DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Independent Studies - Master >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1075

Title: แนวทางในการคุ้มครองความลับทางการค้าในกรณีการได้มาหรือเข้าถึงโดยมิชอบ
Other Titles: Protection of Trade Secrets against unlawful acquisition or access
Authors: สิริวิช สุรนิวงศ์
Keywords: ความลับทางการค้า
การคุ้มครองความลับทางการค้าในสหภาพยุโรป
การคุ้มครองความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาถึงหลักในการให้ความคุ้มครองความลับทางการค้าเมื่อมีการละเมิดความลับทางการค้าเกิดขึ้นจากการใช้และเปิดเผยข้อมูลโดยมิชอบ เพื่อหาแนวทางในการคุ้มครองความลับทางการค้าที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่เจ้าของความลับทางการค้า และเพื่อแสดงให้เห็นถึงปัญหาของความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ที่ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ของการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าให้ครอบคลุมกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น กรณีเมื่อลูกจ้างได้ลาออกจากที่หนึ่ง และได้นำความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ ไปใช้อีกที่หนึ่ง เป็นต้น จากการศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ ตำราวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ และวารสารนิติศาสตร์ พบว่าแม้พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 จะกำหนดให้การกระทำที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกันให้หมายความรวมถึงการผิดสัญญา การละเมิดหรือการกระทำในประการที่เป็นการจูงใจให้ละเมิดความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน การติดสินบน การข่มขู่ การฉ้อโกง การลักทรัพย์ การรับของโจร หรือการจารกรรมโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ วิธีการอื่นใดก็ตาม แต่การกระทำที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกันก็ต้องอยู่ภายใต้การกระทำที่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเพียง 3 กรณี ได้แก่ การกระทำที่เป็นการเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของความลับทางการค้าเท่านั้น ดังนั้น หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างซึ่งมีความรู้ความชำนาญได้ออกจากงานเดิมและได้ไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งที่มีลักษณะคล้ายกับงานเดิม โดยได้นำความรู้ความชำนาญติดตัวไปด้วย จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 เนื่องจากการนำความรู้ความชำนาญติดตัวไปใช้กับที่ทำงานใหม่ มิใช่การเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้า จึงได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยกำหนดให้เพิ่มคำว่า “ข้อมูลที่เป็นความลับ”ให้ชัดเจนเป็นเอกเทศ กล่าวคือ “ข้อมูลที่เป็นความลับ หมายความรวมถึง สูตรต่าง ๆ (Formulas) กรรมวิธีหรือกระบวนการในการผลิต (Processes) วิธีการและเทคนิค (Methods and Techniques (Know - How) แผนการ การออกแบบและแบบ (Plans Designs and Patterns) และบัญชีรายชื่อลูกค้า (Customer Lists)”เป็นต้น และควรเพิ่มคำว่า“ละเมิดความลับทางการค้า” ไว้ในส่วนของบทนิยามศัพท์โดยให้หมายความรวมถึง การสำเนาเอกสารใดหรือไฟล์อิเล็กทรอนิกส์การขโมย การให้สินบน การหลอกลวง การจูงใจเพื่อให้ละเมิดข้อตกลงการรักษาความลับหรือหน้าที่อื่น ๆ ในการรักษาความลับและการดำเนินการอื่นใดที่เป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน อันจะเป็นแรงจูงใจให้กับผู้คิดค้นข้อมูลที่มีคุณค่าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
This study aimed to review the guidelines for protecting the victims from an unauthorized access and disclosure of trade secrets or confidential information in order to identify the gaps in Thai law: Provisions of Trade Secret Act 2545. that has not mentioned about this issue at the present. Also, this study aimed to identify the proper standards that should be included in Thai laws in the future. This study used the document review as a main method by reviewing various International agreements, International laws, Thai laws, Academic research, Text Book, Thesis, and journal of laws. The results showed that Trade Secret Act 2545. has determined the patterns of unauthorized access and disclosure of trade secrets in terms of the violation of agreements, breaking the promises, bribery, intimidation, fraud, burglary, receiving stolen goods, and espionage through electronic channels or others. However, Trade Secret Act 2545. did not describe the guideline for protecting the owners of confidential information who have revealed the secret of the business to their employees, but their employees resigned in order to work for the other companies. Therefore, this study recommends the standards to fill this gap by adding the definition of “confidential information or trade secrets” as all confidential information including formulas, process, methods and process (know-how), plans designs and patterns, and customer lists. Moreover, the word ‘pattern of unauthorized access and disclosure’ should be included in Glossary by describing as all patterns of action including copying, stolen, bribery, fraud, and tricks which will cause an unauthorized access and disclosure of confidential information or trade secrets.
Description: การค้นคว้าอิสระ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2556
Advisor(s): วรรณวิภา พัวศิริ
วิชัย อริยะนันทกะ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1075
Appears in Collections:Independent Studies - Master

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Siriwich_sura.pdf10.32 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback