DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1968

Title: สัมพันธบทการเล่าเรื่องและปัจจัยการผลิตของละครโทรทัศน์รีเมค เรื่อง คู่กรรม
Other Titles: Narrative intertextuality and input factor of remake television drama, Koogam
Authors: รันติกาญ มันตลักษ์
Keywords: สัมพันธบท
ละครโทรทัศน์รีเมค
การเล่าเรื่อง
ปัจจัยการผลิตละครโทรทัศน์รีเมค
คู่กรรม
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาสัมพันธบทในการเล่าเรื่องของการผลิตละครคู่กรรมที่มีการผลิตซ้ำทั้ง 3 เวอร์ชั่น (พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2556) 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการผลิตละครซ้ำละครโทรทัศน์เรื่อง คู่กรรม ทั้ง 3 เวอร์ชั่น และ 3) เพื่อศึกษา กลยุทธ์สื่อสารการตลาดของละครเรื่อง คู่กรรม ทั้ง 3 เวอร์ชั่น โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาจากละครโทรทัศน์เรื่องคู่กรรม ทั้ง 3 เวอร์ชั่น โดยใช้แนวคิดการเล่าเรื่องเพื่อเปรียบเทียบลักษณะสัมพันธบท จากนั้นสัมภาษณ์ผู้กำกับละครโทรทัศน์และผู้เขียนบทรวม 3 คนและกลุ่มตัวอย่างผู้ชมละครโทรทัศน์เรื่องคู่กรรมทั้ง 3 เวอร์ชั่น จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะสัมพันธบทของละครโทรทัศน์เรื่องคู่กรรม ทั้ง 3 เวอร์ชั่น มีการคงเดิม ขยายความ ตัดทอน และดัดแปลงรายละเอียดของเรื่องตามองค์ประกอบการเล่าเรื่อง โดยคงเดิมองค์ประกอบหลักตามแนวคิดการเล่าเรื่อง มีการขยายความลักษณะตัวละคร เช่น การแสดงออกด้านดี ด้านร้ายให้ชัดเจน เพิ่มเติมตัวละครร้ายและความขัดแย้ง ในคู่กรรมเวอร์ชั่น พ.ศ. 2547 และมาถูกตัดทอนออกในคู่กรรมเวอร์ชั่น พ.ศ. 2556 ส่วนการดัดแปลงมีการดัดแปลงการเปิดเรื่องของคู่กรรมเวอร์ชั่น พ.ศ. 2547 2) ปัจจัยในการผลิตละครสร้างซ้ำ ได้แก่ ปัจจัยภายใน เรื่องของธุรกิจทางการตลาด ความชื่นชอบในบทประพันธ์ของผู้ผลิต และปัจจัยภายนอกคือ สภาพแวดล้อมและสภาพสังคมในช่วงเวลาที่มีการผลิตละครตามลำดับ 3) กลยุทธ์สื่อสารการตลาดของละครเรื่อง คู่กรรม ทั้ง 3 เวอร์ชั่น ไม่ได้มีการวางกลยุทธ์การใช้เครื่องมือทางการตลาดที่เด่นชัด จะเน้นการผลิตตามบทละครโทรทัศน์และเทคนิคเฉพาะของผู้ผลิต แต่ในเวอร์ชั่น 2556 จะมีการศึกษาพฤติกรรมผู้ชมว่ากำลังเสนอละครกับใคร ต้องพูดอย่างไรถึงจะไปให้ถึงใจคนดู จะให้น้ำหนักไปที่การใช้สื่อ โดยคู่กรรมเวอร์ชั่น พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2547 จะใช้สื่อเก่า ได้แก่ โทรทัศน์ หนังสือวารสาร ป้ายโฆษณา เป็นหลัก มีเฉพาะคู่กรรมเวอร์ชั่น พ.ศ. 2556 ที่มีการใช้สื่อใหม่ อย่างสื่ออินเทอร์เน็ต โซเชียลเน็ตเวิร์ดเข้ามาเพิ่มเติม เพราะพฤติกรรมผู้ชมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
The purpose of this research were 1) to analyze the narrative intertextuality of remake television drama, Koogam of three versions (1990, 2004, 2013), 2) to study the factors affecting the recreation of three versions, and 3) the forms of marketing communication of the three versions. The research was qualitative by analyzing three versions of television drama. The framework was narrative theory Analysis watch Koogam to compare the intertexuality. Next, the researcher interviewed directors and script writer, altogether three. Ten audience that watched three versions were also interviewed. The results showed that 1) the features of intertextuality were remainder, prolixity, abridgement and modification. The composition of remainder were the story line, main plot, conflict, remarkable features of the characters, main scenes, special symbols, and narrative mode. As for expanding, the increase of details in antagonists and issues of conflicts in version 2004. However, the expanding in version 2004 was cut down in version 2013. For adaptation, there was some changes of exposition in version 2004, 2) Regarding the factors of the remake were the factors of marketing business, the fondness of the author, and the circumstance and society in the period of the remake version respectively, 3) There was no distinct marketing communication plan for Koogam of the three versions. The dramas were mainly produced by the script, and the styles of producers. However, in version of 2013, Viewers’ behavior was examined and how to make them impressive, and more media were used. Old media was significantly applied with version 1990 and 2004, such as television, magazines, and billboard. However, Koogam version 2013 emphasized new media such as internet and social network.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ธรรญธร ปัญญโสภณ
พีรยา หาญพงศ์พันธุ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1968
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
rantikarn.munt.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback