DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1866

Title: ผลกระทบจากภาคการผลิตและภาคการเงินต่อตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ
Other Titles: The Impacts of Economic Indicators in the Product Market and Financial Market
Authors: ณัฐชา บุญชื่น
Keywords: ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
อัตราการว่างงาน
ความเหลื่อมล้ำทางรายได้
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของภาคการเงินโดยเฉพาะตลาดทุนว่าส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจในระดับมหภาคผ่านตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อัตราการว่างงาน และสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำทางรายได้หรือไม่โดยการหาความ สัมพันธ์จากตัวแปรทางภาคการเงินโดยเฉพาะตลาดทุน ทั้งตัวแปรด้าน Financial และ Non-Financial ตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2014 รวม 25 ปี ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Panel Data Analysis อันประกอบด้วยวิธี Pooled OLS Regression วิธี Fixed Effect Regression Model (FEM) วิธี Random Effect Regression (REM) และทดสอบแบบจำลองด้วยวิธี Hausman Test ผลการ ศึกษาพบว่าว่า สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาล การส่งออกสินค้าและบริการ มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อจีดีพี มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด การลงทุน อัตราการเติบโตของประชากร เป็นปัจจัยที่กำหนดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะเดียวกันสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ การลงทุน มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด อัตราการเติบโตของประชากร อัตราการเข้าศึกษาของประชากร อัตราหมุนเวียนการซื้อขายหลักทรัพย์ การบริโภคสินค้าและบริการ เป็นปัจจัยที่กำหนดอัตราการว่างงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจาก นี้อัตราการเติบโตของประชากร อัตราหมุนเวียนการซื้อขายหลักทรัพย์ อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่กำหนดความเหลื่อมล้ำทางรายได้อย่างมีนัยสำคัญ
The objectives of this study are to analyze the impacts of financial sector especially capital market on gross domestic product, unemployment rate and income inequality by finding their relationships. Using both financial and non-financial data over the period of 1990 to 2014, total of 25 years, the study uses a panel analysis included Pooled OLS Regression, Fixed Effect Regression Model (FEM) and Random Effect Regression (REM). The results showed that bank nonperforming loan, general government final consumption expenditure, exports of goods and services, stocks total value traded, market capitalization, gross capital formation, and population growth exhibited a high significance in explaining gross domestic product. Meanwhile, bank nonperforming loan, gross capital formation, market capitalization, population growth, school enrollment, stocks turnover ratio, household final consumption expenditure were highly statistically significant on unemployment rate. Moreover, population growth, stocks turnover ratio and inflation were statistically significant on income inequality.
Description: การค้นคว้าอิสระ (วท.ม.)-สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558
Advisor(s): กาญจนา ส่งวัฒนา
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1866
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
natcha_bunc.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback