DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4069

Title: การสื่อสารภาพตัวแทนสตรีผ่านภาพยนตร์ไทย
Other Titles: Representation of Woman through Thai Films
Authors: ภัทรวดี ไชยชนะ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องภาพตัวแทนสตรีในภาพยนตร์ไทย รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ภาพตัวแทนสตรีในภาพยนตร์ไทย โดยคัดเลือกภาพยนตร์ไทยกลุ่มตัวอย่าง 7 เรื่อง ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง รักริษยา (2500) ภาพยนตร์เรื่อง สุรีรัตน์ล่องหน (2504) ภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518) ภาพยนตร์เรื่อง นวลฉวี (2528) ภาพยนตร์เรื่อง เพียงเรา...มีเรา (2534) ภาพยนตร์เรื่อง The Letter จดหมายรัก (2547) และภาพยนตร์เรื่อง ฉลาดเกมส์โกง (2560) มาใช้วิธีการวิเคราะห์จากตัวบท (Textual Analysis) ผลการวิจัยพบว่า มีองค์ประกอบทั้ง 7 องค์ประกอบจากโครงสร้างการเล่าเรื่อง โดยมีโครงเรื่องที่นำเสนอ การเปิดเรื่อง การพัฒนาเหตุการณ์ จุดสูงสุดทางอารมณ์ การคลี่คลายเรื่องราวและการจบเรื่องที่นำเสนอครบถ้วน มีแก่นความคิดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความรัก เรื่องความดีความชั่ว และการวิพากษ์วิจารณ์สังคม ถูกนำเสนอภายใต้ฉากสาธารณะและฉากในบ้าน มีความขัดแย้งระหว่างคนกับคน ความขัดแย้งภายในจิตใจและความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม พร้อมทั้งตีความหมายจากสัญลักษณ์ผ่านรูปภาพและสัญลักษณ์ทางเสียง รวมถึงมุมมองในการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันไปอีกด้วย เมื่อศึกษาถึงในเรื่องของภาพตัวแทนสตรีในภาพยนตร์ไทยผู้ศึกษาได้ใช้บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมมาใช้ในการวิเคราะห์พบภาพตัวแทนสตรีที่ความเมตตา โอบอ้อมอารี มีความเชื่อในเรื่องต่างๆ อาทิ ความเชื่อเรื่องพรหมจารี ความเชื่อเรื่องแม่เลี้ยง และความเชื่อเรื่องของการทุจริต นอกจากนี้พบว่าผู้หญิงมีความปรารถนาในเรื่องของความรัก ปรารถนาในการได้รับการยอมรับในสังคมและปรารถนาในเงินทอง มีความกตัญญูต่อบิดามารดา มีบทบาทในด้านการทำงาน ที่ต่างกันทั้งนักเรียนนักศึกษา มีบทบาทในการทำงานนอกบ้าน และบทบาทที่ต้องทำงานแค่ในบ้านเท่านั้น อีกทั้งพบภาพตัวแทนสตรีที่ได้รับบทบาทความเป็นผู้นำอีกด้วย
This research is a qualitative research, which has an objective to analyze story-telling structure of women in Thai movies, as well as to analyze factors which represent women in Thai movies. There are 7 Thai movies that we've picked from 1957 to 2017 which are the following, Rak-ritsaya (1957), Sureerat Longhon (1961), Khao Nok Na (1975), Nuanchawee (1985) Peang Rao...Mee Rao (1991) The Letter (2004) and Bad Genius (2017) The method that we used to analyzed the data is 'Textual analysis' from the result, we've found that all the movies have 7 factors of story-telling, which present the story with a prologue, situation development, climax, conclusion and ending. Love, morality and society are all present in these movies on the public scenes and home scenes. We also interpret picture and audio messages that the directors want to tell the audiences, include the difference perspective in each story. We also adopted political economic and culture to analyze how women represent in these movies, which we've found that they're show as merciful and hospitable, they also represent women who obsessed with virginity, women who believe that a step-mother and a step-daughter can never get along, women who believe that every places can have a corruption, a scam or dishonesty. Desire of love, want to be accepted in society, wealth and fortune and their desired to take care of the parents, these are wants and needs of women in these movies. Women also presented in difference occupations and roles in society, sometimes as a high-school student, a university student, a nurse, an office employee, as a housemaid as well as a role of a leader.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: ภาพยนตร์ไทย
การสื่อทางภาพ
บทภาพยนตร์
Advisor(s): องอาจ สิงห์ลำพอง
ปฐมา สตะเวทิน
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/4069
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
pattarawadee_chai.pdf8.07 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback