DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Cluster of New Media & Design >
School of Law >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/719

Title: ผลกระทบของการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีต่อการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม
Other Titles: The implications of the protection of technological measures for the fair use of copyrighted works
Authors: กฤตภาส ตั้งสมบูรณ์
Keywords: การคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยี
ลิขสิทธิ์
ผลกระทบของการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยี
การละเมิดลิขสิทธิ์
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันได้ทำให้ข้อมูลต่างๆ ถูกบันทึก อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น การจัดเก็บข้อมูลในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มี ประโยชน์อย่างยิ่งเนื่องจากใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยและสามารถทำซ้ำ ดัดแปลง หรือถ่ายโอน ข้อมูลได้โดยง่าย แต่ความเจริฐก้างหน้าทางเทคโนโลยีเช่นนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาการละเมิด ลิขสิทธิ์ด้วยเช่นกัน เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์ของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำได้โดยสะดวกและคุณภาพของข้อมูลก็ไม่แตกต่างไปจากงาน ต้นฉบับแต่อย่างใด จากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะเช่นนี้ จึงมีความพยายามที่จะสร้างอุปกรณ์หรือ เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในการป้องการการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือที่เรียกว่า “มาตรการ ทางเทคโนโลยี” (Technological Protection Measures : TPM) การใช้มาตรการทางเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้รับความนิยมจากเจ้าของลิขสิทธิ์มากขึ้น ตามลำดับเนื่องจากมาตรการทางเทคโนโลยีสามารถป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงข้อมูล อันมีลิขสิทธิ์โดยที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ให้ความยินยอมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่มาตรการทางเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการละเมิด ลิขสิทธิ์ มาตรการเช่นนี้กลับก่อให้เกิดปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลอันมีลิขสิทธิ์นั้น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายต้องถูกจำกัดลงไปจากการใช้ มาตรการทางเทคโนโลยีเนื่องจากผู้ใช้งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นไม่สามารถเข้าถึงงานนั้นได้หรือไม่ สามารถใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์ แม้การใช้งานนั้นจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม จากการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศฉบับต่าง ๆ ที่ให้ความคุ้มครองมาตรการทาง เทคโนโลยี ได้แก่ กฎหมาย WCT และ WPPT ขององค์การทรัพย็สินทางปัญญาโลก กฎหมาย EU-Directive ของสหภาพยุโรป กฎหมาย DMCA 1998 ของประเทศสหรัฐอเมริกา และกฎหมายต่างประเทศที่อยู่ในภูมิภาคยุโรปและเอเซียรวมถึงร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ของประเทศไทย ตลอดจนคดีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศทำให้ทราบว่า แม้มาตราการทางเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเจ้าของลิขสิทธิ์ในการป้องกันการละเมิด ลิขสิทธิ์แต่ในขณะเดียวกันมาตรการทางเทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้สร้างอุปสรรค์ต่อสาธารณชนใน การเข้าถึงและใช้งานสร้างสรรค์โดยชอบธรรม (Fair Use) และยิ่งไปกว่านั้นในทางตรงกันข้าม แล้วกลับทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถหาประโยชน์จากการใช้มาตรการทางเทคโนโลยีไปในทาง มิชอบอีกด้วย จากการศึกษานี้ ผู้วิจัยพบว่าการให้ความคุ้มครองทางกฎหมายแก่มาตรการทาง เทคโนโลยีอย่างไม่มีข้อจำกัดย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอให้มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่มาตรการทางเทคโนโลยีใน ลักษณะที่สาธารณชนสามารถนำงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นไปใช้ได้ตราบเท่าที่ไม่เป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์เพื่อให้เป็นไปตามหลักการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม และได้เสนอให้มีแนว ทางการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการปกป้องเจ้าของลิขสิทธิ์จากการ ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถคุ้มครองสิทธิของสาธารณชนในการใช้งานอันมี ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมต่อไปได้อย่างแท้จริง
With the advancement of information technology, data are increasingly preserved in electronic form. Electronically stored information has been proved to be useful in term of data duplication, information transfer, and storage space that is capable of storing large amount of data. Notwithstanding its advantages, the problem of copyright infringement related to such technologies is inevitable. Due to the growth of new technology it is possible to use such technology to create derivative works. In this event, not only does it offer convenient path of reproduction, but also allow the copied works to retain the same quality as the original ones. Recognizing a number of copyright infringement issues, the Technological Protection Measures (TPM) has introduced to solve the ongoing problems. Among the copyright owners, the use of TPM as a toll to prevent copyright infringement has gradually increased since it been able to effectively prevent the reproduction or unauthorized access to copyrighted works. While TPM is an effective mechanism to prevent copyright infringement, it also create problems in term of accessing copyrighted works. Especially, TPM does not accommodate legal uses of protected works. It has undermined the promotion of high and sustainable level of knowledge development. The users are technically blocked away from legal uses of or accessing valuable copyrighted works without authorization by the copyright owner. Throughout the study of the international laws, laws of other countries and practices related to the legal protections and TPM which include WCT WPPT of the World Intellectual Property Organization, EU-Directive of the European Union; US copyright law, the laws in the Asian countries, the copyrighted cases, and Thai law, it could be said that TPM has negative effect on the public in term of the “Fair use” of copyrighted works. It would also provide opportunities for the copyright owners to seek undue benefit by using TPM. Foremost, the results of this research found the effects of TPM and corresponding legislation on a fair use provision. Therefore, this thesis proposes that the legal protection of TPM should not have an impact on the legitimate access to copyrighted works by the public. In addition, it is suggested that the law pertaining to TPM should be enforced in a way that maintains a balance between such protection of the copyright owners’ interest and the public interest.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2552
Subjects: ลิขสิทธิ์--ไทย--วิจัย
การใช้งานโดยธรรม--ไทย--วิจัย
การละเมิดลิขสิทธิ์--ไทย--วิจัย
ลิขสิทธิ์กับการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์--ไทย--วิจัย
การคุ้มครองซอฟต์แวร์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--วิจัย
ลิขสิทธิ์--วิจัย
การใช้งานโดยธรรม--วิจัย
การละเมิดลิขสิทธิ์--วิจัย
ลิขสิทธิ์กับการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์--วิจัย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550--วิจัย
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
URI: http://dspace2.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/719
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Krittapart_tung.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback