DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4620

Title: พฤติกรรมความรุนแรง การยอมรับขัดขืนของภาพตัวแทนชายรักชาย ในซีรีส์ชายรักชาย กรณีศึกษาปี 2559-2560
Other Titles: The Violence Behavior and The Acceptant or Rejection of Representation of gay in Gay Series 2016-2017
Authors: กิตติภูมิ สุวรรณโภคิน
Keywords: พฤติกรรมความรุนแรงของเกย์
พฤติกรรมการยอมรับขัดขืน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยเรื่องพฤติกรรมความรุนแรงและการยอมรับขัดขืนของภาพตัวแทนชายรักชายในละครซีรีส์ชายรักชายเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สิ่งที่ปรากฏขึ้นภายในซีรีส์ชายรักชายเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับลักษณะความรุนแรง การยอมรับขัดขืนและภาพตัวแทนที่ปรากฏขึ้นภายในซีรีส์เพื่ออธิบายถึงลักษณะและสิ่งที่เป็นของภาพตัวแทนชายรักชายที่เกิดขึ้นพฤติกรรมความรุนแรง พฤติกรรมการยอมรับขัดขืนและภาพตัวแทนนั้นถูกนำมาวิเคราะห์ถึงลักษณะที่เกิดขึ้นและเหตุผลของการเกิดโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรง ภาพตัวแทนและแนวคิดเกี่ยวกับการยอมรับของพ่อแม่ เพื่อใช้ในการอธิบายเหตุผลของการเกิดพฤติกรรมที่ขึ้นภายในซีรีส์ชายรักชายด้วยการนำมาฉากในซีรีส์ มาวิเคราะห์กับทฤษฎีเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมความรุนแรง การยอมรับขัดขืน และภาพตัวแทนชายรักชาย การศึกษาและค้นคว้าวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมที่แสดงออกของชายรักชายในเรื่องความรุนแรงนั้นมักเกิดจากความสนิทใกล้ชิดของรุ่นพี่รุ่นน้องเพื่อใช้ความรุนแรงต่อคนใกล้ชิดในรูปแบบความรุนแรงทางด้านจิตใจเพื่อสร้างความเจ็บปวดให้เกิดขึ้นโดยความรุนแรงทางจิตใจจะสามารถส่งผลต่อความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศต่อไปได้ 2) พฤติกรรมการยอมรับขัดขืนเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความลังเลและไม่กล้ายอมรับต่อความชอบเพศชายด้วยกันเองและหากพบพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการยอมรับขัดขืนเป็นจำนวนมากจะสามารถทำให้เกิดการยอมรับได้โดยต้องอาศัยการยอมรับจากคนใกล้ตัว 3) พฤติกรรมภาพตัวแทนที่เกิดขึ้นภายในซีรีส์เป็นภาพของความโลเลอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการไม่เลือกความสัมพันธ์แบบใดและปล่อยให้คลุมเครือประกอบกับพฤติกรรมปากไม่ตรงกับใจหรือพฤติกรรมที่แสดงออกในทางตรงกันข้ามทำให้ภาพตัวแทนที่เกิดขึ้นภายในซีรีส์ชายรักชายในปี 2559 นั้นถูกอธิบายได้ด้วยคำว่า เกย์คือภาพตัวแทนแห่งความโลเล
This research objectives consist of the Behavior of Violence and Acceptation or Rejection of Representation of gay in gay series. The research methodology is qualitative research to descriptive about the Phenomenal of Violence, Acceptance or Rejection Behavior and Gay Representation the research describe about character and appearance in Gay Series.The Research described about Violence Acceptant or Rejection and Gay Representation by Theory of Violence, Acceptant and Rejection of Parents Concept and Representation Image to describe combined with Theory and Example in Series to describe Behavior and reason of Phenomenal. There are 3 phenomena which found in these gay series as follows: 1) Violence could describe by close relationships of senior and junior related in Psych violence and also could evolve to physical and Sex violence because close relation could attack the Psych of senior more than other Violence. 2) The Acceptance or Rejection representative about Behavior of hesitate and Rejection gay relationship, this behavior discovered Gay acceptance and its condition intimate people acceptance of relationship. 3) Gay representation needs to hesitate because acceptance or rejection might relate the hesitate Image. This Image indicate how confuse of psych and behavior to accept about gay relation and consider with acceptance or rejection behavior. Gay representation could conclude “Representation of Gay is Hesitate”.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2563
Subjects: ละครโทรทัศน์
รักร่วมเพศกับละคร
รักร่วมเพศชายในละคร
ความรุนแรงในละคร
ความรุนแรง -- วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- วิทยานิพนธ์
Advisor(s): มนฑิรา ธาดาอำนวยชัย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4620
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
Kittiphum_Suwa.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback