DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2888
|
Title: | กลยุทธ์การผลิตเนื้อหาการตลาดบนเฟสบุ๊กแฟนเพจตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดกับความตั้งใจของผู้บริโภค 4 กลุ่มช่วงอายุ กรณีศึกษา เคเอฟซีไทย แมคโดนัลด์ไทย และพิซซ่าคอมปะนี 1112 |
Other Titles: | Marketing content strategy on fast food fanpage and 4 generations consumers’ buying intention case study: KFC Thai, Mc Thai and Pizza Company 1112 Lover |
Authors: | อตินุช อรัญยะนาค |
Keywords: | กลยุทธ์การผลิตเนื้อหา เฟซบุ๊กแฟนเพจ ประเภทเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา |
Issue Date: | 2560 |
Abstract: | การวิจัยเชิงปริมาณเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การผลิตเนื้อหาการตลาดบน
เฟซบุ๊กแฟนเพจตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด 2) ความพึงพอใจในกลยุทธ์การผลิตเนื้อหาการตลาด
ในด้านประเภทและรูปแบบการนาเสนอเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจตราสินค้าของผู้บริโภคทั้ง 4 กลุ่ม
ช่วงอายุ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในกลยุทธ์การผลิตเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ
ตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคทั้ง 4 กลุ่มช่วงอายุ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการวิเคราะห์
เนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจตราสินค้าเคเอฟซีไทย, แมคโดนัลด์ไทย และพิซซ่า คอมปะนี 1112 ตั้งแต่
วันที่ 1 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2560 ระยะเวลาทั้งหมด 3 เดือน และใช้วิธีวิจัยเชิงสารวจผ่านการ
เก็บแบบสอบถามออนไลน์ปลายปิดตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน – 20 กันยายน 2560 และนามา
วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าร้อยละ การแจกแจงความถี่และค่าเฉลี่ย และ
สถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตามโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ของเพียร์สันในการประมาณค่าและทดสอบสมมติฐาน ณ ระดับนัยสาคัญที่ 0.01
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การผลิตเนื้อหาการตลาดบนเฟซบุ๊กแฟนเพจตราสินค้า
ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในด้านประเภทเนื้อหามีทั้งหมด 10 ประเภท ได้แก่ ประเภท Brand & Product
มีการปรากฎจำนวนมากที่สุด รองมาประเภท Sale Promotion & Discount ประเภท Brand &
Product Reviews ประเภท Online Activity & Quiz & Game ประเภท Lifestyle Tie-in
ประเภท Support On-Ground Activity ประเภท Real-Time Contents ประเภท Coupon &
Other Sampling Products ประเภท Other Channels และประเภท Facebook Activity
Announcement มีการปรากฎจำนวนน้อยที่สุดตามลาดับ นอกจากนี้ในด้านรูปแบบการนำเสนอ
เนื้อหาทั้งหมด 14 รูปแบบ ได้แก่ ภาพอี-โปสเตอร์ (E-Poster) มีการปรากฎจำนวนมากที่สุด
รองลงมาคือภาพตกแต่ง (Edited Photo) วิดีโอแบบสาเร็จรูปบนเฟซบุ๊ก (Facebook video)
ภาพถ่ายจากลูกค้าจริง (Customer Photo) ภาพเคลื่อนไหวสกุลไฟล์ GIF (Graphics Interchange
Format) วิดีโอจากเฟสบุ๊กแฟนเพจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (Facebook Fanpage Partner)
ภาพแคปเจอร์ (Capture Photo) ภาพอินโฟกราฟิก (Information Graphic) อัลบัมภาพ (Photo
Album) เซตภาพ (Photo Set) ภาพแบบหมุน (Photo Carousel) ภาพถ่ายเดี่ยว (Photo) ภาพ
การ์ตูน (Cartoon) และวิดีโอคอลลาจ (VDO Collage) มีการปรากฎจำนวนน้อยที่สุดตามลาดับ 2)
ผู้บริโภคในกลุ่มช่วงอายุที่แตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อประเภทเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจตรา
สินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่แตกต่างกัน 3) ผู้บริโภคในกลุ่มช่วงอายุที่แตกต่างกันมีระดับความพึง
พอใจต่อรูปแบบการนาเสนอเนื้อหาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่แตกต่างกัน
4) ความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การผลิตเนื้อหาทั้งในด้านประเภท และรูปแบบการนาเสนอเนื้อหาบน
เฟซบุ๊กแฟนเพจตราสินค้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค
ทั้ง 4 กลุ่มช่วงอายุ This qualitative research is aimed to study: 1) Content marketing strategy of fast food brand through Facebook page. 2) Branding awareness and customer satisfaction of 4 generations among to respond various content categories and approaches in fast food brand Facebook page. 3) Relationship between consumer satisfaction and purchase intentions of 4 generations. Based on study data, researcher attempt to collect and analyze real content through Facebook page of KFC Thai, Mc Thai and Pizza Company 1112 for 3 months from 1st June-31st August 2017. Moreover, including observational data by online close-end survey from 10th -20th September 2017, the conclusion is analyzed with descriptive statistics, e.g. sample average, frequency distribution table and so on, as well as, inferential statistics to find the relationship between input and output by Pearson correlation principal for value estimation and hypothesis test at the level of significant of ∝ = 0.01.The inferences are found as follows: 1) Different generations express particularly own satisfaction in the aspect of content categories shown in fast food brand Facebook. 2) Different generations express particularly own satisfaction in the aspect of content approaches shown in fast food brand Facebook. 3) Consumer satisfaction for both content marketing categories and approaches have positive correlation with purchase intention of 4 generations among. |
Description: | การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559 |
Advisor(s): | ชุติมา เกศดายุรัตน์ |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2888 |
Appears in Collections: | Independent Studies - Master
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|