DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1928

Title: การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อโซเชียลคอมเมิร์สผ่านเฟซบุ๊ค ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The use and gratification of social commerce via facebook of consumers in Bangkok area
Authors: กันยาวีร์ นิธิยานันท์
Keywords: การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ
โซเชียลคอมเมิร์ส
เฟซบุ๊ค
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อโซเชียล คอมเมิร์ส ผ่านสื่อเฟซบุ๊คของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่มี การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์สอย่างสม่ำเสมอ เช่น มีการตัดสินใจซื้อมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน เดือนละ 3 ครั้ง จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ส จำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ส และได้หยุดซื้อไปแล้วอย่างน้อย 3 เดือน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ด้านพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ กลุ่มตัวอย่าง มีระยะเวลาในการใช้โซเชียลคอมเมิร์สผ่านเฟซบุ๊ค ตั้งแต่ไม่เคยใช้ ถึงระยะเวลา 15 ปี โดยเหตุผลที่ ใช้เพราะมีความคิดเห็นว่า การใช้โซเชียลคอมเมิร์สผ่านเฟซบุ๊คมีความสะดวก รวดเร็ว เป็นช่องทางที่สามารถติดต่อได้ง่าย และคนส่วนใหญ่ใช้เฟซบุ๊ค ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ สามารถรับรู้ข่าวสารสังคมออนไลน์ ง่ายต่อการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างไกล เป็นรายได้เสริมระหว่างว่างจากงาน สามารถใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ ด้านการใช้ประโยชน์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการนำข้อเสนอแนะของผู้ใช้ การแนะนำผลิตภัณฑ์ และการแชร์ข้อมูลในโซเชียลคอมเมิร์สผ่านเฟซบุ๊คมาเพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้าและ/ หรือบริการ ซึ่งจะมีพฤติกรรมดังกล่าวเมื่อสินค้าและ/ หรือบริการนั้นเป็นสินค้าและ/ หรือบริการที่ตนเองมีความชื่นชอบ และเป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้เป็นข้อเสนอแนะ รวมทั้งเป็นข้อมูลที่มีส่วนทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อได้ง่ายขึ้น และด้านความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยรับชมโฆษณาของสินค้าและ/ หรือบริการในโซเชียลคอมเมิร์สผ่านเฟซบุ๊ค โดยจะมีพฤติกรรมดังกล่าวเมื่อมีโฆษณาของสินค้าและ/ หรือบริการที่ตนเองมีความสนใจ และมีความตั้งใจที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า
This research aimed to study the use and gratification of social commerce via Facebook. This study is from samples that purchase via social commerce regularly. For example, Person who have made decision for at least in the past 6 months, 3 times a month, for 10 samples, 10 samples who never purchase through social commerce, and 10 samples who stop purchasing for at least 3 months. The research found that in terms of media exposure behavior, samples have the time range of using so social commerce via Facebook since never used until 15 years. The main reason of using social commerce via Facebook because there are convenient, quick, easily to contact and most of the people using Facebook due to the easy access to information, communication via online between people who lives far away from each other. It can be the extra income when they free from work and also use to purchase product and/ or service. In terms of usage found that samples have adopting the recommendations of the referral and information sharing on social commerce via Facebook to be apart of purchase decision making. Especially when that product or service is in their interest and the referral information can be use as a suggestion and support their purchase decision making. In terms of gratification found that samples used to expose to the advertising of product and/ or service in the social commerce via Facebook. It is such behavior when advertising their products and/ or services they are interested and have intention to purchase.
Description: การค้นคว้าอิสระ (นศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1928
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
kanyavee_niti.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback