DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1772

Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กับปัจจัยทางเศรษฐกิจด้วยแบบจำลอง VAR
Other Titles: The Relations between ETRON Index and Economic Factors: VAR Model
Authors: ณัฐกิต การย์เกรียงไกร
Keywords: ดัชนีหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
มูลค่าการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีค่าเงินบาท
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สัดส่วนของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทยเกินร้อยละ 50 มาจากภาคการส่งออก โดยมีอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการส่งออกของประเทศ กอปรกับสภาพสังคม เทคโนโลยี และรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้หลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นหนึ่งในกลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กับปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยใช้แบบจำลอง VAR และวิเคราะห์ความผันผวนของดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Shock) ที่เกิดขึ้นกับตัวแปรที่สนใจ โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่าการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีค่าเงินบาท และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 รวมทั้งสิ้น 137 เดือน จากการทดสอบ Impulse Response Function พบว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Shock) ของดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 1 S.D. จะส่งผลให้ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับขึ้นรุนแรงในทันที ก่อนที่จะปรับตัวลดลงเข้าสู่ภาวะสมดุล โดยใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของตัวแปรอื่น ไม่ส่งผลต่อดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญ ในทำนองเดียวกันจากผลการทดสอบ Variance Decomposition พบว่า ความผันผวนของดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นั้นขึ้นอยู่กับความแปรปรวนของดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงเวลาก่อนหน้าในสัดส่วนที่สูงมาก ส่วนความแปรแปรวนจากตัวแปรอื่นๆ ส่งผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Export sector has been a major contribution, more than 50 percent, to Thailand’s GDP for over decades, and electronics sector is one of growing industries that provide a considerable income to the exports. With changing society and advanced technology, people’s preferences are shifting continuously toward electronics products, causing a high market competition and many new innovations. It also makes investors in securities market to pay more attention to electronics securities, which considered being a “growth stock”, due to higher rate of returns and low price per earnings ratio (P/E). The objective of this paper is to examine the relations between ETRON index and economic variables using VAR model. Do “shocks” to variables, such as exports of electronics sector, exchange rate and SET index, cause the fluctuation in the price of ETRON index? 137 time-series observations were collected monthly from January 2004 to May 2014 for using in this study. The results form Impulse Response Function approach showed that only 1 S.D. shock to ETRON index itself triggered an immediate increase in the price of ETRON index, and it took approximately 8 months until the effect died out, while shocks to other variables did not seem to matter significantly. The outcome also coincided with Variance Decomposition approach. The fluctuation in the price of ETRON index could be best explained by its own variation rather than by others’ variation.
Description: การค้นคว้าอิสระ (วท.ม.)--สาขาวิชาการเงิน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,2558
Advisor(s): สุมณี ศุภกรโกศัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1772
Appears in Collections:Independent Studies
Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Natakit.Karn.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback