DSpace
 

DSpace at Bangkok University >
Institute of Research and Innovation Development >
Research Reports >

Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3433

Title: การศึกษาผลสัมฤทธิ์โครงการเตรียมความพร้อมทางด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Other Titles: Evaluating an intensive computing course of freshy students, School of Science and Technology, Bangkok University
รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์โครงการเตรียมความพร้อมทางด้านคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Authors: ปณิธิ เนตินันทน์
ชลธร อริยปิติพันธ์
Keywords: คอมพิวเตอร์ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- วิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน -- ไทย -- วิจัย
นักศึกษา -- ไทย -- วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- นักศึกษา -- วิจัย
ปณิธิ เนตินันทน์ -- ผลงานอาจารย์
ชลธร อริยปิติพันธ์ -- ผลงานอาจารย์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ -- ผลงานอาจารย์.
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Abstract: ปัจจุบันจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สอบผ่านวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming I) ในภาคการศึกษาที่ 1 มีจำนวนลดลง (จากสถิติปี 2544 นักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 13.46 ปี 2545 นักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 24.68 และในปี 2546 นักศึกษาสอบผ่านร้อยละ 20.75) จากการสอบถามนักศึกษาที่ไม่ผ่านพบว่านักศึกษาขาดความรู้และความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมในระยะแรกของการเรียนประกอบกับความไม่เข้าใจและความพร้อมในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ทำให้การเรียนไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงได้คิดก่อตั้งโครงการเตรียมความพร้อมทางด้านคอมพิวเตอร์ให้กับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรข้างต้น โดยมีชื่อย่อว่า “ตพนศ.” เพื่อให้นักศึกษาใหม่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในวิชาพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในภาคการศึกษาที่ 1 การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ตพนศ. เพื่อเพิ่มศักยภาพความพร้อมในการศึกษาด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำให้นักศึกษามีเข้าใจและพร้อมเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อประเมินปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ ในการเรียนการสอนหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ งานวิจัยนี้จัดเป็นประเภทการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาใหม่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 ที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการ ตพนศ. จำนวน 1 กลุ่ม รวมจำนวน 48 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาใหม่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 ที่ไม่สมัครเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการ ตพนศ. จำนวน 2 กลุ่มๆ ละ 48 คน รวมจำนวน 96 คน โดยทำการสุ่มแบบกลุ่ม (Clustering Sampling) โดยการสุ่มเลือกอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบทดสอบหลังการอบรมและการติดตามผลการเรียนวิชาพื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในภาคการศึกษาที่ 1 ของนักศึกษาใหม่ที่ผ่านการฝึกอบรม โครงการ ตพนศ. ผลจากการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาใหม่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 ที่ผ่านการฝึกอบรมโครงการ ตพนศ. ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 สอบผ่านวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ได้เกรดตั้งแต่ C ขึ้นไป) คิดเป็นร้อยละ 23.40 เมื่อเปรียบเทียบกับและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาใหม่ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 ที่ไม่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมในโครงการ ตพนศ. ทั้ง 2 กลุ่ม ผลปรากฏว่าไม่มีจำนวนนักศึกษาสอบผ่านวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมเลย จากการเปรียบเทียบปัจจัยหรือองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่จัดโดยโครงการและการเรียนการสอนที่จัดโดยปกติในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีความแตกต่างกันในหลายประการ สามารถแบ่งออกได้เป็นปัจจัยโดยตรงและปัจจัยทางอ้อม เช่น อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา ลักษณะการสอน การทบทวน จำนวนผู้ช่วยสอนในห้องปฏิบัติการ และคุณวุฒิของผู้ช่วยสอน แต่ไม่พบว่าคะแนนเฉลี่ยสะสมของนักศึกษาใหม่ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการเรียนการสอน
At the present, the first year students of the both computer science and information technology, Bangkok University, decreasingly pass the computer programming course in the first semester of the 2001 & 2002 records. From interviewing students, we found that students lack of good knowledge and understanding of fundamental using computer and programming. Therefore, it leads to effectiveness of studying of the first year students for gaining an experience and skill using computer and programming before entering the first semester. This research project would like to study for the effectiveness, successes, and evaluation of the intensive computing course of the first year students in both computer science and information technology, school of science, Bangkok University. This research is an experiment researching from sampling 48 students of the freshy students in the first 2003 semester that passed training from the intensive computing course. The other two sampling groups of 96 students are from the freshy students in the 2003 semester that have not passed training from the intensive computing course. We use an evaluation form and pursue the success of the trained students in the first semester. From the result, we found that the effectiveness of trained students from the intensive computing course in the first 2003 semester. Comparing between trained students and untrained students, we found that of 23.40% students can pass the first computer programming. There is no any student passed the first computer programming from untrained sampling students.
URI: http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3433
Appears in Collections:Research Reports

Files in This Item:

File Description SizeFormat
panithi_nati.pdf10.07 MBAdobe PDFView/Open
View Statistics

Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

 

  DSpace Software Copyright © 2002-2010  Duraspace - Feedback