DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2515

Title: กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กของโรงพยาบาลพญาไท
Other Titles: Online health communication strategies through the Facebook fanpage of Phayathai hospital
Authors: อิริยาพร อุดทา
Keywords: กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ
การสื่อสารสุขภาพออนไลน์
รูปแบบสื่อสุขภาพ
เนื้อหาสื่อสุขภาพ
โรงพยาบาลพญาไท
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหา รูปแบบการสื่อสารสุขภาพ และศึกษากลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กของโรงพยาบาลพญาไท การศึกษาครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาเนื้อหาและรูปแบบของการสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อเฟซบุ๊ก เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาระบบการสื่อสารสุขภาพออนไลน์ของไทยโดยใช้วิธีการรายงานผลในรูปแบบตารางและรูปแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) จากการศึกษาการสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาให้ความรู้ทางการแพทย์ และมีรูปแบบการนำเสนอที่เป็นบทความมากที่สุด และเข้าถึงได้ทุกช่วงวัยทั้งชายและหญิง โดยผ่านการนำเสนอเนื้อหาสุขภาพที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน จนเกิดเป็นกลุ่มคนออนไลน์ที่คอยแบ่งปันสาระความรู้ให้แก่กันและกัน แลกเปลี่ยนข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้จริง และสามารถนำไปสู่การพัฒนาระบบสุขภาพของสังคม ทำให้รู้ถึงวิธีป้องกันโรคและเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเองและเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นได้ ผลการศึกษาพบว่าการสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กแบ่งประเด็นตามวัตถุประสงค์ ได้ดังนี้ 1. ด้านเนื้อหาเกี่ยวกับการสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊ก 1.1 ประเด็นความรู้ (Knowledge) 2.2 ประเด็นสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) 3.3 ประเด็นพัฒนาระบบสุขภาพของสังคม (Social Development) 4.4 ประเด็นป้องกันโรค (Prophylactic) 5.5 ประเด็นพึ่งพาตนเอง (Self-Reliance) 2. ด้านรูปแบบการสื่อสารเกี่ยวกับสื่อสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊ก 2.1 รูปแบบบทความ (Article) 2.2 รูปแบบถ่ายทอดสด (Live) 2.3 รูปแบบสื่อประสม (Multimedia) 2.4 รูปแบบข่าวสาร (News) ผู้วิจัยยังศึกษาถึงการใช้กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อเฟซบุ๊กเพจ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การสื่อสารเนื้อหา (Content) และกลยุทธ์รูปแบบการสื่อสาร (Forms) พบว่า ทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้ามามีปฏิสัมพันธ์และมีผู้เข้ารับบริการหน้าใหม่เพิ่มขึ้นจริง ด้วยการใช้ กลยุทธ์รูปแบบการนำเสนอด้วยการใช้ภาษาที่สื่อสารได้อย่างชัดเจนตรงไปตรงมา และไม่ใช้คำยากให้กลุ่มเป้าหมายตีความผิด ๆ ไม่ใช้ศัพท์ทางการแพทย์ให้สับสน ผู้รับสารอ่านเข้าใจได้ในทันที ด้วยการนำเนื้อหาสุขภาพ รูปภาพประกอบที่ถูกลิขสิทธิ์มานำเสนอผ่านสื่อเฟซบุ๊ก สร้างความน่าเชื่อถือให้กับโรงพยาบาล มีแหล่งอ้างอิงที่ถูกต้องด้วยการซื้อลิขสิทธิ์อย่างถูกกฎหมายและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดกับกลุ่ม เป้าหมาย ให้เกิดทัศนะคติเชิงบวก จนนำไปสู่การการพัฒนาระบบสุขภาพของสังคมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเรื่องสุขภาพต่อไปได้
The study of “Online Health Communication Strategies Through the Facebook Fanpage of Phayathai Hospital” for purpose of study is the following contents, forms and strategies of health communication online through facebook’s Phyathai Hospital. This study is a qualitative research method and analyzes the content which were collected directly from Phyathai Facebook Page and the code or data. Then the researcher make the conclusion from all results as a tabular format and descriptive analysis. It was found that health communication online through the Facebook Fanpage, the content have a medical knowledge and a presentation format that is most articles. Accessible to all ages, both men and women, which can be applied in routine. Became online communities including knowledge exchange, Information sharing to each other and can direct to the development of healthy society. Awareness to Prophylactic and Self-reliance or Reliance on others. The results showed that 1. Health Communication Contents 1.1 Knowledge 1.2 Relationship 1.3 Social Development 1.4 Prophylactic 1.5 Self-Reliance 2. Health Communication Forms 2.1 Article 2.2 Live 2.3 Multimedia 2.4 News The results of the study health communication strategies online through the Facebook Fanpage two strategies are strategy content and strategy form. Target group interactions and have a new target group with presentation style using language to communicate clearly, honestly and do not use medical terminology confuse, audience understand immediately, Including the strategic health content and form with photos are copyrighted and the correct reference. For confidence to target group and a positive attitude, contribute to the development of the health system and change behavioral health further.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: โรงพยาบาลพญาไท
สื่อสังคมออนไลน์
เครือข่ายสังคมออนไลน์
เฟซบุ๊ค (บริษัท)
การสื่อสารทางการแพทย์
สถานพยาบาล
การแพทย์ -- บริการสารสนเทศ
การสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพ
Advisor(s): อริชัย อรรคอุดม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2515
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
iriyaporn_oudt.pdf12.33 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback