DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3445

Title: ความคิดเห็นของนักบัญชีที่มีต่อปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 : งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย
Other Titles: The attitude of accountants towards problems and obstacles on accounting standard number 44 practicing : consolidated financial statements and accounting for investments in subsidiaries
รายงานการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของนักบัญชีที่มีต่อปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 : งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย
Authors: อัญชลี วิรุฬห์จรรยา
Keywords: งบการเงินรวม -- ไทย -- วิจัย
การบัญชี -- ไทย -- วิจัย
นักบัญชี -- ไทย -- ทัศนคติ -- วิจัย
อัญชลี วิรุฬห์จรรยา -- ผลงานวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานวิจัย
Issue Date: 2547
Publisher: ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมาของการวิจัย งบการเงินรวมเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย จะเห็นได้จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยส่วนใหญ่ต้องจัดทำและนำส่งงบการเงินรวม โดยการจัดทำงบการเงินรวมจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44: งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย ซึ่งสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ประกาศใช้สำหรับระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 เป็นต้นมา สำหรับงานวิจัยนี้จะเป็นการศึกษาความคิดเห็นของนักบัญชีผู้มีหน้าที่จัดทำงบการเงินรวม ต่อปัญหาในการปฏิบัติงานบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 เพื่อให้ทราบความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจในปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ระเบียบวิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ เป็นนักบัญชีที่จัดทำงบการเงินรวมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 158 คน โดยรายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำการสืบค้นมาจากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดที่ส่งงบการเงินรวมให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำการสืบค้นมาจากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดที่ส่งงบการเงินรวมได้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประจำปี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำหรับเครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว วิธีการทางสถิติที่ใช้และสรุปผลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การวิเคราะห์ความแปรปรวนตัวแปรพหุ (MANOVA) และ Post Hoc Tests Multiple Comparisons ด้วยวิธีของ Scheffe โดยทดสอบที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัย นักบัญชีมีความคิดว่าแนวทางปฏิบัติงานที่แตกต่างกันมีปัญหาในการปฏิบัติงานแตกต่างกันทุกประเด็นปัญหา โดยการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 มีปัญหามากกว่าการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอื่นในประเด็นต่อไปนี้ การจัดประเภทกิจการที่ไปลงทุนเป็นบริษัทย่อยโดยพิจารณาจากการมีอำนาจควบคุม การนำบริษัทย่อยทุกประเภทไม่ว่าดำเนินกิจการประเภทใดมาจัดทำงบการเงินรวม การนำบริษัทย่อยไม่ว่ามีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับบริษัทใหญ่หรือไม่ก็ตามมาจัดทำงบการเงินรวม การกำหนดมูลค่ายุติธรรมสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อย ณ วันที่มีการซื้อหุ้นทุนเพื่อหาค่าความนิยม กรณีทีมีรายการค้าระหว่างบริษัทในเครือจำนวนมากต้องตัดรายการค้านั้นทุกรายการ นอกจากนี้นักบัญชีมีความคิดว่า แนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันทำให้คุณภาพของการเงินรวมแตกต่างกันทุกประเด็นปัญหา (ยกเว้นประเด็นบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยมีรอบระยะเวลาบัญชีแตกต่างกัน) โดยการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ทำให้งบการเงินรวมมีคุณภาพมากกว่าการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอื่นในทุกประเด็น นักบัญชีในกลุ่มกิจการที่มีลักษณะพื้นฐานของบริษัทที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัญหาในการปฏิบัติงานบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นนักบัญชีในกลุ่มบริษัทใหญ่ที่บริษัทย่อยมีลักษณะการบันทึกบัญชีเหมือนบริษัทใหญ่ และแตกต่างจากบริษัทใหญ่ที่มีความคิดเห็นต่อปัญหาในการปฏิบัติงานบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 แตกต่างกันและนักบัญชีในกลุ่มบริษัทใหญ่ที่มีจำนวนของบริษัทย่อยที่นำมาจัดทำงบการเงินรวมแตกต่างกัน ที่มีความคิดเห็นต่อปัญหาในการปฏิบัติงานบัญชีตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 44 แตกต่างกัน
Background of Study The consolidated financial statements play a vital role in the country‘s economy. One of the empirical evidences is the fact that the Stock Exchange of Thailand (SET) requires all listed companies to submit their consolidated financial statements. The preparation of the statements must conform to the Accounting Standard No. 44: Consolidated Financial Statements and Accounting for Investments in Subsidiaries. The Standard was issued effective by the Institute of Certified Accountants and Auditors of Thailand since the accounting period of January 1, 2000 onward. This research paper aims to study the attitudes of accountant towards the problems occurred in the implementation of the Accounting Standard No. 44. The Findings would lead to more profound understandings to the obstacles and obstacles and their plausible solutions. Methodology The research sampling is 158 accountants who provide consolidated financial statement for the listed companies of the SET. The list of the companies was derived from those submitting the statement to SET on the accounting period which ended on December 31, 2002. The head offices of these companies are all located in Bangkok or Greater Bangkok. The survey questionnaire was approved by experts in the related fields. The statistical analysis includes percentage, mean, standard deviation, t-test, one –way ANOVA, MANOVA multiple comparisons of Scheffe’s Post Hos Tests. Findings The research findings reveal that different accounting practices have different drawbacks in all aspects. Nonetheless, the implementation of the Accounting Standard No .44 encounters more problems than other practices. Some of the major problems are classifying subsidiaries on the basis of controlling authority, requiring all subsidiaries to submit the consolidated financial statements despite the different accounting periods from those of their periods from those of their parent companies, determining fair values of subsidiaries’ net assets on the acquisition date, and eliminating all transactions among members of the group should there be a large number of transactions. Furthermore, the different accounting practices would lead to different degree of quality of the consolidated financial statement in every aspect (except that of the different accounting periods of the parent and subsidiaries). The Accounting Standard No. 44 initiates more quality consolidated financial statements than other accounting practices. In addition, the accountants from different companies contribute similar attitudes towards the Accounting Standard No. 44. However, the accountants from group companies where parent and subsidiary companies share the same accounting systems and those whose parent and subsidiary companies use different accounting systems tend to have different attitudes towards the Standard. Another group that also has different attitudes towards the Standard is the accountants from group companies whose numbers of subsidiaries differ accordingly.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3445
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
ancharee_wiro.pdf8.12 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback