DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Graduate School >
Master Degree >
Theses >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3592

Title: การสื่อสารระหว่างบุคคลมีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล
Other Titles: The Influence of Interpersonal Communication on the Performance of the Metropolitan Police Officers
Authors: สกุลรัตน์ แจ้งหิรัญ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การศึกษาการสื่อสารระหว่างบุคคลมีผลต่อการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารระหว่างบุคคลของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 2) เพื่อศึกษาการใช้ภาษาจูงใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 3) เพื่อศึกษาทักษะการติดต่อสื่อสารของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล 4) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานีตำรวจนครบาลที่ยินดีให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์ จำนวน 18 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interviews) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนข้อมูลทุติยภูมิจากหนังสือ บทความ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการสื่อสารระหว่างบุคคล ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการสื่อสารระหว่างชั้นสัญญาบัตรและผู้ใต้บังคับบัญชา คือ ผู้บังคับบัญชาต้องสื่อสารด้วยความสุภาพ ให้คำแนะนำถึงวิธีการแก้ไขปัญหา ให้กำลังใจ แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจและพร้อมช่วยเหลือ คอยกำกับดูแลและเป็นพี่เลี้ยงเพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร 2) ด้านการใช้ภาษาจูงใจ ผลการวิจัย พบว่า วิธีการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจและพึงพอใจต้องใช้วิธีการที่ประนีประนอม พูดสื่อสารในลักษณะขอความร่วมมือและเป็นกันเอง รวมไปถึงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถแสดงความคิดเห็นต่อภารกิจของงานนั้นเพื่อสร้างความภาคภูมิใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเอง 3) ด้านทักษะการติดต่อสื่อสาร ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถสื่อสารแสดงความคิดเห็นได้ รวมทั้งชี้แจงถึงปัญหาของการปฏิบัติงานเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้รับทราบ เพื่อร่วมกันแก้ไข ปรับปรุงในการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป และการสื่อสารที่เป็นกันเองจะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และอาจมีการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกัน ทำให้บรรยากาศในการปฏิบัติงานร่วมกันไม่ตึงเครียด มีความสนิทสนมเป็นกันเอง เกิดความใกล้ชิดกันและทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข 4) ด้านการทำงานเป็นทีม ผลการวิจัย พบว่า ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การทำงานเป็นทีมจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการช่วยเหลือกันในขณะปฏิบัติงาน หากมีการร้องขอจากเพื่อนร่วมงานหรือพบเห็นอุปสรรคก็จะมีการช่วยเหลือกันเป็นอย่างดีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆ
The objectives of the study “The Influence of Interpersonal Communication on the Performance of the Metropolitan Police Officers” were 1) To study the interpersonal communication process of the metropolitan police officers. 2) To study the incentive language of the metropolitan police officers. 3) To study the communication skills of the metropolitan police officers. 4) To study the teamwork of the metropolitan police officers. The samples used in the study were 18 metropolitan police officers who were willing to cooperate in the in-depth interview. To collect data, besides the data from the interview, related secondary information from articles, books, and related research was included. The results of the study were as follows: 1) For interpersonal communication, it was found that to solve communication obstacles between commissioned officers and subordinates, commissioned officers had better communicate politely, give advice on how to resolve the problems occurring, give encouragement, show sympathy, give assistance and care and be mentor so that they could achieve the objectives or the goal of the organization. 2) For the use of incentive language, it was found that communication for understanding and satisfaction required compromising, collaborative and friendly method. Besides, supervisors allow subordinates to express their opinions or ideas toward the task. This could create self-pride to their subordinates. 3) For communication skill, it was found that subordinates could express their opinions or ideas and clarify the problems of operation to supervisor to help resolve the problems together and improve for their next operation. Also, friendly communication built pleasing work atmosphere at work. Moreover, doing activities together between supervisors and subordinates could be the chance for them to communicate to one another. They would be close and intimate, and this could reduce subordinates’ stress, and subordinates could work happily. 4) For teamwork, it was found that it was crucial that teamwork helped each other while working. If assistance was requested from the colleague, or if any obstacles were found, the team would respond and help to achieve the purpose of the task.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2561
Subjects: ตำรวจ -- การสื่อสาร
การสื่อสาร
การสื่อทางภาษาพูด
ตำรวจนครบาล -- การสื่อสาร
ตำรวจนครบาล
Advisor(s): สุวรรณี ลัคนวณิช
ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3592
Appears in Collections:Theses
Theses

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sakunrat_jane.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback