|
DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3460
|
Title: | หลักเกณฑ์และกลไกในการให้ความคุ้มครองและการควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 |
Other Titles: | Rules and devices to protect and control the freedom of the press under the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2540 รายงานการวิจัยเรื่อง หลักเกณฑ์และกลไกในการให้ความคุ้มครองและการควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 |
Authors: | วนิดา แสงสารพันธ์ |
Keywords: | สื่อมวลชน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- วิจัย เสรีภาพทางข่าวสาร -- วิจัย วนิดา แสงสารพันธ์ -- ผลงานวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยกรุงเทพ |
Abstract: | รายงานการศึกษาวิจัยฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงหลักเกณฑ์และกลไกในการให้ความคุ้มครองและควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนตามที่กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เฉพาะในหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยว่า หลักเกณฑ์และกลไกดังกล่าวจะส่งผลให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้นหรือไม่ อีกทั้งกลไกต่าง ๆ ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญจะสามารถควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนมิให้ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นและไม่ขัดหรือแย้งกับกลไกในการให้ความคุ้มครองและควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย และผลการศึกษาวิจัยพบว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดเพิ่มความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนขึ้นหลายประการได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Right to Know) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Expression) พร้อมทั้งหลักประกันการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนไปพร้อม ๆ กัน การให้ความคุ้มครองแก่คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุ วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคทมให้เป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติที่ต้องใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และรวมถึงการให้ความคุ้มครองแก่ตัวผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นกรณีพิเศษ โดยสื่อมวลชนสามารถที่จะใช้สิทธิเสรีภาพนี้ได้ภายใต้เงื่อนที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครองโดยกฎหมาย (The Rule of Law) ที่กำหนดให้การใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลจำต้องมีขอบเขตของกฎหมายกำกับการใช้อยู่เสมอ รัฐในฐานะผู้มีอำนาจปกครองย่อมมีสิทธิโดยชอบธรรมในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้มีผลเป็นการจำกัดหรือควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนได้ภายใต้เหตุผลที่สำคัญสี่ประการได้แก่ เพื่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น และเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนได้นั่นเอง อันเป็นที่มาของมาตรการทางกฎหมายที่เป็นกลไกในการควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนที่กำหนดไว้และในกฎหมายลำดับรองอื่น ทั้งที่เป็นกฎหมายพิเศษและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยพบว่า จากการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนดเพิ่มความคุ้มครองแก่การใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนดังกล่าวนั้น ได้ส่งผลให้หลักเกณฑ์และกลไกต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายลำดับรองเฉพาะในส่วนที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้บังคับได้อีกต่อไป นอกจากนี้ รัฐจำต้องดำเนินการยกร่างกฎหมายลำดับรองที่สำคัญอีกสองฉบับที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นการเฉพาะ คือ กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นกฎหมายกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับอำนาจของรัฐในการควบคุมการใช้คลื่นวิทยุและคลื่นโทรทัศน์ และกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางกฎหมายจาการดำเนินการตามหน้าที่ของสื่อมวลชนตามมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญขึ้นโดยเร็ว เพื่อรองรับให้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญเกิดผลใช้บังคับได้จริงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ที่เป็นสื่อมวลชนตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการใช้สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นการเฉพาะเกิดความรู้และความเข้าใจอำนาจหน้าที่ของตนและใช้อำนาจได้อย่างถูกต้องต่อไป This paper is conducted to study rules and devices employed to protect and control the freedom of the press under the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 1997. The focus is especially on the content in the third chapter regarding rights and liberties of the Thai people, displaying if those rules and devices would give the press more freedom to present news or not, and if all devices written in the Constitution would be able to control the freedom of the press neither to violate the right of other people nor to contrast with the devices that protect and control the freedom of the press used presently. The finding of this paper reveals that the provisions of the current Constitution have provided more protections on the freedom of the press in many aspects: the right to know, the freedom of expression, the protection on transmission frequencies for radio or television broadcasting and radio telecommunication as national communication resources for public interests, including the specialty protection on any person engaging in media business of media profession. However, the press can enjoy this freedom as much as only provided by law.
Furthermore, in order to follow the rule of law, given that a person must use their freedom within the restriction of law, the State, as the sovereignty, has a lawful right to determine measures to restrict of control the freedom of the press under four major reasons: maintaining the security of the State, maintaining public order and good morals, protecting the privacy rights or the reputation of other person, and preventing the deterioration of the mind or health of the public. These reasons have brought about legal measures, which are devices to control the freedom of the press as mentioned earlier and in other subordinate laws, both special laws and applicable laws. The study has shown that such changes by increasing the protection on freedom of the press have caused rules and devices in subordinate laws, solely the content contrasting to the provisions, no longer applicable. In addition, the State has to expeditiously draft two more subordinate laws, specialty in controlling freedom of the press, in order to make freedom of the press, according to the Constitution, truly enforced and more effective. The first law is the law on radio and television broadcasting businesses, giving details about the State’s authority to control transmission frequencies for radio of television broadcasting. The other law is about the liability resulting from proceeding the duty of the press according to Section 41 in the Constitution. These two subordinate laws are able to assist press and State officers, whose duty especially involves controls on freedom of the press, to know and to understand their own authority and responsibility in order to be able to precisely use the authority they have. |
URI: | http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3460 |
Appears in Collections: | Research Reports
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|