DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2917

Title: แนวทางในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
Other Titles: Guidelines for community development in Phrae district to be a sustainable cultural tourism
Authors: พรรณเพ็ญ วัฒนมงคลลาภ
Keywords: แนวทางการพัฒนา
เมืองแพร่
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
อย่างยั่งยืน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหารูปแบบและแนวทางในการพัฒนาชุมชนใน การพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ เพื่อศึกษาเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองแพร่ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนและเพื่อศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วิธีการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 400 คน และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์จากลุ่มตัวอย่างประชากร จำนวน 32 คน แบ่งเป็น จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการรถโดยสาร ผู้ประกอบการร้านขายของ ที่ระลึก ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้ประกอบการโรงแรม หน่วยงานภาครัฐและผู้นำชุมชน ผลการศึกษาพบว่าแนวทางในการพัฒนาชุมชนในเขตอำเภอเมืองแพร่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ควรพัฒนาด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวในเชิงการอนุรักษ์วัฒนธรรมเพื่อให้มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามไว้และพัฒนาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยให้มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ดียิ่งขึ้น เส้นทางแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองแพร่ ควรเป็นเส้นทางที่อยู่ในเขตเมืองเก่า ซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างที่มีอายุนับร้อยปี แต่ละสถานที่มีระยะทางไม่ไกลกันมากและควรมีรถรางนำเที่ยวเพื่อรองรับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน 3 เส้นทาง คือ วัดศรีชุมถึงวัดสระบ่อแก้ว วัดศรีชุมถึงวัดหลวงและวัดจอมสวรรค์ถึงพิพิธภัณฑ์เสรีไทย ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้แก่ การทำผ้าหม้อฮ่อมของชุมชนทุ่งโฮ้ง โดยนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนนั้นทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนได้ ทางด้านความคิดเห็นและทัศนคติของชาวบ้านต่อแนวทางในการพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่คือ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์บุคลากร กิจกรรมการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชน
The objectives of this research are to study the patterns and guidelines for community development in Phrae District. To study the tourist attraction routes in Phrae District. To support for sustainable cultural tourism. And to study tourism resources that can sustainable tourism destination. This research is a mixed method that the questionnaires were collected from 400 Villagers in Phrae District. And qualitative research by interview the sample of the research 6 groups of bus owner, souvenir shop owner, restaurant owner, business owner, the staff of government and community leader. The study found that the community development in Phrae province to be the sustainable cultural attraction. It should be developed in a way that preserves the culture such as tradition, language, dress, environmental management and public utility. Each location is not far away so there should be a tram tour for the sustainable cultural tourism. The three major tourist attraction are Sri Chum temple to Sra Bo Kaew temple, Sri Chum temple to Luang temple and ChomSae Wan temple to Serithaimuseam. Another important tourist attraction in capital district is making Mauhom clothes of Thung Hong village. Mauhom is made of cotton with dyeing. Nowadays MauHom clothes have changed the style to be more beautiful, comfortable and popular throughout Thung Hong village of Phrae province. The opinions and attitudes of villagers toward the development of community as a tourist attraction are community participation, environmental management, public relations, tourism activities and public participation.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของพลเมือง
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- แพร่
วัฒนธรรมกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย
การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- การตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย (ภาคเหนือ) -- วิจัย
ชุมชน -- วิจัย
Advisor(s): ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2917
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
punpen_watt.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback