DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Fine and Applied Arts >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/745

Title: การจัดการอาคารสำนักงานเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน กรณีศึกษาอาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
Other Titles: Management of office building for energy conversation a case study of Dr.Jaroen Kantawong Building, Bangkok University City Campus
Authors: พรเทพ พินัยนิติศาสตร์
Keywords: การอนุรักษ์พลังงาน
อาคารสำนักงาน
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษานี้เป็นการศึกษาการใช้พลังงานในอาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ซึ่งเป็นอาคารประเภทสำนักงาน และเป็นอาคารสถานศึกษา โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นอาคารสูง 16 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยรวม 65,700 ตารางเมตร เวลาทำการของอาคาร วันจันทร์-วันอาทิตย์ เวลา 07.00-21.00 น. การศึกษาจะมุ่งเน้นที่ระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อหาแนวทางในการลดการใช้พลังงานในอาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ลง โดยทำการศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ ของอาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ ให้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น ข้อมูลการใช้พลังงานเชิงปริมาณและค่าใช้จ่าย โดยจัดทำเป็นตารางการใช้พลังงานเพื่อดูแนวโน้มการใช้พลังงาน การวิเคราะห์หามาตรการในการอนุรักษ์พลังานในระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เพื่อหาแนวทางในการลดการใช้พลังงานในอาคาร และวิเคราะห์หาระยะทางคืนทุนทุกมาตรการที่ได้กำหนด ผลสรุปการศึกษาการจัดการพลังงานในอาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์ มีมาตรการอนุรักษ์พลังงานในระบบปรับอากาศดังนี้ 1) การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 1.1) การลดชั่วโมงการทำงานเครื่องทำน้ำเย็น 1.2) ลดชั่วโมงการทำงานปั๊มน้ำและหอผึ่งเย็น 1.3) การลดชั่วโมงการทำงานเครื่องส่งลมเย็น 1.4) การปรับตั้งค่าอุณหภูมิน้ำเย็นของเครื่องทำน้ำเย็น 1.5) การปรับตั้งค่าอุณหภูมิภายในพื้นที่ปรับอากาศให้เหมาะสม 1.6) การบำรุงรักษาหอผึ่งเย็น รวมผลประหยัดที่ได้ในระบบปรับอากาศ พลังงานไฟฟ้า 204,684 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง/ปี คิดเป็นเงิน 466,494 บาท/ปี และมีมาตรการอนุรักษ์พลังงานในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ดังนี้ 1) การใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 1.1) การปิดไฟแสงสว่างช่วงพักกลางวันในส่วนสำนักงาน 1.2) การลดชั่วโมงการเปิดไฟแสงสว่าง 1.3) การปิดไฟแสงว่างในพื้นที่ที่มีแสงสว่างจากธรรมชาติเพียงพอ 2) การปรับปรุงและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน 2.1) การติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิด T5 แทนชนิด T8 รวมผลประหยัดที่ได้ในระบบไฟฟ้าแสงสว่าง พลังงานไฟฟ้า 212,063 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง/ปี คิดเป็นเงิน 740,849 บาท/ปี รวมผลประหยัดที่ได้ในระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่างทั้งสิ้น พลังงานไฟฟ้า 416,747 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง/ปี คิดเป็นเงิน 1,207,343 บาท/ปี
This objective of this study is to the energy consumption in the Dr. Charoen Kanthawong Building at Bangkok University, Kluey Nam Thai Branch, which is used as an office and for education. The 16-storey-building has a utility space area 65,700 sq.m. and was officially inaugurated on April 21, 2005. Its official hours are 07.00-21.00 from Monday-Sunday. The study focuses on the air-conditioning and lighting system to find solutions for saving energy consumption. In Dr. Charoen Kanthawong Building by studying comprehensive information of the building such as quantitative data of energy consumption and expenses. The data is prepared in a table of energy consumption in order to study the trend and analysis of energy consumption in order to find measures and solutions for energy saving in air conditioning system and lighting system in the building and to fine turnover period for all stipulated measures. The findings of the study related to energy management in the Dr. Charoen Kanthawong Building suggest measures for energy saving in air-conditioning system as follows: 1. Effective usage 1.1 Decrease working hours of water dispenser; 1.2 Decrease working hours of water pump and cooling tower; 1.3 Decrease working hours of air handling unit; 1.4 Change setting of cool water temperature of water dispenser; 1.5 Set appropriate temperature in the air conditioned area; 1.6 Maintenance of cooling tower. From the above measures in the air conditioning system we can save 204,684 kWh per annum amounting to 466,494 baht per annum. Measures for energy saving in lighting system are as follows: From the above measures, in lighting system we can save 212,063 kWh per annum amounting to 740,849 baht per annum. We, therefore, can save 416,747 kWh per annum in air conditioning system and lighting system amounting to 1,207,343 baht per annum.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554
Subjects: อาคาร--การอนุรักษ์พลังงาน--ไทย--วิจัย
การอนุรักษ์พลังงาน--ไทย--วิจัย
สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน--ไทย--วิจัย
Advisor(s): ภิรมย์ แจ่มใส
จันทนี เพชรานนท์
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/745
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
porntep_pinn.pdf13.88 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback