DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2492

Title: การศึกษาทัศนคติเชิงบวก พฤติกรรมการบริจาค และการรณรงค์ผ่านสื่อที่มีผลต่อแรงจูงใจในการบริจาคให้กับเด็กด้อยโอกาส ของพนักงานบริษัทเอกชน
Other Titles: A Study of Positive Attitude Donations Behavior and Media Campaign Approach Affecty Motivating Donation Through Underprivileged Children of Private Company Employees
Authors: รัตนา เค้าไฮ
Keywords: ทัศนคติเชิงบวก
พฤติกรรมการบริจาค
การรณรงค์ผ่านสื่อ
Issue Date: 15-Mar-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของทัศนคติเชิงบวก ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการบริจาคให้กับเด็กด้อยโอกาส 2) ความแตกต่างของพฤติกรรมการบริจาค ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการบริจาคให้กับเด็กด้อยโอกาส และ 3) ความแตกต่างของการรณรงค์ผ่านสื่อ ที่มีผลต่อแรงจูงใจในการบริจาคให้กับเด็กด้อยโอกาสของพนักงานบริษัทเอกชน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทดสอบความตรงของเนื้อหา และความน่าเชื่อถือด้วยวิธีของครอนบาร์คกับพนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 30 คน ได้ระดับความเชื่อมั่น 0.848 โดยแจกให้กับพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 400 คน วิธีการทางสถิตแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบง่าย (Simple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) อิทธิพลของทัศนคติเชิงบวก มีผลต่อแรงจูงใจในการบริจาคให้กับเด็กด้อยโอกาสแตกต่างกัน โดยมีภาพรวมอยู่ในระดับที่มาก คิดเป็นร้อยละ 66.30 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแบ่งปันในสิ่งที่เราพอมี เป็นการกระทำที่เหมาะสม 2) ความแตกต่างของพฤติกรรมการบริจาค มีผลต่อแรงจูงใจในการบริจาคให้กับเด็กด้อยโอกาสแตกต่างกัน ได้แก่ ความสำคัญในการบริจาค ประเภทของเด็กด้อยโอกาสที่ต้องการบริจาค และความสนใจในการเลือกให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่ด้อยโอกาส นอกนั้นไม่แตกต่างกัน 3) ความแตกต่างของการรณรงค์ผ่านสื่อ มีผลต่อแรงจูงใจในการบริจาคให้กับเด็กด้อยโอกาสแตกต่างกัน คำสำคัญ: ทัศนคติเชิงบวก, พฤติกรรมการบริจาค, การรณรงค์ผ่านสื่อ.
The objectives of this research were 1) To study the influence of a positive attitude that affects the incentive to donate to underprivileged children, 2) To study the difference of donation behaviors that affect the incentive to donate to underprivileged children, and 3) To study the difference of the campaign through the media that affect the incentive to donate to the underprivileged children by employees in private companies. Questionnaires were used for data collection. The validity and reliability of the content was tested with Cronbach’s method on 30 employees at private companies in Thailand and the reliability was at .848. The questionnaires were handed out to 400 employees at a private company. The statistics were separated into 2 types: descriptive statistics and inferential statistics such as t-test, F-test, multiple regression analysis and simple regression analysis. The study found that 1) Positive attitude affects the incentives to donate to underprivileged children differently with the overall was at a high level at 66.30 %. The majority agreed to appropriately share the things that have, 2) The differences in donor behavior affect the incentives to donate to underprivileged children to be different such as the importance of donation, type of underprivileged children, the selection to donate to scholarships for underprivileged children. Other than that there was no difference, 3) the difference of the campaign through the media affects the incentives to donate to underprivileged children to be different. Keywords: Positive Attitude, Donation Behavior, Campaigns Through the media.
Description: การค้นคว้าอิสระ (บธม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,2559
Subjects: เด็กด้อยโอกาส
ทุนการศึกษา
การจูงใจ (จิตวิทยา)
เยาวชน -- ไทย
ทุนการศึกษา -- ไทย -- วิจัย
Advisor(s): สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2492
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
rattana_kawh.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback