DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1253

Title: ความหมายของคำว่า “บ้าน” ในบ้านพักคนชรา บ้านบางแค กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
Other Titles: Meaning of Home in Ban Bang Khae a case of Bangkhae home foundation
Authors: ปีรพจน์ เพชรมีศรี
Keywords: บ้าน
บ้านพักคนชรา
บ้านบางแค
ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคของผู้สูงอายุทำให้เกิดปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจำนวนมากในบ้านของตนเอง บ้านพักคนชราจึงมีบทบาทในการรองรับผู้สูงอายุมากขึ้น บ้านพักคนชราที่เหมาะสมควรมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ดีและอยู่แล้วมีความสุข ในงานวิจัยฉบับนี้มีวัต56ประสงค์ในการศึกษาหาความหมายของคำว่า “บ้าน” ทั้งหมด 3 ประเด็นคือ 1) เพื่อศึกษาหาความเป็น “บ้าน” ของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค 2) เพื่อศึกษาวิธีการสร้างความเป็น “บ้าน”ของผู้สูงอายุภายในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค และ 3) เสนอแนะความหมายของคำว่าบ้านในมิติทางด้านจิตใจเพื่อเป็นข้อพิจารณาประกอบการออกแบบภายในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกของผู้สูงอายุที่มีต่อที่บ้านบางแค และวิธีการของการสร้างความเป็นบ้านของผู้สูงอายุเอง งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลผ่านทางการสัมภาษณ์ การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้อาศัย และสังเกตกลุ่มตัวอย่างจำนวน 17 คน ภายใต้กรอบของแนวความคิดของปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการสร้างความหมายของศูนย์ฯทั้งหมดใน 3 ปัจจัย คือ 1) ความปลอดภัย 2) ความเป็นส่วนตัว 3) การมีปฏิสัมพันธ์ พบว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค สร้างขึ้นมีการส่งผลต่อความรู้สึกของผู้สูงอายุโดยทั้ง 3 ประเด็นมีความเชื่อมโยงและส่งผลต่อกัน เช่น หอพักที่มีความเป็นส่วนตัวมากและปลอดภัยเมื่ออยู่ในระดับของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค แต่อาจจะไม่ปลอดภัยในระดับพื้นที่ส่วนนอนเพราะผู้สูงอายุอาศัยอยู่เพียงลำพังอยู่ห่างจากสายตาคนอื่น หรือผู้สูงอายุที่นอนอยู่อาคารนอนรวมอาจจะมีความเป็นส่วนตัวที่น้อยแต่มีความรู้สึกปลอดภัยจิตใจเพราะมีเพื่อนร่วมห้องช่วยดูแลตนเวลาเจ็บป่วยและมีปฏิสัมพันธ์ที่มากกว่าหอพักหรือบ้านบังกะโล หรือการพยายามใช้กิจกรรมที่สะท้อนถึงความเป็นบ้านในครอบครัวแต่ไม่สามารถใช้ได้กับบ้านพักคนชรา เช่น การรับประทานอาหารร่วมกันก็อาจจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมเพราะทำให้เกิดการทะเลาะกันมากกว่าที่จะกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี จะเห็นว่าความแตกต่างกันของปัจจัยในแต่ละพื้นที่ใช้สอยส่งผลต่อความรู้สึกของความหมายของคำว่า “บ้าน” ของผู้สูงอายุที่ต่างกัน ส่วนวิธีการที่ผู้สูงอายุสร้างความเป็นบ้านของตนเองนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล ต้องอาศัยความเข้าใจและความยืดหยุ่นของกฎเกณฑ์บ้างในบางครั้ง เพื่อผู้สูงอายุสามารถควบคุมและเลือกกิจกรรมหรือการใช้ชีวิตของตนเองภายในอาณาเขตของศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค ซึ่งมีความสำคัญคล้ายกับการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสมแต่เป็นการสร้างพื้นที่เหมาะสมของตนเองเพื่อนตอบ สนองความต้องการของตน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การออกแบบอาจจะต้องให้ความสนใจกับความรู้สึกของผู้สูงอายุและการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพไปด้วย อย่างไรก็ความหมายอาจจะมีการเปลี่ยน แปลงไปในแต่ละยุคสมัยเพราะสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจจะเกิดความต้องการอื่น ๆ ที่เพิ่มเข้ามาจึงต้องทำการศึกษาในประเด็นนี้ต่อไปในอนาคต ในท้ายที่สุดแล้วอาจจะไม่มีสถานที่ใดที่จะสมบูรณ์ที่สุดเท่ากับ “บ้าน” ของตนเอง
Since Thailand start to concern about the elderly abandonment problems in their own home, therefore nursing home has become very important role in the society. It should have an appropriate physical environment and social environment to respond usage and feeling of the elderly. The purpose of this research has three aspects: 1) study to find the key factor in defining the meaning of the word home from the center. 2) find out how the elderly in the meaning of home in “Banbangkhea Social Welfare Development Center for Older Person” a case study of this research to reflect residents’ feelings and attitudes. And 3) propose the definition of a home in the psychological dimension to the design considerations. Methods for data collection are interviews and observation. Furthermore joining their activities led to information. This study found three main meaning of “Home” which can be divided in three aspects: 1) Security 2) Privacy 3) Social interactions. These three issues are interconnected and affect each other, for instance Banbangkhea was a good design for security of physical environment, a bangalow or dorm has a lot of privacy because of living alone in their room. Elderly who live shared room will lack of privacy but they can interact together and feel safe with their roommate to assist when unexpected accident which may occur Or attempt to find activities that reflect the family home, but unable work with the nursing home, such as eating together, it probably is not the right way because the resulting scrum instead causes a great relationship. Each person has a different approach, depending on the needs of the individual. As a result, the Centre needs to have flexibility to allow elderly control their activities in the center. Ban-bang-khea was designed for the elderly should concern feeling of "Home" both associated with physical and social environment. However, the meaning of home might be changed in each period. Finally, there may not be any place to call “Home”, except one’s own home.
Description: วิทยานิพนธ(ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการออกแบบภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร
ชุมพร มูรพันธุ์
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1253
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
peerapoj_pech.pdf11.56 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback