DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1217

Title: แนวทางการออกแบบสิ่งชี้แนะในสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุด เพื่อการรับรู้สำหรับนักเรียนสายตาเลือนราง กรณีศึกษา: นักเรียนสายตาเลือนราง โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: A study of environmental cues in a library for low-vision students: A case of The southern school for blind, Surat Thani
Authors: พลอยพันธน์ พฤทธิรัตนกุล
Keywords: การออกแบบ
สภาพแวดล้อมภายใน
ห้องสมุด
สายตาเลือนราง
โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงลักษณะของสิ่งชี้แนะในสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดซึ่งประกอบด้วย สี ความต่างสี ขนาด ระยะห่าง เวลา และแสงสว่าง ที่มีผลต่อพฤติกรรม กิจกรรม และความต้องการในการใช้ห้องสมุดของนักเรียนสายตาเลือนราง เพื่อหาผลสรุปของงานวิจัยและเสนอแนะแนวทางการออกแบบสิ่งชี้แนะในสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุด ที่เหมาะสมสำหรับการรับรู้ของนักเรียนสายตาเลือนราง โดยการวิจัยได้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่มีสายตาเลือนรางและแนวคิดด้านสิ่งชี้แนะทางสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการรับรู้ในการมองเห็นของผู้ที่มีสายตาเลือนราง นำมาออกแบบเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลด้านประชากร พฤติกรรม กิจกรรมและความต้องการด้านอื่น ๆ ที่มีในห้องสมุด แผ่นป้ายทดสอบสีจำนวน 8 สี แผ่นป้ายทดสอบความต่างสี จำนวน 32 คู่สี และแบบทดสอบการอ่าน 4 แบบภายใต้สีของแสงสว่าง 4 ประเภท โดยแผ่นป้ายและแบบทดสอบการอ่านมีการกำหนดขนาดตัวอักษร แบบตัวอักษรและระยะห่างในการมองเห็น เพื่อทดสอบความชัดเจนของการมองเห็นกับกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัย คือ นักเรียนสายตาเลือนราง ที่เข้าใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และทดสอบ แสดงผลในรูปแบบค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ซึ่งพบว่า การอ่านหนังสือและค้นหาหนังสือเป็นกิจกรรมที่นักเรียนสายตาเลือนรางใช้บริการในห้องสมุดมากที่สุด ซึ่งมีพฤติกรรมในการค้นหาหนังสือแบบสุ่มหยิบจากชั้นวางหนังสือด้วยตนเอง เนื่องจากพบปัญหาเกี่ยวกับป้ายหมวดหมู่ที่มีตัวอักษรขนาดเล็กและความต่างสีบนป้ายไม่ชัดเจน ทำให้ต้องใช้เวลาในการค้นหานานมากขึ้น จึงเป็นหนึ่งในความต้องการของนักเรียนสายตาเลือนรางด้านตัวอักษรบนป้ายหมวดหมู่ที่มีขนาดใหญ่ ความต่างสีบนป้ายที่ทำให้สังเกตง่ายขึ้น และในส่วนของลักษณะสิ่งชี้แนะสภาพแวดล้อมนั้น ความชัดเจนในการมองเห็นสี ความต่างสี และสีของแสงสว่าง ของนักเรียนสายตาเลือนรางในการทดสอบแต่ละระยะห่างที่กำหนด จะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก โดยในระยะห่างไม่เกิน 1 เมตร สีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นลำดับแรก คือ สีเหลือง คู่ความต่างสีที่เหมาะสมสำหรับการออกแบบป้ายหมวดหมู่และป้ายสัญลักษณ์ คือ ตัวอักษรสีเหลืองบนพื้นหลังสีน้ำเงิน และคู่ความต่างสีที่เหมาะสำหรับเนื้อหาในหนังสือที่มีระยะห่างของการอ่านไม่เกิน 40 เซนติเมตร คือ ตัวอักษรสีดำบนพื้นหลังสีขาว นอกจากนี้สีของแสงสว่างซึ่งเป็นสิ่งชี้แนะที่ช่วยในการทำกิจกรรมและช่วยให้มองเห็นวัตถุต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ที่นักเรียนสายตาเลือนรางใช้เวลาในการอ่านแบบทดสอบได้น้อยที่สุด คือ แสงสว่างจากหลอดไฟที่ให้สีของแสงสว่างประเภท Cool White เนื่องจากให้สีของแสงสว่างที่เป็นกลาง ไม่ทำให้เกิดแสงบาดตา และให้แสงที่นวลตาที่สุดเมื่อเทียบกับสีของแสงสว่างทั้ง 4 ประเภท งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อทราบถึงลักษณะของสิ่งชี้แนะในสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดที่เหมาะสมต่อการรับรู้สำหรับนักเรียนสายตาเลือนราง ซึ่งจากข้อสรุปของงานวิจัยสามารถนำมาเป็นประโยชน์และแนวทางในการออกแบบสิ่งชี้แนะในสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดของโรงเรียนหรือหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับนักเรียนสายตาเลือนรางได้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการใช้งานและการทำกิจกรรมของนักเรียนสายตาเลือนรางได้มากที่สุด
The quasi-experimental research investigates environmental cues in a school library, taking into account colors, sizes, spacing and lighting illumination affects the behavior, activities and visual needs of low-vision students. It aims to propose a guideline in designing those cues such as signage and lighting illumination. This study began by observing spatial behaviors and activities of the low-visual impaired students. It also used structured questionnaire to investigate users’ visual struggles and needs in the existing physical environments. The information includes eight color testing plates, thirty-two color contrast testing plates and four text reading testing plates. The information from interview and test were reported in a form of percentages and averages. The results revealed that reading and searching books are the activities that most of the students often do. Such behavior is searching for a book randomly picked from the shelves by themselves. This activity takes longer time because of the small size of alphabets and unclear colors on the categorized labels. So there were students' needs for larger size of the letters on labels as well as a clearer contrast. Yellow is the clearest color for distance less than one meter. A suitable contrast colors for designing labels and symbolic signs are yellow letters on a blue background. While black texts on white background is easy to read for content of the books with a reading distance up to forty centimeters. In addition, color of light is the key environmental cues for clearer vision. Students can complete reading test with the least time when using Cool White light. In this regards, this light color is neutral. It does not cause any glary light when compared to the other three types. Those results found in this research are useful in guiding the design of environmental cues in a context of provincial school libraries for low-vision impaired students.
Description: วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)--สาขาวิชาการบริหารจัดการออกแบบภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): อันธิกา สวัสดิ์ศรี
ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1217
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ploypan_prut.pdf16.32 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback