DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2893

Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ททท. กรณีศึกษา: เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
Other Titles: Factors affecting participation in the management policy of sustainable tourism a case study of Pa Sak Jolasid Dam, Amphoe Phatthana Nikom, Lopburi Province
Authors: สุจันทรา สะพุ่ม
Keywords: การมีส่วนร่วม
นโยบาย
การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ททท. กรณีศึกษา: เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติอนุมานเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามด้วยการเปรียบเทียบความแตกต่าง t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way Analysis of Variance) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนด้านปัจจัยสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว นโยบายการจัดการการท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ททท. กรณีศึกษา: เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานร่วมกันเฉลี่ยอยู่ในระดับมากในการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประชาชนในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นด้านอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี กับปัจจัยสภาพแวดล้อมและนโยบายการจัดการการท่องเที่ยว พบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับสูง ยกเว้นปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านสิ่งแวดล้อม พบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นความสัมพันธ์ในระดับต่ำ อธิบายได้ว่าปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวโดยตรง ควรมีการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพและการบริการด้านการท่องเที่ยว และสามารถรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวและพัฒนาเขื่อนป่าสักให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
The objectives of this research were to study the levels of public participation in sustainable tourism management policy and to study factors affecting participation in the Tourism Authority of Thailand’s (TAT) sustainable tourism management policy by local people in the Pa Sak Jolasid Dam area, Phatthana Nikom District, Lopburi Province. The questionnaires collected from 400 people from the Pa Sak Jolasid area were analyzed through descriptive statistics, specifically percentage, frequency, mean and standard deviation. In addition, inductive statistics, t – test, F –test (One – way Analysis of Variance) and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, were also used to analyze independent and dependent variables. The results found that people’s opinions on the environment of the tourism location, management policy and participation in TAT’s sustainable tourism management policy at Pa Sak Jolasid Dam, Amphoe Phatthana Nikom, Lopburi Province are overall at the mid level, with infrastructure and participation in collaborative work averaging a high level of participation in the TAT’s sustainable tourism management policy by people in the Pa Sak Jolasid Dam area. Comparison of participation in the sustainable tourism management policy by individual factors found contrasts with no statistical significance at the 0.05 level, except for the factors of age, occupation and average income per month, which have statistical significance at the 0.05 level. The comparison between participation in the sustainable tourism management policy and environmental factors and the tourism management policy showed a positive relationship with high statistical significance, except for environmental factors which showed a positive relationship with no statistical significance. It can be seen that environmental factors are one of the factors that have a direct impact on sustainable tourism and standards of quality and tourism services should be raised to accommodate the needs of tourists and to develop Pa Sak Jolasid as a sustainable tourism destination.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Advisor(s): ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2893
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suchantra_saph.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback