DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3804

Title: แนวทางการออกแบบยกระดับภาพลักษณ์พื้นที่ค้าปลีกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ภายในศูนย์การค้า
Other Titles: A design guideline for brand identity elaboration of home appliances retail
Authors: พิริยา ประมวลทรัพย์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาหาแนวทางการออกแบบต่อการยกระดับภาพลักษณ์แบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยอ้างอิงจากกลุ่มตลาดเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงไปในปี ค.ศ. 2020 หรือ กลุ่มตลาดระดับพรีเมียม โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษา นิยาม ความหมายแบรนด์ระดับพรีเมียมต่อการปรับตลาด 2) เพื่อสำรวจกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและพฤติกรรมผู้บริโภคในการวิเคราะห์แนวโน้มการปรับเปลี่ยนพื้นที่ขายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ 3) เพื่อสร้างแนวทางการออกแบบร้านค้าปลีกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อตลาดระดับพรีเมียม โดยใช้แบรนด์พานาโซนิค (Panasonic) เป็นกรณีศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสัมภาษณ์ แบบสอบถามเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มตัวอย่าง โดยคัดเลือกผู้ตอบแบบสอบถามที่มีประสบการณ์เข้าซื้อสินค้าในพื้นที่ที่ศึกษา รวมจำนวน 43 คน คัดแยกจากระดับรายได้และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการอ้างอิงแนวคิด ทฏษฎีและวิธีการทางสถิติ จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยกายภาพที่มีผลต่อการออกแบบพื้นที่ขายระดับพรีเมียมพบว่า ภาพกราฟิก, แสง, สีสัน, การสาธิตและภาพเคลื่อนไหว, การจัดวางผังพื้นและรูปแบบชั้นวางสินค้า เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะต้องสร้างความแตกต่างและพิเศษกว่าจากความต้องการพื้นฐานของการออกแบบพื้นที่ค้าปลีก ภายใต้แนวคิดแนวทางการออกแบบ คือ “คุณภาพในความเรียบง่าย” โดยเน้นให้การออกแบบพื้นที่มีบรรยากาศโดยรวมมีความทันสมัย ใช้สีสันโทนสว่างและการนำเสนอสิ่งต่างๆไปตามความเป็นจริงและตามจำเป็นไม่โน้มเอียงไปทางแฟชั่น หรือ ความหรูหรา ซึ่งปัจจัยกายภาพที่วิเคราะห์นี้นี้มีส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้าระดับพรีเมียมของกลุ่มตัวอย่างด้วยในอนาคต
The purposes of the research are to find a design guideline to upgrading brand image for Home Appliance brand based on the target market that will change in Mega trend year 2020. The objectives of research following 1) Study the definition of premium brand name from the market adjustment 2) explore the decision-making process of buying home appliances product and consumer behavior to analyzing the trend of changing the sales of large appliances products 3) To create a design guidelines for Large home appliances product retail space that are suitable for the premium market By using the Panasonic brand as a case study with a qualitative research Through interviews from purposive sampling from Panasonic and selecting the respondents who have experience in buying products in the study area 43 respondent were separated from income level and analyzed data with reference to the concept, theory and Statistical methods. In conclusion based on the analysis of physical factors affecting the design of premium sales areas found that graphics, lighting, colors, demonstrations, floor layout and product shelf Is an important component that must be different and special from the basic needs of premium retail space design, Under the concept of design guidelines is "Quality in Simplicity" with emphasis on the design of the space with the overall atmosphere is Modern. By Using bright colors and presenting things according to reality and as needed, not inclined towards fashion or luxury, which the physical factors that this analysis has helped to decide to buy premium products of the sample in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) -- สาขาวิชาการบริหารจัดการออกแบบภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: ร้านค้าปลีก
การออกแบบ
ร้านค้าปลีก -- การตกแต่ง
เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องมือเครื่องใช้ไฟฟ้า -- การตกแต่ง
Advisor(s): ธนธร กิตติกานต์
พีรดร แก้วลาย
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3804
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
piriya_pram.pdf9.9 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback