geographical indications of the European Union having to provide quality control of geographical indications and every step of production process, which is protected as a geographical indication in accordance with European Community regulations. From the problem of the Geographical Indications Protection Act, BE 2546 (2003), the researcher found that there should be a comprehensive and comprehensive system for the control of the quality of geographical indication products both in the aspects of law enforcement and practice guidelines to ensure efficient systematic monitoring of the quality of Geographical Indications and to ensure that geographical indication products meet the international quality and standards.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: ข้าว -- พันธุ์
ข้าว -- การกระจายทางภูมิศาสตร์
การควบคุมคุณภาพ -- มาตรฐาน
คุณภาพผลิตภัณฑ์
Advisor(s): ปวริศร เลิศธรรมเทวี
ปัจฉิมา ธนสันติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2992
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
duanghatai_naks.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback