DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3775

Title: การให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์การแข่งขันตามหลัก Five Forces Model และการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันของสถานบริการสถานบันเทิงครบวงจร ในกรุงเทพมหานครในมุมมองของลูกค้าและผู้ประกอบการ
Other Titles: Customer’s and owner’s perceptions on the importance of the competitiveness analysis following five forces model and the competitive advantage building adopted by night entertainment complexes in Bangkok
Authors: ประสิทธิ์ จักษ์ตรีมงคล
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์การแข่งขันตาม หลัก Five Forces Model และการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันของสถานบริการสถานบันเทิงครบวงจรในกรุงเทพมหานครในมุมมองของลูกค้า จำแนกตามลักษณะประชากร เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกจำนวน 600 คน จากสถานบริการสถานบันเทิงครบวงจรใน 3 พื้นที่หลักของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ย่านรัชดา-ท่าพระ ย่านคลองสาน และย่านบางพลัด ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26-30 ปี มีสถานภาพโสด ทำงานบริษัทเอกชน/ ลูกจ้าง มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ระหว่าง 15,001-30,000 บาท นิยมใช้บริการแผนกผับ และมาเที่ยวแบบส่วนตัว หากพิจารณารายตัวแปรจะพบว่าในกลุ่มของลักษณะสถานประกอบการ ลูกค้าให้ความสำคัญกับสถานประกอบการที่เดินทางไปใช้บริการสะดวก และมีที่จอดรถเพียงพอเป็นลำดับแรก ตามด้วยจำนวนพนักงานให้บริการที่เพียงพอ การตกแต่งสถานที่ของสถานประกอบการ ความหลาก หลายของบริการที่มี และชื่อเสียงของสถานประกอบการตามลำดับ สำหรับมุมมองต่อการดำเนินการตามหลัก Five Forces Model ลูกค้าให้ความสำคัญกับอำนาจการต่อรองของผู้ส่งมอบเป็นลำดับแรก ตามด้วยภัยคุกคามจากคู่แข่งรายใหม่ อำนาจการต่อรองของลูกค้า ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน และ คู่แข่งขันทางการค้าตามลำดับ และในตัวแปรกลุ่มการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขัน ลูกค้าให้ความสำคัญกับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว การเน้นการตลาดเฉพาะกลุ่ม การสร้างความแตกต่าง และการแข่งขันด้านต้นทุนตามลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐานพบว่าลูกค้าที่มีลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อมิติต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนี้ 1) ผู้ใช้บริการที่เป็นลูกจ้าง/ พนักงานเอกชนและพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ความสำคัญกับบริการที่หลากหลาย มีแผนกครบตรงตามความต้องการสูงกว่าผู้ใช้บริการที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว 2) ผู้มีรายได้ระดับ 45,001-60,000 บาท ให้ความสำคัญกับสถานบันเทิงที่มีพนักงานเพียงพอสูงกว่าผู้มีรายได้ระดับ 15,001-45,000 บาท 3) ลูกค้าที่มีสถานภาพโสดให้ความสำคัญกับคู่แข่งขันน้อยกว่าผู้มีสถานภาพหย่าร้าง ลูกค้าที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาให้ความสำคัญกับด้านคู่แข่งมากกว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และลูกค้ากลุ่มนักศึกษาให้ความสำคัญกับด้านคู่แข่งมากกว่าผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว และ 4) ผู้ใช้บริการที่ มีรายได้ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง การแข่งขันด้านต้นทุนและการแข่งขันด้านการตอบสนอง มากกว่ากลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงกว่า
This research aimed to study the customer’s perceptions on the importance of the competitiveness analysis following five forces model and the competitive advantage building adopted by night entertainment complexes in Bangkok. The convenient samples were 600 customers from three major areas in Bangkok where these complexes were located; namely, Ratchada-Thapra area, Klongsarn area and Bangplad area. Questionnaires were used to collect data which were later analyzed employing percentage, mean, t-test, and one-way ANOVA. The majority of the respondents were male, aged 26-30 years old and single with a bachelor’s degree. They worked as employees in private sector and had a monthly income between 15,000 – 30,000 baht. They visited the complexes for personal purpose and preferred the pub section the most. Regarding the profile of night entertainment complexes, the respondents placed the most importance on easy accessibility and enough parking space, followed by the suitable number of service providers, the decoration, the diversity of services provided, and how famous the complexes were respectively. Regarding the perceptions on five forces model concept, the respondents placed the most importance on the bargaining power of suppliers, followed by the threat of new entry, the bargaining power of buyers, threat of substitution, and the industry rivalry respectively. Regarding the competitive advantage building, the respondents placed the most importance on the fast responsiveness, followed by niche market orientation, differentiation and cost competiveness respectively. The hypothesis testing showed the significant difference among the following dimensions and demographic profiles of customers. Firstly, customers who were employees of the private sector placed more importance on the diversity of services provided than those who are self-employed. Secondly, those with 45,001-60,000 baht placed more importance on the adequateness of service staff than those with 15,001-45,000 baht. Thirdly, single customers placed less importance on industry rivalry than the divorced group. Customers with lower than a bachelor’s qualification placed more importance on industry rivalry than those with a college degree. In addition, Customers who were currently students placed more importance on industry rivalry than business owners. Last but not least, customers with a monthly income between 15,000 baht or lower placed more importance on differentiation, cost and responsiveness strategies than customers who had higher income.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560
Subjects: การแข่งขันทางการค้า
การแข่งขัน
การตลาด
ความสำเร็จทางธุรกิจ
Advisor(s): สมยศ วัฒนากมลชัย
สุชาดา เจริญพันธุ์ศิริกุล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3775
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
prasit.jakt.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback