DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4686

Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายของ Evergreen Patent ภายใต้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร
Other Titles: Legal problems and obstacles of evergreen patent under patent act
Authors: วิไลลักษณ์ ไกรลาศ
Keywords: สิทธิบัตร
สิทธิบัตรยา
สิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุ
Evergreen patent
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: สิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ผู้ประดิษฐ์ใช้เพื่อเพิ่มอายุสิทธิบัตรหรือขยายระยะเวลาของการคุ้มครองสิทธิบัตร โดยการนำการประดิษฐ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรที่ใกล้หมดระยะเวลาการคุ้มครองแล้วมาปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพียงเล็กน้อยแต่ส่งผลทางการประดิษฐ์เช่นเดิม แต่อ้างว่าได้ปรับปรุงรูปแบบของการประดิษฐ์นั้น ๆ หรือเพื่อให้สามารถขอรับการคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตรได้มากกว่า 20 ปี และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ของตนให้มีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น กลยุทธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้กับสิทธิบัตรหลายประเภทแต่จะพบได้มากที่สุดในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยา ปัญหาเรื่องสิทธิบัตรยาที่ไม่มีวันหมดอายุนี้มีอยู่หลายรูปแบบและล้วนทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างประโยชน์ที่บริษัทผู้ผลิตยาได้รับและประโยชน์ต่อสาธารณะ ด้วยเหตุนี้นานาประเทศจึง คิดค้นมาตรการต่างๆในการแก้ไขปัญหาสิทธิบัตรยาที่ไม่มีวันหมดอายุขึ้น ในส่วนของประเทศไทยนั้นก็ได้พบปัญหาการจดทะเบียนสิทธิบัตรยาที่ไม่มีวันหมดอายุ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการเข้าถึงยาจำเป็นของผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขของไทยด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังพบปัญหาความด้อยในคุณภาพของยาที่นำมาจดทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิบัตร ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงสถานการณ์และสภาพปัญหาเกี่ยวกับสิทธิบัตรยาที่ไม่มีวันหมดอายุและเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาว่า (1) สิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุมีความชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยพิจารณาถึงประเด็นในเรื่องของความใหม่ (Novelty) และขั้นตอนประดิษฐ์ที่สูงขึ้น (Inventive Step) ในการยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรยา (2) เสนอแนวทางการสร้างความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ทรงสิทธิบัตรกับประโยชน์สาธารณะในการเข้าถึงยา ผลการศึกษาพบว่า สิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุยังคงมีความชอบด้วยกฎหมาย หากปรากฏว่าการประดิษฐ์ที่มายื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรมีการพัฒนาต่อยอดจากสิทธิบัตรเดิม โดยปรากฏ ความใหม่ หรือขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ในลักษณะเช่น การทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคที่เพิ่มขึ้น ค้นพบวิธีการรักษาที่แตกต่างไป เกิดผลการทดลองที่ไม่อาจคาดเดาได้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม การพิจารณาการจดทะเบียนสิทธิบัตรไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้โดยง่าย ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมการ จดทะเบียนสิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุ ประเทศไทยควรพิจารณาข้อดีข้อเสียศึกษาเปรียบเทียบ แนวทางการแก้ไขปัญหาสิทธิบัตรที่ไม่มีวันหมดอายุของนานาประเทศ โดยเห็นว่าในบริบทเช่นนี้แทนที่จะแก้ไขหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาเพื่อกีดกันสิ่งประดิษฐ์บางรายการออกไปจากขอบเขตการได้รับความคุ้มครองแล้ว การนำแนวทางสิทธิบัตรทุติยภูมิมาปรับใช้กับการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เพื่อเป็นการสร้างความสมดุลให้สอดคล้องกับระบบสิทธิบัตรและประโยชน์ของสาธารณะ ทั้งนี้ ควรมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการแบ่งแยกคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรว่าการประดิษฐ์แบบใดเข้าลักษณะเป็นคำขอรับสิทธิบัตรตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หรือคำขอแบบใดเข้าลักษณะเป็นคำขอรับสิทธิบัตรแบบทุติยภูมิ ทั้งนี้เพื่อแบ่งแยกการคุ้มครองสิทธิบัตรแต่ละประเภทให้เหมาะสม รวมถึงการนำคู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ฉบับปี พ.ศ. 2563 หมวดที่ 5 เรื่อง การตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ทางด้านเคมีและเภสัชภัณฑ์ ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ มาเป็นแนวทางในการพิจารณาข้อดี ข้อเสีย เพื่อนำออกมาเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความชัดเจนในอนาคต และกรมทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบควรพัฒนาระบบสืบค้นหรือการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการประดิษฐ์เพื่อใช้ในการตรวจสอบการประดิษฐ์ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการตรวจสอบคำขอถือสิทธิอย่างเข้มงวดภายใต้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่3) พ.ศ. 2542 เป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาคุณภาพของสิทธิบัตรและเป็นขอบเขตที่เหมาะสมต่อการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร
An evergreen patent is a business strategy which an inventor extends the period of the patent protection by filing the expiring patent with a minor modification but resulting in the same efficacy in order to extend the protection period for more than 20 years. This strategy can be used in a different kind of patent. However, it is mostly found in a pharmaceutical industry. The issue of an evergreening of pharmaceutical patents occurs in various ways resulting an imbalance between a pharmaceutical company and public interest. As a result, certain countries are considering counter measures to solve this issue. Regarding to Thailand, it was found that an evergreen patent caused the problem of patient access to medicines and the low quality of the registered pharmaceutical patent. In this regard, it deems necessary for Thailand to study the circumstances and nature of problems on evergreen patent in order to be prepared for amending relevant laws. The purposes of this study were (1) to study on whether an evergreen patent is legitimate by considering the factors of novelty and inventive step in registering a pharmaceutical patents; (2) to propose the measures in creating a balance of private interest of a patent holder and the public interest in accessing to medicines. The findings indicate that an evergreen patent is legitimate in case that the application for patent is developed from the previous registered patent containing with a novelty or an inventive step in terms of efficiency improvement, discovering a different treatment method, or resulting in an unexpected experiment. Nonetheless, considering the patentability is complicated. Therefore, in order to allow a registration of evergreen patents, Thailand should consider both advantages and disadvantages including conducting a comparative study with other countries. It is considered that a patent application. According to this context, application of the secondary patent guideline is considered to be more suitable for balancing the patent system and public interest rather than revising the basic principles of consideration criteria to discourage some inventions. Therefore, not only criteria should be well defined to separate an application for patent registration under specified conditions of patent law and the application applying for a secondary patent, in order to categorize each type of patent protection appropriately, but also the introduction of Chapter 5 of the Examination Guideline for Invention Patent for Chemistry and Pharmaceutical Fields B.E. 2563 of the Department of Intellectual Property, the Ministry of Commerce should be adopted as a guideline for considering the advantages and disadvantages to bring forth a clear written law in the future. Furthermore, the Department of Intellectual Property, as the main responsible agency, should develop an effective search system or invention’s information verification system because a rigorous examination of the claim under the Patent Act B.E. 2522 as amended by the Patent Act (No. 3) B.E. 2542 is necessary for maintaining the quality of patents which is also the appropriate scope for the protection of patents.
Description: หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Advisor(s): อรรยา สิงห์สงบ
ใจรัก เอื้อชูเกียรติ
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4686
Appears in Collections:Theses
Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wilailuk.kail.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback