DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3483

Title: ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในองค์การกับคุณค่าของบุคคลอันมีผลต่อความพึงพอใจในการทำงาน : กรณีของบริษัทต่างประเทศที่ดำเนินงานในประเทศไทย
Other Titles: Environments in organization related to employee’s value through job satisfaction : case of multinational corporations operating in Thailand
รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในองค์การกับคุณค่าของบุคคลอันมีผลต่อความพึงพอใจในการทำงาน : กรณีของบริษัทต่างประเทศที่ดำเนินงานในประเทศไทย
Authors: สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์
Keywords: การจัดองค์การ -- วิจัย
พฤติกรรมองค์การ -- วิจัย
องค์การ -- วิจัย
ความพอใจในการทำงาน -- วิจัย
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ -- ผลงานวิจัย
เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2541
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมาของการวิจัย ปัจจุบันมีบริษัทต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากความแตกต่างกันในเรื่องของวัฒนธรรม คุณค่า และความคิดเห็นของบุคคลในการทำงานทำให้ผู้บริหารองค์การต่างประเทสมีความจำเป็นที่จะต้องทราบและเข้าใจถึงความเหมาะสมในการจัดสภาพแวดล้อมภายในองค์การให้สอดคล้องกับคุณค่าของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการทำงานในองค์การ ตลอดจนความพึงพอใจของบุคคลที่มีต่อสภาพแวดล้อมนั้น กล่าวคือผู้บริหารองค์การต้องสามารถประเมินและเข้าใจได้ว่า สภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับพนักงานไทย และคุณค่าของพนักงาน ควรมีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานไทย ในลักษณะใดและระดับใด เพื่อนำผลของความสัมพันธ์ดังกล่าวไปใช้ในการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานและสร้างนโยบายในการทำงานที่เหมาะสมกับคุณค่า และความพึงพอใจในการทำงานให้กับพนักงานไทย อันจะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การที่กำหนดไว้ได้ ระเบียบวิธีการวิจัย งานวิจัยฉบับนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาจากพนักงานสองระดับ คือพนักงานระดับหัวหน้าจำนวน 167 คน และพนักงานระดับปฏิบัติการจำนวน 303 คน ที่ทำงานอยู่กับบริษัทต่างประเทศ ที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยจำนวน 115 บริษัท ซึ่งคัดเลือกจากรายชื่อบริษัทขนาดใหญ่ 30 อันดับแรกของอุตสาหกรรมของแต่ละประเภท โดยพิจารณาจากยอดขาย และรายชื่อของบริษัทเหล่านั้นจะมาจากทะเบียนรายชื่อบริษัทต่างประเทศ ที่ดำเนินการในประเทศไทยฉบับที่ 2538 – 2539 ซึ่งรวบรวมโดยกองทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ และ Advanced Research Group Company เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามเพื่อให้สำรวจทัศนคติของพนักงานแต่ละระดับ เกี่ยวกับระดับความสำคัญ และระดับความพึงพอใจที่มีต่อสภาพแวดล้อมในองค์การขณะทำงาน ประเภทของคุณค่าที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงคุณค่าของพนักงานขณะทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมเหล่านั้น ค่าสถิติที่นำมาใช้ในการสรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติต่าง ๆ ของพนักงานทุกระดับจะใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และอัตราร้อยละ การทดสอบความแตกต่างในเรื่องทัศนคติระหว่างพนักงานทั้งสองระดับ จะใช้ค่าทดสอบที่ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าของพนักงาน และความพึงพอใจในการทำงาน ภายใต้สภาพแวดล้อมต่าง ๆ จะใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) นอกจากนี้การทดสอบความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมในการทำงาน และคุณค่าของพนักงานที่มีต่อความพึงพอใจในการทำงาน จะใช้ความสัมพันธ์แบบแคนิคอล (Canonical Correlation) โดยการทดสอบทุกตัวแปร จะทำที่ระดับนัยสำคัญ 0.05ผลของการวิจัย พนักงานระดับหัวหน้า และพนักงานระดับปฏิบัติการมีทัศนคติที่แตกต่างกันในเรื่องของการให้ระดับความสำคัญต่อความขัดแย้ง การให้อำนาจ การประเมินผล ความไว้วางใจ และ ขวัญและกำลังใจ และยังพบว่าพนักงานทั้งสองระดับมีทัศนคติที่แตกต่างกัน ในเรื่องของความพึงพอใจต่อความเครียด ความขัดแย้ง การให้อำนาจ ผลตอบแทน และความไว้วางใจแต่อย่างไรก็ตาม พนักงานทั้งสองระดับต่างก็มีทัศนคติที่ว่าสภาพแวดล้อมในองค์การมีความสำคัญต่อการทำงาน นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมด้านความเครียด และความขัดแย้งไม่ส่งผลมากนักต่อการสร้างความพึงพอใจในการทำงานให้แก่พนักงานทั้งสองระดับสภาพแวดล้อมในองค์การทำให้เกิดคุณค่า และการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของพนักงาน ทั้งนี้คุณค่าของพนักงานยังถูกพบว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงต่อความพึงพอใจในการทำงาน และพบว่าการใช้สภาพแวดล้อมในองค์การ และคุณค่าของพนักงานรวมกันจะส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานทุกระดับ
BACKGROUND OF STUDY Nowadays, there are many multinational firms operating in Thailand differences in terms of environments, cultures, personal values and job satisfaction among employees definitely exist. Regarding Thai employees, management of those firms should recognize how environments in Thai พorkplace, employees’ values and their job satisfaction related to one another. As doing so, the foreign management can improve the work efficiency of the firms leading to an achievement of corporate objectives. METHOD The data were collected through an administered questionnaire distributed to respondents from one hundred and fifteen oversea firms in Bangkok metropolitan area. A total of 467 usable responses were obtained from one hundred and sixty seven supervisors and three hundred and three responses were collected from operating employees. Pearson’s correlation coefficient was to describe the relationship of variables to one another. T-tests were used to identify the significant mean differences between the responses of the employees of each position. Canonical correlation was used to explore the relationship among three variables including work environments personal values, and employees’ satisfaction. RESULTS The significant mean differences existed among the responses of the level of importance toward work environments: conflict, empowerment, appraisal, trust, and morale. It was also found that the significant mean differences existed among the responses of the level of satisfaction toward environments : stress, conflict, empowerment, reward, and trust. This study found that there was direct relationship between employees' job satisfaction and their personal values. Finally, the results indicated that work environments and personal values influenced employees’ job satisfaction.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3483
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suthinan_poms.pdf11.58 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback