DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3534

Title: ความคิดเรื่องมนุษย์ในพุทธปรัชญา
Other Titles: The concept of man in Buddhist philosophy
รายงานการวิจัยเรื่อง ความคิดเรื่องมนุษย์ในพุทธปรัชญา
Authors: โสภณ ศรีกฤษดาพร
Keywords: พุทธปรัชญา -- วิจัย
ศาสนากับมนุษยศาสตร์ -- วิจัย
มนุษย์ -- วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
โสภณ ศรีกฤษดาพร -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2531
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา “ความคิดเกี่ยวกับมนุษย์ในพุทธปรัชญา” ซึ่งผู้วิจัยมุ่งศึกษาวิเคราะห์ทัศนะเกี่ยวกับมนุษย์ในพุทธปรัชญาในหัวข้อที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1. ทัศนะทางอภิปรัชญา: มนุษย์มีความเป็นจริงอย่างไร 2. ทัศนะทางญาณปรัชญา: มนุษย์รู้จักความจริงหรือโลกอย่างไร 3. ทัศนะทางจริยศาสตร์: มนุษย์พึงปฏิบัติต่อตนหรือโลกอย่างไร การศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ในแง่อภิปรัชญาในพุทธปรัชญานั้น ก็เพื่อที่จะศึกษาถึงความจริงของมนุษย์ ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับความจริงที่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่คนทั่วไป (สมมติสัจ) จนถึงความจริงในระดับละเอียดลุ่มลึก อันเป็นความจริงในขั้นพื้นฐาน หรือในชั้นที่เป็นเหตุปัจจัยในชั้นแรกสุด (ปรมัตถสัจ) การศึกษาวิเคราะห์ความจริงที่เป็นชั้นของเหตุปัจจัยนี้ เป็นการศึกษาความจริงที่เป็นองค์ประกอบของมนุษย์จากองค์ประกอบที่เป็นหน่วยใหญ่จนถึงองค์ประกอบย่อยที่เป็นหน่วยเล็กที่สุด เช่น องค์ประกอบที่เป็นรูป-นาม ขันธ์ 5 อินทรีย์ 6 ธาตุ 18 รูป 28 เจตสิก 52 และจิต 89 เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังศึกษาวิเคราะห์ถึงความจริงที่เกี่ยวกับมนุษย์ในด้านอื่นๆ เช่น จุดหมายปลายทางของมนุษย์ ความทุกข์ ความดี-ชั่ว การกระทำดี การกระทำชั่ว มนุษย์มีเสรีที่จะเลือกทำดีได้ด้วยตนเองหรือต้องเป็นไปตามอำนาจบังคับของกฎเกณฑ์ในธรรมชาติอย่างไม่มีทางเลือก การศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ในแง่ญาณปรัชญา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีรู้หรือทฤษฎีความรู้ คือ มนุษย์รู้โลกหรือความจริงอย่างไร ในแง่อภิปรัชญา พุทธปรัชญาได้พูดถึงความจริงเป็น 2 ระดับ คือระดับที่เป็นสมมติสัจ และระดับที่เป็นปรมัตถสัจ และความจริงในปรมัตถสัจในพุทธปรัชญานั้นได้กล่าวไว้เป็นนัยต่าง ๆ เช่น อริยสัจ 4 อริยมรรค อริยผล ตลอดจนสัจธรรมตามนัยต่าง ๆ ความจริงตามแง่ของอภิปรัชญานี้ จะเป็นความจริงที่เป็นที่ยอมรับได้ ก็ต้องมีวิธีรู้หรือทฤษฎีความรู้ในการพิสูจน์หรือทดสอบได้ ดังนั้น ในแง่ของญาณปรัชญานี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์วิธีรู้หรือทฤษฎีความรู้ในพุทธปรัชญาว่า ความรู้ความจริงในระดับต่าง ๆ นั้น จะใช้วิธีอย่างไรเป็นเกณฑ์ในการรู้ หรือในการพิสูจน์ทดสอบความจริงนั้น ๆ ส่วนการศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ในแง่จริยศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาความประพฤติหรือการกระทำของมนุษย์ ในการที่จะเข้าไปสัมพันธ์กับโลกนั้นคือทั้งในแง่ที่เข้าไปสัมพันธ์กับคนอื่นและสิ่งอื่นก็ตามทั้งในแง่ที่ทำให้ตนเองบรรลุถึงจุดมุ่งหมายปลายทางของชีวิตเป็นต้น ก็ตาม มนุษย์พึงประพฤติปฏิบัติตนเองอย่างไร หรือต้องทำอย่างไรจึงเป็นการกระทำที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ผู้วิจัยเห็นว่า การศึกษาวิเคราะห์มนุษย์ตามแง่ของอภิปรัชญา ญาณปรัชญา และจริยศาสตร์ตามทัศนะของพุทธปรัชญาดังกล่าว จะช่วยทำให้เข้าใจตนเองหรือชีวิตได้มากขึ้น เมื่อเข้าใจตนเองหรือชีวิตได้มากขึ้นหรือถูกต้องยิ่งขึ้นแล้ว จะเป็นเหตุทำให้เข้าไปปฏิบัติต่อตนเอง ต่อชีวิตและต่อสังคมได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องมากยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับทำให้ตนและสังคมได้รับความสุขหรือประโยชน์มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับความจริงในด้านของกายหรือโลกที่เป็นด้านสสารนั้น ได้พัฒนาก้าวหน้าไปไกลมาก มีผู้รู้ นักปราชญ์ และนักวิทยาศาสตร์ในด้านนี้มากมาย แต่ความรู้ในด้านที่เป็นความจริงเกี่ยวกับจิตหรือโลกวิญญาณนั้นดูเหมือนไม่ได้พัฒนาก้าวหน้าไปเหมือนความรู้ด้านที่เป็นกายหรือสสาร เพราะความรู้เกี่ยวกับจิตหรือโลกวิญญาณไม่ได้ก้าวหน้าไปกว่าจากที่สอนกันในเมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เคยสอนกันมาในพุทธปรัชญา หรือปรัชญาพราหมณ์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันมนุษย์สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ในเรื่องของกายหรือโลกของสสารได้มาก สามารถแก้โรคทางกาย ทุกข์ทางกายหรือปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับกายได้อย่างกว้างขวาง แม้มนุษย์ในปัจจุบันจะแก้ทุกข์ทางกายหรือปัญหาทางกายของตนได้ก็ตาม แต่ยังเป็นโรคทางวิญญาณหรือมีความทุกข์ทางจิตนานาประการ ยังไม่สามารถขจัดปัญหาต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากจิตโดยเด็ดขาดได้ เช่น ปัญหาทุจริต คอร์รัปชั่น ฉ้อโกง การเอาเปรียบขูดรีดเพราะความละโมบ โลภมาก ความเห็นแก่ตัว การชิงดีชิงเด่น ความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทในรูปแบต่างๆ ตั้งแต่จากวงแคบๆ หรือการทะเลาะขัดแย้งของคนในครอบครัวเดียวกัน ในหมู่พวกเดียวกัน จนถึงวงกว้างๆ คือ การทะเลาะขัดแย้งที่เป็นสงครามระหว่างชาติ เป็นต้น ในพุทธปรัชญา ได้สอนถึงความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ทั้งในแง่ของกายและจิต ทั้งในแง่ของอภิปรัชญา ญาณปรัชญา และจริยศาสตร์ ถ้านำความรู้ตามแง่ต่างๆ ดังกล่าวมาประยุกต์เพื่อเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ก็จะช่วยในการแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ในขอบเขตที่กว้างออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว ปัญหาที่เกี่ยวกับโลกทางวิญญาณหรือปัญหาเกี่ยวกับความทุกข์ทางจิต อันที่จริงแล้ว ได้มีบุคคลผู้ที่รู้ความจริงเกี่ยวกับจิตและสามารถแก้ความทุกข์ทางจิต ให้เห็นเป็นตัวอย่างมาแล้ว ในอดีตนั่นคือ พระอริยบุคคลผู้เป็นพระอรหันต์สาวก ดังนั้นในปัจจุบันนี้ใช่ว่าจะขาดความรู้หรือตัวอย่างบุคคลที่ดำเนินไปตามทางแห่งการหลุดพ้นทุกข์นี้ แต่ทว่าขาดบุคคลที่ทีความตั้งใจที่จะดำเนินไปตามหนทางนี้อย่างจริงจังต่างหาก
The purpose of this research is to study and analyse the concept of view concerning Human being in Buddhist Philosophy of which the researcher has intended to study and analyse in three major aspects: 1. Metaphysical: What is the real nature of Human being? 2. Epistemological: How does Human being know the truth and the world? 3. Ethical: How does Human being act to himself and the world? The study and analysis of a human being in Buddhist metaphysical philosophy is the study of the real nature of human being in all levels both conventional truth and ultimate truth. The study and analysis in ultimate truth level is to study the truth concerning all kinds of the component parts of a human being : the biggest and the smallest parts, such as form (R̀upa) and name (Nama), five aggregates, six faculties, eighteen elements, twenty eight forms, fifty-two mental properties and eighty-nine minds and so on. Besides, it also studies and analyses the other truths relating to human being such as the human highest purpose, suffering, happiness, goodness, badness, doing good, doing bad, a human being has freedom to do good by himself or he has to do by the order of natural law without any choice. The study and analysis of human being in epistemological aspect is to study and to examine methods of acquiring knowledge or theory of knowledge; how does a human being know the world or the truth. According to metaphysics, Buddhist philosophy tells us two kinds of the truths: that is, relative or conventional truth and ultimate truth. In ultimate truth, the Buddhist philosophy tells us various kinds of truths such as the four noble truths, the noble part, the noble fruition and other truth in various perspective. The metaphysical truth that should be widely accepted must have methods of acquiring knowledge or theory of knowledge that can be tested or verified. So in epistemological aspect, the study and analysis relates to the methods of acquiring knowledge or theory of knowledge in Buddhist philosophy, for example; how does human being get knowledge of various levels?. What methods does he use in getting knowledge? How does he test its validity? While the study and analysis of human being in ethical aspect is the study of human behaviors or actions; how does human being suitably behave himself to other and to the world or what is the best way for him to act in order to properly relate with other human beings and to reach his goal or final aim of life. According to the researcher’s opinion, the study and analysis of human being in metaphysical, epistemological and ethical aspect as being Buddhist philosophy will help us understand our lives more clearly and correctly. That we understand ourselves or lives more clearly and correctly will help us to act to ourselves, to lives, and to society more suitly and correctly. That will also make human beings and society to get more happiness and more advantages. It has been generally accepted that now the science of physical truth or material world has been so advanced that are so many scholars or scientists in this field which the science about of the mind or spiritual world has not advanced as that of physical or material side. It is still the same science that had been taught by the Buddha or Hindo monks in the time of the Buddha, 2,000 years ago. So we can see that at the present time men can solve nearly all physical or material problems: physical illness, physical suffering and others, but they can not solve spiritual problems, spiritual sickness and other suffering caused by mental factors such as, wrong action, corruption, embezzlement, handicap caused by selfishness, greed, competition, conflict and quarrel in various forms in small society such as family, groups of persons and large society conflict caused to be a war between the nations. In Buddhist philosophy, the Buddha teaches the truth about human being both in physical aspect and spiritual aspect in the field of metaphysics, epistemology and ethics. If we take those knowledge to be properly used in our daily lives, they will help us solve all human problems both physical and spiritual problems especially mental suffering. In fact, there were some persons who knew spiritual truth and could solve mental suffering in the past time, for example, the Buddha and his noble disciples. Thus at present it is not that we lack such a kind of knowledge or an example-person who follow the path leading freedom
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3534
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sopon_srik.pdf73.7 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback