DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3466

Title: ความตระหนักของประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในกรุงเทพมหานครต่อมลพิษสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ
Other Titles: Awareness of people using mobile phone in Bangkok metropolis on environmental pollution from impacting waste disposal of mobile phone and it’s battery
รายงานการวิจัย ความตระหนักของประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในกรุงเทพมหานครต่อมลพิษสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ
Authors: พรทิพย์ ชิณสงคราม
Keywords: ของเสียอันตราย -- แง่สิ่งแวดล้อม -- วิจัย
ของเสียอันตราย -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -- วิจัย
โทรศัพท์เคลื่อนที่ -- แบตเตอรี่ -- แง่สิ่งแวดล้อม -- วิจัย
โทรศัพท์เคลื่อนที่ -- แบตเตอรี่ -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -- วิจัย
โทรศัพท์เคลื่อนที่ -- แง่สิ่งแวดล้อม -- วิจัย
โทรศัพท์เคลื่อนที่ -- ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม -- วิจัย
โทรศัพท์เคลื่อนที่ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- วิจัย
พรทิพย์ ชิณสงคราม -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: การวิจัยนี้ได้ศึกษาเฉพาะประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในกรุงเทพมหานครมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนัก ความคิดเห็น ปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนัก และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารกับความตระหนักต่อมลพิษสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ โดยการวิจัยเชิงสำรวจ ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์และประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Science) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.4 อายุระหว่าง 20 – 29 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีอาชีพพนักงานบริษัท ข่าวสารมลพิษที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับมากที่สุดคือ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วารสาร/นิตยสาร คิดเป็นร้อยละ 44.8 43.7 และ 42.2 ตามลำดับ โดยมีความถี่ที่ได้รับข่าวสาร 1 – 5 ครั้ง / เดือน แต่ประชาชนยังไม่ได้รับข่าวสารจากสื่อวิทยุคิดเป็นร้อยละ 47.1 2. ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีความตระหนักในระดับมากถึงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21.0 และ 75.5 ใน ด้านสารพิษที่เป็นองค์ประกอบของซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ อันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรงหรือผ่านทางห่วงโซ่อาหาร และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ประชาชนยังมีการทิ้งแบตเตอรี่เสื่อมสภาพปะปนกับขยะภายในบ้าน และเข้าใจว่าซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพไม่ใช่ขยะอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 27.0 28.5 และ 20.8 ตามลำดับ 3. ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งในการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหา มลพิษ การคัดแยกขยะ ผู้ผลิตต้องไม่ใช้สารอันตรายหรือหาสารอื่นทดแทนในผลิตภัณฑ์ การมีกฎหมายควบคุมโรงงานที่รับผิดชอบ และเห็นด้วยกับการทิ้งแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือเสื่อมสภาพที่จุดรวมของเสียอันตรายหรือถังขยะฝาสีแดง และรัฐบาลควรสนับสนุนให้มีโรงงานรีไซเคิล 4. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อความ ตระหนักต่อมลพิษสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่ประชาชนที่มีอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการทิ้งซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพแตกต่างกัน (p<0.05) ประชาชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยน้อยกว่าประชาชนที่มีอายุระหว่าง 30-39 ปี และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอายุกับเพศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่การรับรู้ข่าวสารมลพิษสิ่งแวดล้อมจากแหล่งข้อมูลข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักต่อมลพิษสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งซากโทรศัพท์ (r=0.02; p>0.05) และแบตเตอรี่โทรศัพท์เสื่อมสภาพ (r=-0.06; p>0.05) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ รัฐควรรณรงค์ให้ประชาชนได้รู้ผลกระทบจากการทิ้งซากโทรศัพท์มือถือและแบตเตอรี่เสื่อมสภาพต่อสิ่งแวดล้อมและอันตรายต่อมนุษย์อย่างต่อเนื่อง และจัดหาถังขยะสำหรับเก็บรวบรวมแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือเสื่อมสภาพในชุมชนอย่างทั่วถึงเนื่องจากประชาชนยังมีการทิ้งแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือเสื่อมสภาพรวมกับขยะภายในบ้าน คิดเป็นร้อย 27.0
The objectives of this research for Bangkokians using mobile phone were to study of the awareness, the opinions, the factors related, and the correlation between the environmental information obtaining and their awareness of environmental pollution from impacting waste disposal of mobile phone (MP) and its battery (BT). This survey research using questionnaires as a tool collected data from 400 samples. The data were analyzed and evaluated by using the Statistical Package for the Social Science. The conclusions were as follows: 1. Most of the samples were females at 67.4 % whose age was between 20 to 29 years. Their education was Bachelor degree level of equivalently and worked as company employer. The most of information source that these samples gained were newspapers, television, and journals/magazines with 44.8, 43.7 and 42.2 % respectively by 1-5 month frequency but the samples did not had gained environmental pollution news of the MP and BT from radio at all with 47.1 % 2. The samples had become aware of environmental pollution at very high (75.5 %) and high (21.0 %) levels in case of dangerous chemicals inside the MP and BT percolating through the natural environment. The danger to human health directly or gained through the food chain and impacting environmental pollution. On the contrary, they abandoned the BT into house garbage at (27.0 %) and also, they believed wastes of the MP and BT were not dangerous garbage impacting on environment pollution (20.5 % and 20.8 % respectively). 3. The samples had become agree with high level in cases of disposing the MP and BT into the red garbage can and the government assistance to build public recycler; and also, had become agree with very high level in cases of no getting rid of the BT on landfill or water source, cooperating to solve the environmental pollution, separating MP and BT waste, substituting dangerous chemical compounds in components of the MP and BT by manufacturer, and environmental laws to control the responsible waste disposal manufacturer. 4. General information of people using mobile phone in Bangkok metropolis such as; gender, age, graduation level and income did not have an effect on environmental pollution awareness from impacting waste disposal of MP and BT (p>0.05), but their differential age did have an effect on their opinions (p<0.05), The only age with less than 20 years did have lower agree level than the age with 30-39 years and interaction between age and gender (p<0.05). Meanwhile, the factor of information source had no correlation to environmental pollution awareness of both MP (r =0.02; p>0.05) and BT (r = -0.06; p>0.05). Recommendations from research: the government should be campaign so that more people understand the impacts and hazardous waste from waste disposal of MP and BT and the campaign should be seriously and continuously followed. On government responsibility, the government should be provide the red garbage can for MP and BT in community thoroughly as a result of the research showed that people using mobile phone in Bangkok metropolis are still abandon hazardous waste of BT together with household garbage can at 27.0 %.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3466
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
porntip_chin.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback