DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4379

Title: แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษา กลุ่มเขาออกท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Guidelines for Potential Development of Ecotourism: A Case Study of Khao Ok Ecotourism Group, Khanom District, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: เสาวคนธ์ ฟรายเก้อ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานวิจัยเชิงผสมผสานใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 23 คนและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง400คน คือประชาชนหมู่ 3 ตำบลท้องเนียน จำนวน 200 คนและนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 200 คน ใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนในท้องถิ่นมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการรักษาคุณค่าสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือกิจกรรมการท่องเที่ยว ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านพื้นที่ และนักท่องเที่ยวมีระดับความคิดเห็นด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือด้านการบริหารการจัดการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ประชาชนในท้องถิ่นที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และนโยบายการท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นที่แตกต่างกันต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และยานพาหนะในการท่องเที่ยวแตกต่างกัน มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวเสนอแนะให้มีการควบคุม ตักเตือนนักท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งขยะลงถัง มีเจ้าหน้าที่จับปรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งขยะลงถัง และควรมีถังขยะในห้องสุขา ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1.ประชาชนในท้องถิ่นร่วมกันดูแลความสะอาดของแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงการวางถังขยะตามจุดต่าง ๆ ส่วนสภาพถนนในการเดินทางเข้ามายังท่าเรือสภาพถนนอาจไม่ค่อยดีนัก ผู้นำกลุ่มชุมชนจะต้องติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานเพื่อนำงบประมาณมาบำรุง ซ่อมแซมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ถนนที่มีสภาพดี และเกิดความปลอดภัย 2.นักท่องเที่ยวและประชาชนในท้องถิ่นต้องร่วมมือกันช่วยดูแลสอดส่องมิจฉาชีพหรือคนแปลกหน้าเพื่อให้เกิดปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน 3. ร่วมกันให้ข้อมูลความรู้แก่นักท่องเที่ยว อาจจะเป็นการแจกแผ่นพับ 4.การสร้างรายได้ให้ประชาชนในท้องถิ่น ควรผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทำให้นักท่องเที่ยวจับจ่ายใช้สอยในการซื้อของฝาก ของที่ระลึกกันในราคาไม่แพงจนเกินไป 5. การมีส่วนร่วมกันในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนโดยกลุ่มชุมชนโดยการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักท่องเที่ยวกับกลุ่มชุมชน ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะต้องมีการสื่อสารให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึง ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ สวยงามควรค่าแก่การรักษา ด้วยความร่วมมือจากภาครัฐ ประชาชนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการแก้ไขปัญหา เช่น จัดพื้นที่จอดรถให้เพียงพอและปลอดภัย การจัดการขยะ การอบรมภาษาให้กับประชาชนในชุมชน การซ่อมถนนให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย การจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพและหลากหลาย เพื่อความยั่งยืนต่อไป
The purpose of this research was to develop guidelines for the development of ecotourism of Khao ok in Khanom District, Nakhon Si Thammarat Province. A Mixed-Method research was used, conducting in-depth interviews with 23 informants as well as collecting questionnaires from 400 people; 200 people in Thong Nian Subdistrict, and 200 Thai tourists. Data were analysed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA. The results from hypothesis tests illustrated that local people were extremely aware of factors influencing the potential of ecotourism, especially in aspects of environmental conservation and cultural preservation, followed by tourism activities and location. For tourists, they considered tourism activities as the most important factor, followed by management, whereas souvenir product had the least impact on ecotourism potential. Taking demographic factors into account, differences in age, educational level, occupation, level of income, and tourism policy among the locals significantly influenced their opinions on the development of ecotourism potential. Similarly, with regards to the development of ecotourism potential, tourists whose age, educational level, occupation, level of income, and choices of transportation were different also expressed contrasting thoughts. In addition, a group of tourists suggested the important of trash bins in toilets and having some degree of control over tourist littering behavior. In particular, tourists who littered should be warned or fined by the assigned officials. The finds from qualitative studies had shown that 1. local people cooperatively kept the tourist attractions clean and manage bin placement in each location even though the condition of the road to the port was not well maintained; therefore, it was essential for community leaders to contact agencies in order to obtain maintenance budget, improve the road condition, and provide safety for tourists; 2. tourists and locals needed to keep an eye on criminals as well as strangers to ensure the safety and security of their lives and assets; 3. useful and relevant information had to be shared, through brochures, for instance, with tourists; 4. products offered as souvenirs had to correspond to tourist’s desires and be reasonably priced in order to generate a higher level of income for local people and 5. to promote sustainable ecotourism, activities required participation from both local people and tourists. Therefore, to develop the sustainable ecotourism potential, the communication, which raised the awareness of natural resources abundance and its conservation, along with cooperation between different parties including government, local people, tour operators, tourists, and other involved stakeholders had to be implemented through issue management and tourism activities such as provision of safe and sufficient parking spaces, litter management, language class for people in the community, road maintenance, and a variety of high-quality products.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.) -- สาขาวิชาการจัดการอุตสหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2562
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
นครศรีธรรมราช -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
Advisor(s): สมยศ วัฒนากมลชัย
สุชาดา เจริญพันธุ์ศิริกุล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4379
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
saowakon_frei.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback