DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2476

Title: ความสัมพันธ์ของวัฏจักรธุรกิจระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคกับราคาตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: The Relationship of Business Cycle between Macroeconomic Factors and Representatives Business from each Sector: The Stock Exchange of Thailand
Authors: สยาม ปัญจนาพงศ์ชัย
Keywords: เศรษฐกิจมหภาค
วัฏจักรธุรกิจ
กลุ่มอุตสาหกรรม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าในแต่ละช่วงเศรษฐกิจ ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคมีความสัมพันธ์กับราคาตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรม โดยปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) อัตราการว่างงาน (UR) และอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน 14 วัน (RP) และได้ใช้ข้อมูลอนุกรมเวลารายไตรมาส ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2541 ถึง ไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2559 รวม 74 ไตรมาส จากนั้นทำการแยกข้อมูลออกเป็น 3 ชุด คือ เศรษฐกิจตลอดช่วงเวลาการวิจัย (All) เศรษฐกิจขยายตัว (Uptrend) และ เศรษฐกิจหดตัว (Downtrend) แล้วนำไปทำการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ที่ระดับความเชื่อมั่น 90%, 95% และ 99% ผลการศึกษาพบว่าในช่วงเศรษฐกิจตลอดช่วงเวลาการวิจัย (All) ปัจจัยอัตราว่างงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนมีความสัมพันธ์ทั้งทิศทางเดียวกันและตรงกันข้ามกับราคาตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่ม ส่วนช่วงเศรษฐกิจขยายตัว (Uptrend) ปัจจัย ดัชนีราคาผู้บริโภค กับ ดัชนีราคาผู้ผลิต มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม และอัตราดอกเบี้ยซื้อคืน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคาตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่ม สุดท้ายช่วงเศรษฐกิจหดตัว (Downtrend) ปัจจัย อัตราการว่างงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนมีความสัมพันธ์ทั้งทิศทางเดียวกันและตรงกันข้ามกับราคาตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่ม ส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่มีความสัมพันธ์กับราคาตัวแทนกลุ่มอุตสาหกรรมในทุกช่วงเศรษฐกิจที่วิจัย
This research aim to study the business cycle between macroeconomic factors and representatives business from each sector. Factors in this research are Gross Domestic Product (GDP), Consumer Price Index (CPI), Producer Price Index (PPI), Unemployment Rate (UR) and Repurchase Rate (RP 14 days). This research used time series data quarter from 1st quarter B.E. 2541 to 2nd quarter B.E. 2559. Then split data into three sets which are economy over the period study (All), economic growth (Uptrend) and economic contraction (Downtrend). Later did data analysis from Multiple Regression Analysis at the confidence level of 90%, 95% and 99%. The result showed that economy over the period study (All) and the Unemployment Rate have a relationship in the associated with the same direction. And the Repurchase Rate has a relationship in the same and opposite direction with some sectors. For economic expansion (Uptrend), the Consumer Price Index and Producer Price Index have a relationship in the opposite direction, and the Repurchase Rate a relationship in the same direction with some sectors. Between economic contractions (Downtrend) and the Unemployment Rate have a relationship in the same direction. For the Repurchase Rate has a relationship in the same and opposite direction with some sectors. And lastly the Gross Domestic Product do not have any relationship with any sector in all data.
Description: การค้นคว้าอิสระ(บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Subjects: การลงทุน -- แง่จิตวิทยา -- วิจัย
การลงทุน -- การตัดสินใจ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การวิเคราะห์การลงทุน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ดัชนีราคาหลักทรัพย์ -- ไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย -- การศึกษาเฉพาะกรณี
Advisor(s): รพีสร เฟื่องเกษม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2476
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
siam_panj.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback