DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3642

Title: การจัดสภาพแวดล้อมกายภาพภายในห้องเรียนเขียนแบบที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป
Other Titles: Organizing the physical environment within sketching classes that affect the creativity of interior design students of Bunditpatanasilpa Institute
Authors: พิพัฒน์ จรัสเพ็ชร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภายในห้องเรียนเขียนแบบที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วัตถุประสงค์การวิจัย มีดังนี้ 1) เพื่อจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องเรียนเขียนแบบที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาออกแบบตกแต่งภายใน 3) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่แตกต่างกัน 4) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาออกแบบตกแต่งภายในที่มีลักษณะวิชาและชั้นปีที่แตกต่างกัน วิธีการดำเนินงานใช้การทบทวนวรรณกรรม ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมภายใน แบบทดสอบทางความคิดสร้างสรรค์ กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 คน และวิเคราะห์ผลด้วยวิธีทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาการ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีลักษณะภายในห้องที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์มีองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมกายภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน ได้แก่ แสง อุณหภูมิ เสียง การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ และความสะอาด 2) ระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาออกแบบตกแต่งภายในโดยรวมจากการวัด 4 ครั้ง อยู่ในระดับต่ำ 3) นักศึกษามีคะแนนพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพแบบเอื้อ สูงกว่าในสภาพแวดล้อมทางกายภาพแบบปกติและแบบอุปสรรค์ 4) ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาออกแบบตกแต่งภายในชั้นปีที่ 1-3 มีระดับความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างกัน และนอกจากนี้ระดับความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ยังมีอัตราผันแปรเพิ่มขึ้นลดลงไปตามแต่ละสภาพแวดล้อมทางกายภาพเท่ากัน
This research studied on the physical environment within the sketching classes that affect the creativity of interior design students The Faculty of Fine Arts of Bunditpatanasilpa Institute, Salaya campus, Nakhon Pathom. The objectives of this research were to study 1) physical environment arrangement in the sketching classes that affect creativity, and 2) to study and compare the level of creativity of students in different physical environments. This research was conducted by using the creative tests with 40 samples and analyzed the results by statistical method to find the average and gain score. The statistic included mean, standard deviation, minimum, maximum, skewness, kurtosis and repeated measurement. The research found that: 1) The physical environment arrangement in which creativity was facilitated was with factors such as light, sound, temperature, furniture placement and cleanliness, 2) The level of creativity of the interior design students from the overall measured 4 times at a low level, 3) Students got higher creativity development scores in the classes with the physical environment arrangement in which creativity was facilitated than in the normal and obstacles physical environment, And 4) The creativity of the interior design students in years 1-3 have the creativity and development of creativity levels are no different. In addition, the development of creative and innovative ideas to increase the rate of decline varies depending on the physical environment as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: สภาพแวดล้อมห้องเรียน
สภาพแวดล้อมห้องเรียน -- การตกแต่ง
การตกแต่งภายใน
ห้องเรียน -- การตกแต่ง
Advisor(s): ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร
มยุรี เสือคำราม
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3642
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
phiphat_jara.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback