DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3511

Full metadata record

DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณth
dc.date.accessioned2018-11-26T04:37:51Z-
dc.date.available2018-11-26T04:37:51Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttp://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3511-
dc.description.abstractงานวิจัยโครงการนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความสำคัญที่ให้กับเครื่องหมายรับรองฮาลาลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภคชาวไทยมุสลิมกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษามาจากการเชื่อมโยงทฤษฎีว่าด้วยการกระทำที่มีเหตุผล (Theory of Reasoned Action) เข้ากับทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix Theory) และการศึกษาตัวแบบพฤติกรรมผู้บริโภค โดยตัวแปรอิสระที่ผู้วิจัยเชื่อว่ามีผลกระทบต่อระดับความสำคัญที่ผู้บริโภคชาวไทยมุสลิมให้กับเครื่องหมายรับรองฮาลาลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ประกอบ ด้วย อายุ อาชีพ ระดับการศึกษาศาสนาอิสลาม ระดับความเคร่งครัดต่อหลักการศาสนาอิสลามในการเลือกรับประทานอาหาร ระดับความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานผู้ออกตราเครื่องหมายรับรองฮาลาล และระดับความสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนหรือบุคคลต่างศาสนา การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งสนใจศึกษาผู้บริโภคชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในเขต 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดและเป็นประชากรส่วนใหญ่ของ 4 จังหวัดด้วย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามซึ่งกลุ่มตัวอย่างต้องทำความเข้าใจและตอบคำถามด้วยตัวเอง (Self-administered Questionnaire) ในส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้นั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 900 ตัวอย่าง ซึ่งเลือกมาตามสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้ในแต่และจังหวัด และการเลือกตัวอย่างนั้นจะใช้ดุลพินิจ (Judgment Sampling) ร่วมกับคำถามคัดเลือก (Screener Questions) เพื่อให้ได้ผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนด ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าระดับความสำคัญของเครื่องหมายรับรองฮาลาลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารนั้น มีความแตกต่างกันไปอย่างมีนัยสำคัญในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่ซื้อ และระดับความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคชาวไทยมุสลิมมีต่อตราเครื่องหมายรับรองฮาลาล ที่ออกโดยประเทศ ต่าง ๆ นั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของการทดสอบสมมติฐานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความสำคัญที่ให้กับเครื่องหมายรับรองฮาลาล ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภคชาวไทยมุสลิมนั้นพบว่า อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา ศาสนาอิสลาม ระดับความเคร่งครัดต่อหลักการศาสนาอิสลามในการเลือกรับประทานอาหาร และระดับความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานผู้ออกตราเครื่องหมายรับรองฮาลาลมีผลกระทบต่อระหว่างความสำคัญที่ให้กับเครื่องหมายรับรองฮาลาลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ในขณะที่ระดับความสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนหรือบุคคลต่างศาสนานั้น ไม่มีผลกระทบต่อระดับความสำคัญดังกล่าว ผลของการวิจัยโครงการนี้ มีคุณค่าในเชิงทฤษฎี ในฐานะที่เป็นงานวิจัยเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค ชาวไทยมุสลิมโครงการหนึ่งที่ได้พยายามศึกษาและอธิบายถึงผลกระทบของปัจจัยต่าง ๆ ต่อระดับความสำคัญที่ให้กับเครื่องหมายรับรองฮาลาลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารของผู้บริโภคชาวไทยมุสลิม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยมุสลิมในอนาคตต่อไป ผลจาการวิจัยครั้งนี้ จะสามารถสร้างความตระหนักต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงความสำคัญและอิทธิพลของตราเครื่องหมายรับรองฮาลาลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยมุสลิม และจะมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำข้อมูลจากการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์อาหารของตน ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นต่อตราเครื่องหมายรับรอง ฮาลาลของไทยและการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของผลิตภัณฑ์อาหารไทยในตลาดมุสลิมโลกต่อไปth
dc.description.abstractAs the halal logo has been gained its recognition among Muslim consumers, a question of whether such symbol has any weight on the group’s selection process when making a purchase. Therefore, a research was conducted to detail the factors affecting the level of significance given to the Halal logo by Muslim consumers when forming food products purchasing decisions. An attempt to understand such behavior began by developing a conceptual boundary derived from the combination between the theory of reasoned action and the marketing mix. The independent variables assumed to affect the significance level of the logo among the Thai Muslim consumers in this study included age, occupation, Islamic education level, commitment on Islamic food law, confidence towards Halal logo issuer, and interactivity among other religions followers. The four most southern provinces of Thailand were selected as a context of this study because these vicinities provided the most condensed population of Muslims. The aforementioned areas consisted of Pttani,Yala, Narathiwat, and Satul. The self-administered questionnaires were distributed to the target population, which was the total of 900 samples. The sample size was drawnfrom predetermined quota of each province. In addition, the use of judgment sampling and screener questions were applied in order to obtain the appropriate samples. The sample size was drawn from predetermined quota of each province. In addition, the use of judgment sampling and screener questions were applied in order to obtain the appropriate samples. The findings demonstrated that the importance of the Halal logo in making purchasing decisions varied in each food product group quite extensively. Furthermore, a significant variation can also be observed regarding the confidence level that Thai Muslim consumers placed on the country issuing the Halal logo. The other factors such as age. occupation, Islamic education level, commitment on Islamic food law, and confidence towards Halal logo issuer Rendered some parts in the differences of placing importance of Halal logo to food purchase decisions. The only factor not relating to the subject matter was the interactivity among other religion followers. The findings of this research offered a theoretical value regarding Thai Muslim consumer behavior. The study of factors affecting importance of Halal logo to Thai Muslim making purchasing decisions also provided a basis for further examination of this specific consumer group in the future. Not only does the outcome of the research revealed the importance of Halal logo to Thai Muslim Consumers, it would be also beneficial to business producers, entities, and related parties as a guidance to applying the result to gain consumer trust on the product with Halal logo issued by Thailand. Ultimately, it could promote Thai Muslim food product in the world arena in future.th
dc.description.sponsorshipงานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ปีงบประมาณ 2545 จากทบวงมหาวิทยาลัยth
dc.language.isoth_THth
dc.publisherทบวงมหาวิทยาลัยth
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย (ภาคใต้)th
dc.subjectอาหารฮาลาล -- ไทย (ภาคใต้) -- วิจัยth
dc.subjectอาหารฮาลาล -- ไทย (ภาคใต้) -- มาตรฐานth
dc.subjectวุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ--ผลงานวิจัยth
dc.subjectมหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัยth
dc.titleปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความสำคัญที่ให้กับเครื่องหมายรับรองฮาลาลโดยผู้บริโภคชาวมุสลิมในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร : กรณีศึกษาของชาวไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้th
dc.title.alternativeFactors affecting the level of significance given to the Halal logo by Muslim consumers in making purchase decisions on food products : a case study of the Thai Muslims living in the four most Southern provincesth
dc.title.alternativeรายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความสำคัญที่ให้กับเครื่องหมายรับรองฮาลาลโดยผู้บริโภคชาวมุสลิมในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร : กรณีศึกษาของชาวไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้th
dc.typeรายงานวิจัยth
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
wutisak_piss.pdf6.12 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback