DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1209

Title: การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นวัยรุ่นในเนื้อเพลงไทยสากลค่ายกามิกาเซ่ (Kamikaze)
Other Titles: Communicating the identity of teenagers through Kamikaze label
Authors: ปริยทยา วงศ์กำแหงหาญ
Keywords: วัยรุ่น
อัตลักษณ์
มุมมองการใช้ชีวิต
มุมมองความรัก
เทคโนโลยีการสื่อสาร
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของวัยรุ่นในด้านมุมมองการใช้ชีวิต 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของวัยรุ่นในด้านมุมมองความรัก ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) จากเนื้อเพลงไทยสากลค่ายกามิกาเซ่ในช่วงปี พ.ศ. 2550-2557 จานวน 40 เพลง ซึ่งเป็นเพลงที่มีมิวสิควีดีโอ (Music Video) โดยใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์จากทฤษฎีสัญวิทยา (Semiology) ผลจากการศึกษาสามารถแบ่งแยกเป็นประเด็นตามมุมองการใช้ชีวิตได้ 3 ประเด็น ได้แก่ ความกล้าที่จะลองทาอย่างสุดความสามารถ ความกล้าที่จะแตกต่าง และความกล้าที่จะขัดขืนเมื่อถูกบังคับมากเกินไป ส่วนมุมมองความรักสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็น นั่นคือการต่อสู้เพื่อสมหวังในความรัก และการต่อสู้เมื่อผิดหวังในความรัก โดยแบ่งออกเป็นประเด็นย่อยได้ 4 ประเด็น นั่นคือ การต่อสู้เมื่อทนพฤติกรรมของอีกฝ่ายไม่ได้ การต่อสู้เมื่ออีกฝ่ายทิ้งไป การต่อสู้หลังจากแยกทางกัน และการต่อสู้หลังจากเคยต้องการความรักจากทุกคน โดยทั้งหมดนี้สามารถสรุปอัตลักษณ์ความเป็นวัยรุ่นได้จากการกล่าวถึงความคิดและพฤติกรรมของวัยรุ่นในด้านความจาเป็นของชีวิตที่ต้องสู้เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่มีความศรัทธาในพลังของตนเอง เพราะโอกาสของความสาเร็จทั้งในด้านมุมมองการดาเนินชีวิตและความรักนั้นอยู่ที่ตนเพียงผู้เดียวที่เป็นผู้สร้าง อีกทั้งยังการต่อสู้กับสิ่งรอบตัวที่ตนเห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะวัยรุ่นมีความซื่อสัตย์ต่อความคิดของตนเอง จึงเป็นผลทาให้วัยรุ่นแสดงพฤติกรรมไปตามสิ่งที่ตนเห็นควร และไม่สามารถอดทนยอมรับกับสิ่งที่ไม่ยุติธรรมหรือไม่ถูกต้องได้ นอกจากนั้นแล้วยังพบข้อสรุปว่าเทคโนโลยีการสื่อสารต่าง ๆ ในปัจจุบันได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมุมมองการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในส่วนที่เป็นประเด็นเพิ่มเติมจากประเด็นเดิมที่มีอยู่ และต่อมุมมองความรักในด้านการเป็นช่องทางการสื่อสารที่ถูกใช้ควบคู่ไปกับวิธีการสื่อสารในรูปแบบเดิม
The objective of this qualitative research is 1) to study the identity of teenagers regarding the aspect of way of life 2) to study the identity of teenagers regarding the aspect of love. This research uses textual analysis as the research methodology and focuses on 40 Thai pop songs in 2007-2014 under Kamikaze label, all of which are also presented in Music Videos, along with Semiology as the theory. The result concerning the aspect of way of life is divided into 3 parts, the courage of doing one’s best, the courage of being different, and the courage of refusing when forced. The result concerning the aspect of love is divided into 2 parts: the fight to win love and the fight when being disappointed by love, which can be divided into 4 parts: the fight when not being able to stand the other’s behavior, the fight when being left, the fight after the break-up, and the fight after having wanted to be in interest. These results show the identity of teenagers that they strongly believe none but they must create their own chance in life and love. Moreover, they are honest with their thoughts, so they do what they think should be done and will not stand unfairness and wrongness. In addition, current communication technology also plays a role in teenagers’ way of life more than it used to. It also affects their aspect of love because it offers new ways to communicate their love along with the traditional ones.
Description: การคนควาอิสระ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557
Advisor(s): อริชัย อรรคอุดม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1209
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
priyathaya_vong.pdf4.52 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback