DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2875

Title: การสื่อสารทางการตลาดด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัสต่อขนมไทยของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น
Other Titles: Marketing Communication in Sensory Perception on Thai Dessert of Japanese Consumer in Tokyo, Japan
Authors: กัลยารัตน์ พันกลั่น
Keywords: การสื่อสารทางการตลาด
ด้านการรับรู้ทางประสาทสัมผัส
ขนมไทย
ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อการสร้างตราสินค้าด้วยประสาทสัมผัส (Sensory Branding) ของธุรกิจขนมไทย 2) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น 3) เพื่อศึกษาถึงผลระทบของการสร้างตราสินค้าด้วยประสาทสัมผัส (Sensory Branding) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคขนมไทยของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากประชากรที่เป็นประชาชนชาวญี่ปุ่นผู้ที่บริโภคขนมไทยโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามที่ตัวอย่างได้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อถือได้ 0.90. และมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ที่ใช้ในการวิเคราะห์เรื่อง การเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา คือการวิเคราะห์หาผลกระทบโดยใช้ Simple Regression ในการวิเคราะห์ตัวแปรต้นตัวเดียวคือ การตลาดเชิงประสาทสัมผัส และตัวแปรตามคือ พฤติกรรมการบริโภคขนมไทย และ Multi regression ในการวิเคราะห์ตัวแปรย่อยของตัวแปรต้นคือทฤษฎีสร้างตราสินค้าด้วยประสาทสัมผัส (Sensory Branding) ประกอบด้วย1) การรับรู้ผ่าน รูป 2) การรับรู้ผ่าน รส 3) การรับรู้ผ่าน กลิ่น 4) การรับรู้ผ่าน เสียง 5) การรับรู้ผ่าน สัมผัส ผลการศึกษาพบว่าการตลาดเชิงประสาทสัมผัส(ภาพรวม) มีอิทธิพลกับพฤติกรรมการบริโภคขนมไทย ร้อยละ 86.3 และเมื่อพิจารณาปัจจัยรายย่อย พบว่า การรับรู้ผ่าน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส พฤติกรรมการบริโภคขนมไทย ร้อยละ 93.3
This studying aims to; 1) studying in opinion of Japanese consumer in Tokyo, Japan, on sensory branding of Thai dessert; 2) studying in consuming behavior in Thai dessert of Japanese consumer in Tokyo, Japan; 3) studying in sensory branding that affected to consumption behavior in Thai desert of Japanese consumer in Tokyo, Japan. 400 samples derived from Japanese consumer who consumed Thai dessert by convenience sampling approach.Self-administered questionnaire with 0.90 reliability value which tested its accurate by expert has been used to be instrument of this studying. Analytic statistics was descriptive statistic, such as percentage, mean, and Standard Deviation. Inferential Statistic used to analyzing in comparison and relation of data with studied variables were effect analysis by Simple Regression approach with sensory marketing as independent variable and consumption behavior in Thai dessert as dependent variable; and Multi Regression approach to analyzing component variables, sensory branding theory, including 1) sight sense, 2) taste sense, 3) smell sense, 4) hearing sense, and 5) touch sense. Studying result found that; sensory marketing (overall) influenced to consumption behavior in Thai dessert 86.3%; and when considering in component variables found that perception on sight, taste, smell, hearing, and touch influenced to consumption behavior in Thai dessert 93.3%.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: ความพอใจของผู้บริโภค -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารทางการตลาด -- วิจัย
พฤติกรรมผู้บริโภค -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ขนม -- การตลาด -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): ศศิประภา พันธนาเสวี
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2875
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kanlayarat.punk.pdf5 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback