DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3481

Title: การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ : กรณีของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศ
Other Titles: A study of subordinates’ quality of work life : a case of merging Thai and foreign commercial banks
รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ : กรณีของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศ
Authors: สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ
Keywords: คุณภาพชีวิตการทำงาน -- วิจัย
พนักงานธนาคาร -- วิจัย
ธนาคารพาณิชย์ -- ไทย -- วิจัย
วัฒนธรรมองค์การ
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์
Issue Date: 2547
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life) ของพนักงานในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการทำงานของพนักงานให้มีแรงจูงใจในการทำงาน องค์กรที่มีนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีหลักเกณฑ์ และได้มาตรฐานในอันที่จะก่อประโยชน์ในการทำงานของพนักงานย่อมเป็นแนวทางที่จะทำให้องค์กรได้รับการสนับสนุนการทำงานจากพนักงาน คุณภาพชีวิตการทำงานสามารถกล่าวได้ในแง่ของการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Work Environment) ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมระดับความพึงพอใจของพนักงานในการทำงานร่วมกัน ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานโดยการนำสภาพแวดล้อมในการทำงานมาเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาประกอบด้วยประเด็นสำคัญ 3 หมวด 10 องค์ประกอบ ได้แก่ หมวดสภาพแวดล้อมความเจริญก้าวหน้าของบุคคล (Personal Growth Environment) ประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ ความเป็นอิสระ (Autonomy) การทำตนให้เข้ากับงาน (Task Orientation) และ ความกดดันในงาน (Work Pressure) หมวดสภาพแวดล้อมความสัมพันธ์ (Relationship Environment) ประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ การมีส่วนร่วม (Involvement) การเป็นปึกแผ่นของเพื่อนร่วมกัน (Peer Cohesion) การสนับสนุนการหัวหน้า (Supervisor Support) และหมวดสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงและการบำรุงระบบ (System Maintenance and Change) ประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ ความชัดเจน (Clarity) การควบคุม (Control) ความคิดริเริ่ม (Innovation) และความสะดวกสบายด้านกายภาพ (Physical Comfort) สำหรับระเบียบวิธีวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามกับพนักงานระดับปฏิบัติการของธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศจำนวน 2 แห่ง ณ สำนักงานใหญ่ของธนาคารดังกล่าว โดยได้รับความร่วมมือตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 176 คน วิธีการทางสถิติที่ใช้และสรุปผลข้อมูล คือ ค่าร้อยละและการทดสอบหาความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติไคว์สแคว (Chisqare) โดยทำการทดสอบที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศที่มีพนักงานระดับปฏิบัติการทำงานอยู่ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติความคิดเห็นเรื่องสภาพแวดล้อมความเจริญก้าวหน้าของบุคคลประกอบด้วยความเป็นอิสระ การทำตนให้เข้ากับงานและความกดดันในงาน (ยกเว้นข้อคำถาม ดังนี้ คือเวลาได้สูญเสียไปมากจากการไร้ประสิทธิภาพ แทบจะไม่มี “การเลื่อนงานออกไปในวันพรุ่งนี้” และการเป็นการยากที่จะทำงานให้ทัน) 2. ธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศที่มีพนักงานระดับปฏิบัติการทำงานอยู่มีความสัมพันธ์ กับทัศนคติความคิดเห็นเรื่องสภาพแวดล้อมความสัมพันธ์ ประกอบด้วยการมีส่วนร่วม (ยกเว้นข้อคำถามดังนี้ มีการสนับสนุนให้ลูกจ้างตัดสินใจด้วยตัวเอง ลูกจ้างที่มีความแตกต่างจากผู้อื่นในองค์การมักจะปรับตัวไม่ค่อยได้ และผู้คนมักจะก่อปัญหาการนินทาผู้อื่น) การเป็นปึกแผ่นของเพื่อนร่วมงาน และการสนับสนุนจากหัวหน้างาน (ยกเว้นข้อคำถามดังนี้ คือ หัวหน้ามีความคาดหวังในตัวลูกน้องมากเกินไป และหัวหน้าพบปะลูกน้องเป็นประจำเพื่อปรึกษาเรื่องจุดมุ่งหมายของงานในอนาคต) 3. ธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีการร่วมทุนกับต่างประเทศที่มีพนักงานระดับปฏิบัติการทำงานอยู่ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติความคิดเห็นเรื่องสภาพแวดล้อมความเปลี่ยนแปลงและการบำรุงรักษาระบบประกอบด้วยความชัดเจน (ยกเว้นข้อคำถามดังนี้ คือ ลูกจ้างมักจะสับสนเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองต้องทำและมีการอธิบายเรื่องผลประโยชน์พิเศษแก่ลูกจ้างอย่างครบถ้วน) การควบคุม (ยกเว้นข้อกำหนดดังนี้ คือ มีการวางแผนกิจกรรมไว้อย่างดี กฎเกณฑ์และข้อบังคับค่อนข้างไม่แน่นอนและความคลุมเครือ และแทบจะไม่มีการทดลองใช้วิธีการใหม่ ๆ ต่อสิ่งต่าง ๆ เลย ) ความริเริ่ม (ยกเว้นข้อคำถามดังนี้ คือ สถานที่นี้ให้โอกาสในการทดลองความคิดใหม่ ๆ ทุกคนสามารถใช้ความคิดริเริ่มของตนในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้ และความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่สิ่งที่สำคัญเป็นพิเศษ) และความสะดวกสบายด้านกายภาพ (ยกเว้นข้อคำถามดังนี้ คือ ควรตกแต่งภายในสถานที่ใหม่ได้แล้ว และห้องต่าง ๆ มีการระบายอากาศอย่างดี)
Nowadays, quality of work life is considered to be the main factor in persuading and encouraging subordinates to work. Thus, the success of each organization always depends on quality of work life policy, owning it to better performance as a result from such policy. There may be no right or work answer to the question of how to implement good quality of work life policy. However, good policy should at least draft in the way that it provides good working environments, which encourage subordinates to work. This study aims to explore the impact of quality of work life among merging Thai and foreign commercial banks, while focusing on working environments. Working environment that this study takes into account consist of three core environments; personal growth, relationship and system maintenance and change. Firstly, personal growth environment composes of three factors; autonomy, task orientation and work pressure. Second environment is relationship element which also includes three factors; involvement, peer cohesion and supervisor support. Lastly, System maintenance and change comprises of four factors; clarity, control, innovation and physical comfort. In terms of methodology, this study used survey questionnaires approach which was distributed among subordinates at head office of two Thai commercial banks with foreign acquisitions. This study received a total of 176 responses, in analyzing the data, the research employed average mean method and Chi-square test to examine the relationship of each working environment, which it set the alpha level for this study at 0.5. Having analyzed the data, the study reached three main findings. First, under personal growth environment, this study found that subordinates from Thai commercial banks with foreign acquisitions concern with autonomy, task orientation and work pressure (except these questions: Do you waste most of your time as a result from lack of skills?, there are no job postpone possible and you are always find it hard to catch up with work) Second, for relationship environment, this study found that involvement (except these questions: you are always confuse or unsure about the difference of your job routine and others, resulting in poor involvement and creating gossip surroundings), peer cohesion and supervisor support (except these questions : you often feel stressful as a result of high expectation from your supervisor, your supervisor always holds a meeting with subordinates in order to consult and remind them with the objectives and future path of the operation) are crucial factors concerned among subordinates from Thai commercial banks with foreign acquisitions. For the last environment, system maintenance and change, this study found that concerns of subordinates from Thai commercial banks with foreign acquisitions are clarity (except these questions : subordinates are unsure of their job description, subordinates are clearly informed in regards to their welfare and benefits), control (except these questions : these are certain and well-planned activities in your organization ; organizations’ rules and regulations are not clear, loose or unpractical ; there were implementations of new strategies or methods with new polices or practices). Innovation (except these questions: this organization provides you with an opportunity to generate and practice new ideas, all parties in the organizations can apply their new ideas to works: there should be a new interior renovation with good circulation of air-conditioning system).
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3481
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
suthinan_poms.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback