DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3514

Title: ปัจจัยเพื่อการออกแบบ และการออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตร : ศึกษาเฉพาะกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่มที่ 2) ของประเทศไทย
Other Titles: Factors contributing to the design of geographical indications of agriculture and non-agriculture products : case study of Thailand’s lower center plain provinces (zone 2)
รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยเพื่อการออกแบบ และการออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตร : ศึกษาเฉพาะกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่มที่ 2) ของประเทศไทย
Authors: สุมิตรา ศรีวิบูลย์
Keywords: สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ -- การออกแบบ -- วิจัย
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ -- การออกแบบ -- ไทย -- สมุทรสาคร -- วิจัย
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ -- การออกแบบ -- ไทย -- สมุทรสงคราม -- วิจัย
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ -- การออกแบบ -- ไทย -- เพชรบุรี -- วิจัย
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ -- การออกแบบ -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์ -- วิจัย
สุมิตรา ศรีวิบูลย์ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสำคัญและรูปแบบของเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือเครื่องหมายรับรองอื่น ซึ่งใช้เพื่อให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆ และนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการออกแบบสำหรับประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกศึกษากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่มที่ 2) ของประเทศไทย ซึ่ง ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตทางการเกษตรที่มีความโดดเด่นของแต่ละจังหวัด ที่ควรนำมาขอขึ้นทะเบียนสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ รวมถึงศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดกรอบในการออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้กับจังหวัดเหล่านั้นด้วย ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางการวิจัยออกเป็น 4 ส่วนคือ 1. การวิเคราะห์เอกสาร 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) บุคคลในระดับต่างๆของแต่ละจังหวัด 3. การวิเคราะห์และกำหนดกรอบแนวคิดในการออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 4. การออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้กับกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (กลุ่มที่2) ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในโลกทุกวันนี้ มีรูปแบบหลักอยู่ 2 รูปแบบคือรูปแบบที่ใช้ในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ใช้เครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แบบเดียว และรูปแบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาคือใช้เครื่องหมายรับรองทำหน้าที่เสมือนเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แม้ว่าข้อมูลจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุว่าประเทศไทยจะใช้เครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แบบเดียวเช่นกัน แต่ผู้วิจัยพบว่าผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละจังหวัดของไทยแม้จะคล้ายคลึงกัน แต่จะมีลักษณะเฉพาะอันเป็นผลมาจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน การใช้งานเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แบบเดียวอาจไม่สามารถระบุความแตกต่างที่ชัดเจนได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่าวิธีการของสหรัฐอเมริกาน่าจะสอดคล้องกับประเทศไทยมากกว่า จึงได้เสนอแนวคิดดังกล่าวในงานวิจัยครั้งนี้ โดยสรุปข้อมูลของแต่ละจังหวัดเพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบเครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของแต่ละจังหวัด ดังนี้ จังหวัดสมุทรสาคร สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสาครควรเป็นผลผลิตทางการเกษตรซึ่งได้แก่ มะพร้าว มีเอกลักษณ์ของจังหวัดคือการเป็นเมืองสามน้ำ และมีลักษณะของการเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยตรง ที่มีตัวอักษรกำกับว่า “มะพร้าว สมุทรสงคราม” จังหวัดเพชรบุรี สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเพชรบุรีควรเป็นผลผลิตทางการเกษตรซึ่งได้แก่ น้ำตาลโตนด โดยมีเอกลักษณ์ของจังหวัดคือต้นตาลโตนดเช่นกัน และมีลักษณะของการเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยตรง ที่มีตัวอักษรกำกับว่า “น้ำตาลโตนดเมืองเพชร” จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดประจวบคิรีขันธ์ควรเป็นผลผลิตทางการเกษตรซึ่งได้แก่ สัปปะรด โดยมีเอกลักษณ์ของจังหวัดคือการเป็นเมืองชายทะเล และมีลักษณะของการเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยตรง ที่มีตัวอักษรกำกับว่า “สัปปะรด ประจวบคิรีขันธ์”
This study aims to conduct a qualitative and operational research, with an objective to investigate the significance and style of geographical indication (GI) that is used specifically to protect agricultural or non-agricultural products in various countries. A design of GI was finally created for the selected 4 provinces of Thailand. Four provinces in the lower central plain area (Zone 2) were selected as the site for this research. They are Samutsakorn, Samutsongkram, Petchburi, and Prachuabkhirikhan. The distinguished agricultural and non-agricultural products of each province were identified from document analysis and in-depth interviews with key respondents. The gathered data were scrutinized and refine to extract the possible design of GI for each province. The research utilized 4 approaches as follows: 1. Document analysis 2. In-depth interviews with 3 key respondents in each province 3. Conceptual analysis to determine the design framework of GI 4. The design of 4 GIs for the selected 4 provinces in the lower central plain area (Zone 2): Samutsakorn, Samutsongkram, Petchburi, and Prachuabkhirkhan. The research findings can be summed up as follows: The utilization of GI at present is apparent in the European Union and in the United States of America. In the European, only GI is used to identify the destination of origin and to protect geographical indication for all types of products, but in the United States, different certification marks are used instead of GI for various types of products. For Thailand, the Department of Intellectual Property stated that, like the European Union, Thailand used only one GI for all products. However, the researcher perceives that even though each province has agriculture products of somewhat similar characteristics, it still posses some uniqueness due to different geographical areas and historical backgrounds. Hence, using only one GI for all products of all provinces throughout the country may not be Suitable. In contrast, several GIs should be designed and applied for each province to express their distinctive product and historical pride. This research, therefore, proposes the following elements for the design of GI for each selected province: Samutsakorn: The GI for Samutsakorn should have the combination of Benjarong (Tentachrome Ceramic Ware) , and the silhouette of PanTaiNorasing (the famous steersman of royal barge during the Ayuthya period who dedicated his life for justice). The GI design has the tagline that reads “Benjarong Samutsakorn.” Samutsongkhram: The GI for Samutsongkhram should be the combination of coconut and Mae Klong River (famous for 3 colors originated from three characteristics of the river itself: fresh, brackish, and sea waters). The GI design has the tagline that reads “Coconut Samutsongkhram” Petchburi: The GI for Petchburi should be the combination of palm sugar and palm tree. The GI design has the tagline that reads Petchburi Palm Sugar.” Prachuabkhirikhan: The GI for Prachuabkhirikhan should be the combination of pineapple and beautiful beaches. The GI design has the tagline that reads “Pineapple Prachuabhirikhan.”
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3514
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
sumitra_sriw.pdf15.68 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback