DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2365

Title: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของเส้นทางการท่องเที่ยวอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย
Other Titles: Exploratory factor analysis of Travel routes for Thai tourists in Pranburi, Prachuab Khiri Khan province
Authors: เบญญทิพย์ ทองวิไล
Keywords: องค์ประกอบเชิงสำรวจ
เส้นทางการท่องเที่ยว
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปราณบุรี
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบเส้นทางในอำเภอปราณบุรีในปัจจุบัน 2) เพื่อสำรวจและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของเส้นทางการท่องเที่ยวในอำเภอปราณบุรี 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวภายในอำเภอปราณบุรีที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทย การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบัค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต(Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ผลการวิจัยพบว่าเส้นทางท่องเที่ยวในอำเภอปราณบุรี ยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก มีถนนเส้นหลัก คือถนนเพชรเกษม และมีถนนเส้นรองอีกมากมายเพื่อเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆโดยรอบ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวแต่ละที่นั้นอยู่ไม่ห่างไกลกัน สามารถเที่ยวได้เป็นเส้นทางตรงโดยไม่ต้องวนกลับมาจุดเดิม โดยใช้ถนนเส้นหลักและเส้นรองผสมผสานกันไป นอกจากนี้ยังมีเส้นทางจักรยานสำหรับนักท่องเที่ยวและมีป้ายบอกทางชัดเจน แต่ยังมีบางช่วงที่เส้นทางจักรยานแต่ละจุดไม่เชื่อมต่อกัน จากการเก็บรวบรวมแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพพนักงานเอกชนและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,000 บาทขึ้นไป วัตถุประสงค์ในการเดินทางส่วนใหญ่เพื่อพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัว โดยเฉลี่ย 2 ครั้ง เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ใช้จ่ายประมาณ 3,501 – 5,000 บาทและพำนักอยู่ในอำเภอปราณบุรีโดยเฉลี่ย 1 คืน ในส่วนของระดับความต้องการปัจจัยในการจัดการเส้นทางท่องเที่ยว พบว่านักท่องเที่ยวต้องการความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมมากที่สุด และการนำเสนอการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบโปรแกรมทัวร์อยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จากความต้องการปัจจัยต่อการจัดการเส้นทางของนักท่องเที่ยว สามารถจัดกลุ่มตัวแปรได้ 5 กลุ่ม ที่มีความสัมพันธ์กัน จากตัวแปรคัดสรรทั้งหมด 27 ตัวแปร คือความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว แรงดึงดูดของแหล่งท่องเที่ยว การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิต และการซื้อของฝาก สามารถนำมาสร้างเป็นรูปแบบกลยุทธ์ที่มีชื่อว่า PRANS เพื่อนำมาปรับใช้ต่อการจัดเส้นทางการท่องเที่ยวในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อไป
The purposes of this research was to study 1) investigate the travel route in Pranburi nowadays 2) Exploratory Factor Analysis of Travel Routes in Pranburi 3) to present travel route that combine with Thai tourist demands. The samples consisted of 400 Thai tourist that have been travel in Pranburi. The study was a quantitative research by questionnaire and the data were analyzed using by frequency, percentage, mean, standard deviation and Exploratory Factor Analysis (EFA). The results of the study were as follows 1) The travel routes in Pranburi still as natural, main road is PhetKasem and have many secondary road to reach in any tourist attraction that place in nearly. Tourist can travel in one way by main road and secondary road both. Furthermore Pranburi still have bicycle lane and guide post but some period the way is not connected. 2) The results of the data analysis the most respondents were female, between the ages of 21-30 years old, single , bachelor's degree or equivalent level, private and professional staff, the average monthly income of 50,000 baht. The purpose of the trip is mainly for family recreation, on average, two times traveling by car. Cost about 3501-5000 baht and residing in Pranburi average one night. The level of demand factors in the management of routes found that an abundance extreme environment is the most and travel with tour is moderate. The analysis of Exploratory Factor from the need to manage the routes of travelers, variables can be grouped into 5 groups that are interrelated. All selected variables from 27 variables. The demand for facilities, Reach to Travel, The gravitational attraction, Travel Lifestyle and buying souvenirs. Can be built into the strategy pattern named “PRANS” to apply for a travels route in Pranburi to meet the needs of Thai tourist.
Description: การค้นคว้าอิสระ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559
Advisor(s): ชลวิช สุธัญญารักษ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2365
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
benyathip_thon.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback