DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1977

Title: ปัญหาและการบังคับใช้กฎหมายสิทธิบัตรยีนมนุษย์เพื่อการรักษา เปรียบเทียบระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย
Other Titles: Problems and enforcement of patent law for using human gene for treatment: A comparative study between the United States and Thailand
Authors: จุฑาทิพย์ วุฒิรณฤทธิ์
Keywords: กฎหมายสิทธิบัตรยีนมนุษย์เพื่อการรักษา
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศไทย
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายสิทธิบัตรยีนมนุษย์ เพื่อการรักษา โดยเปรียบเทียบระหว่างการบังคับใช้กฎหมายสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมายสิทธิบัตรของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้นวัตกรรมการรักษาด้วยยีนมนุษย์กำลังเป็นที่แพร่หลายอยู่ในระดับโลก ประเด็นเรื่อง 1) จริยธรรมในการวิจัยรักษาและการคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีชีวภาพในการรักษามนุษย์รวมถึงการให้ความคุ้มครองกฎหมายสิทธิบัตรมากเกิน กว่าควรจะเป็นซึ่งทำให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาอย่างไม่เท่าเทียมที่กำลังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ และ 2) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิทธิบัตรยีน และประเด็นยีนมนุษย์สามารถจดสิทธิบัตรได้หรือไม่ โดยผู้เขียนจะศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research) ได้แก่ คำพิพากษาศาลฎีกา หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร บทความ พระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 และกฎหมายสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา และข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อนำมาหาข้อสรุปและจาก การศึกษาพบว่า 1) ประเทศไทยยังไม่มีความจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมายด้านสิทธิบัตรเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิบัตรยีนและสิทธิบัตรในชิ้นส่วนของดีเอ็นเอมนุษย์ในประเทศไทย 2) ควรมีการปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตรให้มีความทันสมัยขึ้น ด้วยการปรับปรุงและเพิ่มคำจำกัดความด้านเทคโนโลยีชีวภาพ การสร้างคู่มืออธิบายเกี่ยวกับการประดิษฐ์เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อใช้ในการรักษาเพื่อให้ง่ายต่อการตีความของศาลและผู้ตรวจสอบสิทธิบัตร
The purpose of this independent study is to study and compare gene therapy for medical treatment laws between the USA and Thailand. This medical technique has been used widely in the world today. In this research, there are two major issues that are educated consisting of 1) the readiness of innovation law and medical ethic protection of biological technology invention including overwhelming protection of patent law conducing to limited access in medical treatment and 2) problems of gene patent law enforcement and human genes for treatment can be patented or not. Documentary Research methodology including Supreme Court decisions, books, newspapers, law journal, patent law between US Patent law and Thailand patent Act BE 2522 and information on international law was utilized to explore the conclusions. The results of the study found that 1) Thailand has no need to reform patent law due to the fact that gene patent and cDNA patent have not yet concluded as crucial issues in Thailand, 2) Thailand should update and add new definitions of the biological technologies and make biological technology invention instruction simultaneously in order to provide interpretation for judges and patent examiners in the future.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): วรรณวิภา พัวศิริ
จุมพล ภิญโญสินวัฒน์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1977
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
juthatip_vudh.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback