DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2296

Title: กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความผูกพันภายในองค์กรของธนาคารอาคารสงเคราะห์
Other Titles: Communication strategy for organizational engagement at the Government Housing Bank
Authors: เจสัณห์ จุฑาภัทร คีตสิน
Keywords: รูปแบบการสื่อสาร
ความผูกพันต่อองค์กร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความผูกพันภายในองค์กรของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานของธนาคาร ณ สำนักงานใหญ่ จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ครอบคลุมข้อมูล 5 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความผูกพันภายในองค์กร ปัจจัยลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กร และระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย One-Way ANOVA และแบบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันในด้านอายุ ด้านสถานภาพสมรส และด้านรายได้ต่อเดือน มีระดับความผูกพันต่อองค์กรที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 และพนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ด้านเพศ ด้านระดับการศึกษา และด้านระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน มีระดับความผูกพันต่อองค์กรที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) ปัจจัยด้านลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก แปลผลได้ว่า การที่พนักงานมีปัจจัยด้านลักษณะงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พนักงานมีความผูกพันเพิ่มมากขึ้นด้วย 3) ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน มีความสัมพันธ์กันเชิงบวก แปลผลได้ว่า การที่พนักงานมีปัจจัยประสบการณ์ทำงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีความผูกพันเพิ่มมากขึ้น
The purpose of this research was to study the communication format for organizational engagement at the Government Housing Bank. The research was conducted using survey research method with 200 samples of the bank’s employees at its headquarters. The survey questionnaire was divided into 5 sections: (1) Personal data (2) Opinions on communication format for organizational engagement (3) Opinions on work characteristics (4) Opinions on work experience (5) Opinions on organizational relationship. Answers to the questionnaire were analyzed using Frequencies, Percentage, Mean, Standard Deviation, T-test, F-test (one-way ANOVA) and Pearson’s correlation co-efficient. Results of the Research: 1) Employees with different age, marital status and monthly income have different organizational engagement at statistical significance level of 0.05; while employees with different gender, education and work tenure have no different organizational engagement at statistical significance level of 0.05 2) Work characteristics statistically correlate with organizational engagement. Employees have higher organizational engagement if they have positive opinions on work characteristics. 3) Work experiences statistically correlate with organizational engagement. Employees have higher organizational engagement if they have positive opinions on work experience.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): พรพรหม ชมงาม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2296
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
jason_kits.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback