DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2178

Title: ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในการสร้างสรรค์ ของผู้ออกแบบเพื่อการแสดงตามกฎหมายลิขสิทธิ์
Other Titles: Moral right of theater designer
Authors: ธีรภัทร ลออเอี่ยม
Keywords: การคุ้มครองสิทธิในการสร้างสรรค์
ผู้ออกแบบเพื่อการแสดง
กฎหมายลิขสิทธิ์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ในประเทศไทยปัจจุบันการจัดเก็บค่าตอบแทนดำเนินการโดยภาคเอกชนภายหลังพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ประกาศใช้ โดยมีการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าตอบแทนขึ้น เช่น บริษัท โฟโนไรทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ดูแลสิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนของบริษัทผู้บันทึกเสียง บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลสิทธิด้านดนตรีกรรม บริษัทเหล่านี้ดำเนินการภายใต้นโยบายของตนเอง ไม่มีระบบการจัดเก็บที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน จากการศึกษาดังกล่าวในเบื้องต้นพบว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้างบางประการ 1) ว่าด้วยสิทธิของผู้ออกแบบการแสดง ในบทบัญญัติดังกล่าวได้ให้ความคุ้มครองแต่เฉพาะสิทธิในส่วนของนักแสดงที่ถูกกระทำละเมิดในลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้มีการบัญญัติครอบคลุมไปถึงสิทธิของผู้ออกแบบการแสดงซึ่งถือว่าผู้ออกแบบการแสดงเป็นผู้ทำ หรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์จึงถือว่าเป็นผู้สร้างสรรค์งานสร้างสรรค์อันควรได้รับความคุ้มครองถึงผลงานและสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ดังนั้น จึงควรที่จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของนักแสดงให้มีความครอบคลุม ถึงผู้ออกแบบการแสดง หรือให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกำหนดนโยบายควบคุมดูแล 2) ข้อบกพร่องในเรื่องของการกระทำละเมิดสิทธิของนักแสดง และการได้รับค่าตอบแทนจากการกระทำละเมิด พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติถึงสิทธิและการได้รับค่าตอบแทนของนักแสดงจากการกระทำละเมิด จากการนำสิ่งบันทึกการแสดงออกเผยแพร่โดยมีเจตนาทางการค้า หรือการนำสำเนาของงานแสดงออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งสิทธิต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิทธิของนักแสดงที่ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บัญญัติให้สิทธิ และให้ความคุ้มครองแก่นักแสดง แต่ไม่เป็นที่ปรากฏว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ได้บัญญัติถึงสิทธิและการคุ้มครองแก่ผู้ออกแบบการแสดงไว้ จึงส่งผลให้เกิดข้อบกพร่องทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิจากการกระทำละเมิด และการได้รับค่าตอบแทน ซึ่งล้วนเป็นสิทธิที่นักแสดงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้น จึงควรที่จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของนักแสดง และการได้รับค่าตอบแทน ให้ครอบคลุมไปถึงผู้ออกแบบการแสดงด้วยและการให้ภาครัฐเข้ามากำหนดนโยบาย 3) การกระทำที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของนักแสดงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้บัญญัติการกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของนักแสดงไว้ซึ่งนักแสดงต้องสูญเสียประโยชน์จากการกระทำอันเป็นการละเมิดนั้น โดยที่นักแสดงจะได้รับความคุ้มครองกรณีที่มีการกระทำละเมิดงานสร้างสรรค์ของนักแสดงไม่ว่าจะเป็นการลงโทษจำคุกหรือปรับผู้กระทำละเมิด การขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลที่กระทำละเมิดระงับหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการละเมิด และที่สำคัญคือการให้นักแสดงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด ซึ่งนักแสดงย่อมมีสิทธิได้รับค่าเสียหาย เมื่อเทียบเคียงระหว่างนักแสดงกับผู้ออกแบบการแสดงแล้วพบว่า ผู้ออกแบบการแสดงกฎหมายไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิในการได้รับค่าเสียหายเอาไว้กรณีเช่นนี้เมื่อนักแสดงถูกกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ หรือมีผู้นำงานแสดงออกเผยแพร่ทำให้เกิดสิทธิได้รับค่าเสียหาย ผู้ออกแบบการแสดงจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายหรือไม่ เพียงไร จึงเกิดปัญหาขึ้นในเรื่องของการเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่มาทำละเมิด ดังนั้น จึงควรที่จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของนักแสดง และการเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อที่จะเยียวยาความเสียหายให้ครอบคลุมไปถึงผู้ออกแบบการแสดง หรือมีการจัดให้ผู้ออกแบบการแสดงมีสิทธิร้องเรียนในเรื่องของค่าเสียหายที่ผู้ออกแบบการแสดงพึงมีสิทธิจะได้รับ ต่อภาครัฐเพื่อให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนในการคุ้มครองสิทธิของผู้ออกแบบการแสดง
In the current storage fees operated by the private sector, the Copyright Act was enacted in 2537 with the establishment of remuneration, such as enterprise storage company Phono writer (Thailand) Limited has the right to care. publicly, the company's recording of copyrighted music (Thailand), the musical rights. These companies operate under their own policies. There is no filing system at the same standard. The study found that in such. Copyright Act 2537, there are shortcomings in some respects. 1. Rights of the designer shows. The provision of such coverage, but only in the part of the actor acted in breach of copyright. Without a law covering the rights to the design of the show, which is designed to do a show. Or contributes to job creation, it is a creative producer should be protected under copyright law and the right to work. So it should not have amended the provisions of the law relating to the rights of performers to be covered. The design of the show or the government's involvement in policy direction. 2. Flaws in the act of violating the rights of performers. And receive compensation from the infringing acts. Copyright Act 2537 stipulates the rights and receive remuneration of actors from committing violations. Of the things he expresses published with commercial intent. Or copies of public expression. The rights these are the rights of performers. Copyright Act 2537 stipulates the right. And give protection to performers. But as it turns out that the Copyright Act.States' rights and protection to the design shown. As a result, defects in the law on the protection of the rights violated. And to receive compensation these are rights that performers are protected by law. So it should not have amended the provisions of the law relating to the rights of performers. And to receive compensation To cover the design and performance of the government to formulate policies. 3. An act of copyright infringement under the Copyright Act 2537, actors have constituted an act that constitutes a violation of the rights of performers, which performers have lost benefits from actions in violation of it. The actor will be protected if the creative work of the actor violated either imprisonment or a fine for violations. Asking the court to order the parties violated the suspension or omissions in violation. It is important that the actor is entitled to damages from the infringer. The actor will be entitled to compensation. When comparing between the actors and the designers who designed the show and found that the law does not prescribe the right to receive compensation out cases when actors performed piracy. Or a leader and expressed publish an entitlement to damages. The design of the show will be protected by law or not, just as it happens in a matter of a claim for damages from those violations. So it should not have amended the provisions of the law relating to the rights of performers. And claims to remedy damages to cover the design of the show. Or to provide designers with the right to express complaints about the damages that the designer should have the right to receive. The public sector to the public sector took part in the protection of the rights of the design.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): อัมภารัชฏ์ วิเศษสมิต
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2178
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
teerapat_laor.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback